ภาษีที่ดินใหม่… ในมือท้องถิ่น

หลังพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 หรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า “ภาษีที่ดิน” ซึ่งเป็นภาษีที่จัดเก็บรายปี ตามมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลจะเป็นหน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานจัดเก็บ ซึ่งจะเริ่มต้นดำเนินงานจัดเก็บตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 นั้น

มีการคาดการณ์กันว่า วิธีการเก็บภาษีแบบใหม่จะทำให้ภาครัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่า 40,000 ล้านบาท

นับจากมีนโยบายการจัดการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งของเดิมเรียกว่า ภาษีโรงเรือน ประเด็นที่น่าสนใจ คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลาย ๆ แห่งยังไม่มีความพร้อมในการรับมือกับระบบจัดเก็บรูปแบบใหม่ ซึ่งมีรูปแบบการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน

ดร.ไกรวุฒิ ใจคำปัน อาจารย์ประจำสำนักวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักวิจัยโครงการการพัฒนาระบบบริหารจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เล่าว่า “แบบเดิมที่เรียกว่า ภาษีโรงเรือนไม่ต้องมีการคำนวณอะไรมาก และจ่ายเท่าเดิม… ปีต่อปี ขณะที่อัตราภาษีรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะที่เรียกว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต้องมีการคำนวณใหม่ ซึ่งจะมีเรื่อง… ขนาดของที่ดิน ราคาประเมิน ซึ่งจะแยกเก็บกับสิ่งปลูกสร้างคือตัวบ้านหรือตัวอาคาร แต่กฎหมายใหม่ถ้าเป็นที่อยู่อาศัยก็อาจมีการยกเว้น กรณีทำประโยชน์ก็ต้องมีการคำนวณภาษีตามที่กฎหมายระบุ ซึ่งต้องดูเป็นรายๆ ไป” 

ดร.ไกรวุฒิ ใจคำปัน อธิบายเพิ่มว่า เมื่อรูปแบบการเรียกเก็บภาษีเปลี่ยน การคำนวณภาษีก็ต้องเปลี่ยน ขณะที่กลุ่มงานที่รับผิดชอบเรื่องการจัดเก็บภาษีโดยตรงในองค์การบริหารส่วนตำบลหลายๆ แห่งยังขาดความพร้อม โดยเฉพาะบุคลากรที่ส่วนมากรับผิดชอบงานค่อนข้างมาก และนี่คือข้อกังวลจนนำไปสู่การดำเนินงานวิจัย

สำหรับโครงการวิจัยการพัฒนาระบบบริหารจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานพร้อมกัน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ เป้าหมาย คือ เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

นั่นหมายความว่า หลังจบโครงการ อปท. จะต้องศักยภาพในการจัดเก็บภาษี ซึ่งก็คือรายได้ต้องเพิ่มขึ้น 

เมื่อมีกฎหมายใหม่ประกาศใช้ การทำความเข้าใจกับผู้เสียภาษีเป็นเรื่องสำคัญ ตัวงานวิจัยเองอยากทราบว่า รูปแบบภาษีแบบเดิมและแบบใหม่แตกต่างกันอย่างไร รายได้จะเพิ่มขึ้นตามที่ประมาณการหรือไม่ 

สมมติว่าตัวเลขที่ออกมาไม่ตรงกับตัวเลขการจัดเก็บภาษีแบบเดิม ตรงนี้ต้องรอข้อมูลหลังจากงานวิจัยจบลง แต่ที่ต้องดำเนินงานในปัจจุบันคือ การค้นหารูปแบบและวิธีการจัดเก็บภาษีที่สามารถจัดเก็บได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในกระบวนการทำงานก็ต้องมีการพัฒนาศักยภาพบุคคลกรให้มีทักษะเพิ่มขึ้น เนื่องจากสิ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดคือ ทักษะ และเครื่องมือ และองค์ความรู้ที่ใช้ในการสำรวจข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลภาษี เพราะระบบการเก็บภาษีตามกฎหมายใหม่ จะมีความละเอียดมากขึ้น การลงพื้นที่สำรวจจึงเป็นหัวใจสำคัญของการจัดเก็บภาษีตัวใหม่ เพราะเป็นวิธีการจัดเก็บที่ถูกต้องที่สุด

