การมาของไวรัส COVID-19 แม้จะทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมสุขภาพไทยและธุรกิจโรงพยาบาล ดูดีมีราคาจนหลายฝ่ายกำลังจะใช้เป็นจุดขาย สอดไว้กับแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ… แต่
ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2563 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2563 ของธุรกิจโรงพยาบาลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า… ส่วนใหญ่ผลการดำเนินงานหรือรายได้ลดลง
ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในช่วงครึ่งหลังของไตรมาส 1/2563… ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกมีตัวเลขที่ลดลง รวมถึงการปิดประเทศ การห้ามเดินทางระหว่างประเทศเพื่อลดการแพร่ระบาด ทำให้โรงพยาบาลหลายๆ แห่งมีจำนวนคนไข้ชาวต่างชาติลดลง เช่น บริษัท โรงพยาบาลสมิติเวช จำกัด (มหาชน) รายได้ลด 6% หรือ 2,949 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมามีรายได้ 3,132 ล้านบาท บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ มีรายได้ลดลง 4% หรือ 20,003 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมามีรายได้ 20,770 ล้านบาท… ส่วนบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) รายได้ลดลง 11.7% หรือ 4,179 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา เคยมีรายได้ 4,733 ล้านบาท… และบริษัท บางกอก เชน ฮอสพิทอล จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ มีรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง หรือเพิ่มขึ้น 4% เป็น 2,196 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมามีรายได้ 2,105 ล้านบาท
เวบไซต์ Prachachat.net ได้รายงานว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดโดยรวมของ CIVID-19 ในประเทศอาจจะดูคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ที่แต่ละวันมีจำนวนไม่มากนัก แต่สำหรับธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนยังคงได้รับผลกระทบในแง่ของจำนวนผู้ใช้บริการหรือคนไข้ที่เข้ามารับการรักษาที่ลดลงค่อนข้างมาก โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 30-40% ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา ประกอบกับที่ผ่านมา โรงพยาบาลหลายๆ แห่งได้หยุดให้บริการคลินิกต่าง ๆ ลงจำนวนหนึ่ง เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่ระบาด เช่น คลินิกทันตกรรม คลินิกความงาม คลินิกศัลยกรรมตกแต่ง รวมถึงการผ่าตัดแทบทุกประเภท โดยทั้ง 2 ปัจจัยหลักนี้… ส่งผลให้โรงพยาบาลเอกชนมีรายได้ลดลง
อีกประเด็นหนึ่งก็คือ จำนวนอุบัติเหตุที่ลดลงค่อนข้างมากในช่วงที่มีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และการประกาศเคอร์ฟิว ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งมีรายได้ที่ลดลง จากก่อนหน้านี้ที่ทุกครั้งที่มีอุบัติเหตุหรือมีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต โรงพยาบาลที่รับเคสก็จะมีรายได้จาก UCEP&Universal Coverage for Emergency Patients ทั้งจากกองทุนประกันหลักสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม และสิทธิข้าราชการ แล้วแต่กรณี
ประเด็นคือ… คาดการผลประกอบการไตรมาสสองน่าจะเลวร้ายกว่าไตรมาสแรก ถึงขั้นที่โรงพยาบาลเอกชนทั้งหมดไม่เหลือโอทีและแพทย์พยาบาลพาร์ตไทม์ในตารางแล้วระหว่างนี้
ไม่มีอะไรจะพูดจริงๆ ครับกับข้อมูลชุดนี้!!!
อ้างอิง