Matic Network เปิดตัวครั้งแรกในปี 2017 ด้วยการออกเหรียญ MATIC มาตรฐาน ERC20 ของ Ethereum เพื่อใช้พัฒนา Matic Network ให้เป็น Blockchain Layer 2 ของเครือข่าย Ethereum Blockchain เพื่อช่วยให้ dApp ทุกโครงการที่พัฒนาบน Ethereum Blockchain สามารถเข้ามาใช้งาน Matic Network ทำธุรกรรมต่างๆ ได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงระบบหลังบ้านอะไรมากมาย นอกจากปรับการตั้งค่าเพิ่มเติมเล็กน้อย
การเกิดของ Matic Network จึงแก้ปัญหาหลายอย่างของโครงการต่างๆ ที่สร้างขึ้นบน Ethereum Blockchain โดยเฉพาะปัญหาค่า GAS หรือ ค่าธรรมเนียมธุรกรรมแพง และ ปัญหาคอขวดธุรกรรมรอยืนยันจำนวนมากจนกลายเป็นเครือข่ายบล็อกเชนแห่งความเชื่องช้าไม่ต่างจาก Bitcoin Blockchain ในเวลานั้น
Matic Network พัฒนาขึ้นโดยทีมโปรแกรมเมอร์จากอินเดียภายใต้การนำของ Jaynti Kanani… Sandeep Nailwal และ Anurag Arjun ด้วยแนวคิดการสร้างแพลตฟอร์มบล็อกเชนสำหรับนักพัฒนาโดยนักพัฒนา ซึ่งปลดล็อคความยุ่งยากซับซ้อนในการพัฒนา dApp จนเหลือแต่ “งานหมูๆ สำหรับโปรแกรมเมอร์” ด้วยกัน… ปรากฏการณ์แห่แหนโยกโครงการ dApp บน Ethereum มาใช้ Matic Network จึงกลายเป็นกระแสท้าทาย Ethereum Blockchain ให้เร่งรีบพัฒนาตัวเองอย่างมาก ก่อนที่กาฝากอย่าง Matic Network และ บล็อกเชนแพลตฟอร์มอื่นๆ จะกลืนกินจนไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน
ประเด็นความสามารถในการทำธุรกรรมข้ามกันระหว่าง Matic กับ Ethereum นั้น… สถาปัตยกรรมของ MATIC ได้ชื่อว่าเป็น Trustless Two-Way Transaction ซึ่งโดดเด่นทั้งบน “PoS หรือ PoS Bridge” ซึ่งยืดหยุ่นสูงบนความปลอดภัยตามมาตรฐาน Proof-of-Stake รองรับโทเคนมาตรฐาน ERC20… ERC721… ERC1155 และอื่นๆ ในอนาคต… และ ยังมี “Plasma หรือ Plasma Bridge” ซึ่งใช้งานได้ดีแม้จะมีข้อจำกัดกว่า PoS Bridge อยู่พอสมควร แต่ก็รองรับโทเคนมาตรฐาน ERC20 และ ERC721 ได้อย่างดีทีเดียว… เรียกว่าสามารถใช้เครือข่าย MATIC จัดการเคลื่อนย้ายดิจิทัลโทเคนบนเครือข่าย Ethereum Blockchain ได้อย่างราบรื่น
สิ่งที่ทำให้ Matic Network เป็นที่สนใจอย่างยิ่งในอุตสาหกรรม Web 3.0 และ Blockchain Internet ก็คือ การประกาศแผนพัฒนาระบบนิเวศเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐาน Web 3.0 บนเครือข่าย Ethereum และ Blockchain Smart Contracts ทุกเครือข่ายที่เข้ากันได้กับ Ethereum… Matic Network จึงได้ชื่อว่าเป็น Full-Fledged Multi-Chain System หรือ โครงข่ายมัลติเชนครบเครื่อง… ที่ได้รับความเชื่อถืออย่างรวดเร็ว
Matic Network เปลี่ยนชื่อ และ Rebranding เป็น Polygon Coin และ Polygon Blockchain โดยยังคงใช้หน่วยการนับเหรียญเป็น Matic และใช้เป็นเหรียญหลักบน Polygon Blockchain เช่นเดิมแม้จะมี Blockchain ของตัวเองพร้อมใช้ไปแล้วสองสามเครือข่าย
Polygon Coin ออกเหรียญไว้สูงสุด หรือ มี Supply สูงสุดอยู่ที่ 10,000,000,000 MATIC หรือ 10 พันล้านมาติก โดยมีขนาด Market Cap ณ วันที่ 31 สิงหาคม ปี 2021 อยู่ที่ 8,905.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ราคาเหรียญ 1.35 USD/MATIC… ท่านที่สนใจเทรดลงทุนเหรียญ Polygon MATIC ยังคงต้องรอบคอบระมัดระวัง และ รับผิดชอบความเสี่ยงด้วยตัวท่านเองเช่นเดิมครับ
ส่วนท่านที่สนใจทางเทคนิค… Polygon Blockchain ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มสำหรับออกโทเคนทำ dApp และ Blockchain Application ได้อย่างน่าสนใจจากความโดดเด่นหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยสูง ค่าธรรมเนียมต่ำ และ ยังยืดหยุ่นกับการปรับเปลี่ยนโยกย้ายทางเทคนิคได้มาก… ผมและพันธมิตรมีบริการทำโปรเจคบน Polygon Blockchain ครบวงจรสำหรับท่านที่สนใจและอยากทำโปรเจคโทเคนทุกขนาด และ ทุกระยะโครงการ… ขอทางไลน์ ID: dr.thum ครับ!
References…