อ้างอิง

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Capitalise.AI

ปัจจุบันมีแพลตฟอร์มสร้าง Algorithmic Trading เพื่อให้กลยุทธ์การเทรดของนักลงทุน สามารถทำได้อัตโนมัติโดย “นักลงทุนไม่ต้องเขียนโค้ดโปรแกรม” แม้แต่บรรทัดเดียวได้เกิดขึ้นมากมาย แต่ที่เชื่อถือได้และมีให้ใช้ฟรี หรือ โบรกเกอร์จ่ายค่าบริการไว้ให้แล้วนั้น… ชื่อของ Capitalise.AI ดูเหมือนจะมาแรงไม่แพ้ใครในหมู่นักเทรดคริปโตอัตโนมัติ ซึ่งเชื่อมต่อการส่งคำสั่งซื้อขายให้แพลตฟอร์มเทรดคริปโตยักษ์ใหญ่อย่าง Interactive Broker… Binance… FTX… PepperStone… ErisX และอีกมาก โดยมีเครื่องมือช่วยสร้าง Algorithmic Trading รองรับทุกกลยุทธ์การเทรดจนแทบจะไร้ขีดจำกัด

เทรดทองออนไลน์… ความรู้เบื้องต้น

ทองคำเป็นโลหะมหัศจรรย์ที่ถูกใช้เป็นสินทรัพย์เก็บมูลค่ามาตั้งแต่สมัยจีนโบราณ และ ยุคอาณาจักรวรรดิโรมันรุ่งเรืองจวบจนถึงปัจจุบันที่เกือบทุกประเทศทั่วโลกยังต้องใช้ทองคำหนุนค่าเงินประจำชาติอยู่ และ ยังถูกใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ… อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งอุตสาหกรรมอวกาศจากสมบัติทางเคมีของแร่ทองคำที่มีลักษณะเฉพาะมากมายทั้งสมบัติทางกล และ สมบัติทางไฟฟ้าที่แร่ธาตุกลุ่มโลหะอื่นๆ เทียบชั้นไม่ได้เลยในหลายๆ ด้าน… ที่สำคัญกว่านั้น ทองคำยังเป็นเครื่องมือตลาดทุนที่สำคัญในโลกทุนนิยมที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งหน้าเก่าและมือใหม่จากทั่วโลก โดยเฉพาะการเข้าตลาดทุนเพื่อ “เทรดทอง” ที่สามารถทำผ่านแพลตฟอร์มการลงทุนได้อย่างง่ายดาย รวมทั้งการต้มตุ๋นหลอกลวงผ่านคำว่า “เทรดทอง” ที่เหยื่อความเสียหายส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการเทรดทองน้อยมาก

The InterPlanetary File System และ Protocol Labs

ในทางเทคนิค… การเปิดไฟล์ที่ถูกเก็บเอาไว้บน IPFS รวมทั้ง Non-Fungible Token ก็จะคล้ายกับการเปิดไฟล์ HTML หรือ ไฟล์ภาพบนอินเตอร์เน็ตผ่าน Web Browser… เพียงแต่ไฟล์บนอินเตอร์เน็ตทั่วไปจะเป็นแบบ Centralized คือมี Web Server เป็นศูนย์กลาง เวลาเรียกเปิดก็จะมี Path หรือ URL ชัดเจนในการเข้าถึง… แต่ไฟล์บน IPFS มักจะจัดเก็บเอาไว้หลาย Server หรือเก็บกระจายแบบ Peer-to-Peer ซึ่งอาจจะเก็บเอาไว้ทุก Server ที่เป็น IPFS Node ก็เป็นไปได้ การเปิดไฟล์จึงต้องใช้ Cryptographic Hash ให้ Web 3 Browser ไปค้นหาจาก Node ที่ใกล้ที่สุดมาแสดงผล

TravelTech… เทคโนโลยีการท่องเที่ยว

TravelTech คือเทคโนโลยีที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนำมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และ เพิ่มรายได้ให้กับหน่วยธุรกิจในห่วงโซ่การเดินทางและท่องเที่ยวทุกกลุ่มเป้าหมาย… โดยเฉพาะการผลักดันทุกเงื่อนไขให้ประเทศไทยสามารถเปิดประตูรับนักท่องเที่ยวได้อีกครั้งหลังการเกิดระบาดใหญ่ในวิกฤตโควิด ได้พิสูจน์ความสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในฐานะโมเดลการเติบโตของ GDP ไทยที่สำคัญและข้ามผ่านละลืมไม่ได้