PolkaDOT… Web 3.0 Standard Blockchain

Polkadot cryptocurrency token symbol

ถ้าพูดถึง Ethereum Blockchain และเหรียญดิจิทัล Ether และการเกิดเพื่อท้าทาย Bitcoin อย่างยิ่งใหญ่นั้น คนส่วนใหญ่ย่อมรู้จักและคุ้นเคยกับชื่อ Vitalik Buterin ในฐานะ Founder ผู้ร่าง Ethereum Whitepaper และริเริ่มแนวคิดพลิกโลกครั้งสำคัญนี้

แต่ถ้าพูดถึง Ethereum Blockchain เจาะลึกเข้าไปดูทีมเบื้องหลัง ตั้งแต่นักคณิตศาสตร์ หรือ Mathematician… นักเข้าระหัส หรือ Cryptographer ไปจนถึงโปรแกรมเมอร์หรือ Programmer ที่ช่วยกันทักทอข้อมูลให้กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Platform จนเป็นที่ยอมรับว่า… ทั้งหมดนั้นช่างมีคุณค่าถึงขั้นมีคนมากมายจากทั่วโลก เทเงินออมและพอร์ตลงทุนมากองรวมกันไว้ จนกลายเป็นโครงข่ายเศรษฐกิจดิจิทัล เหมือนเมื่อครั้งที่ตลาดหุ้นเกิดขึ้นครั้งแรกบนโลกในศตวรรษที่ 13 จนกลายเป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนอย่างสำคัญ บนปรัชญาเศรษฐกิจทุนนิยม อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

Dr. Gavin James Wood หรือ Gavin คือ Co-Founder ผู้ร่วมสร้าง Ethereum Blockchain ร่วมกับ Vitalik Buterin ที่ถูกดึงเข้าทีมในปี 2014 หลังจากทีมริเริ่ม หรือ Initial Team ทั้ง 5 คนได้ทำงานกันมาก่อนตั้งแต่ปี 2013 จนถึงเฟสที่ต้องการเอาแพลตฟอร์มสู่โลกกว้าง… และผ่านไปไม่ถึงสิบปีจนถึงปี 2021 ในปัจจุบัน… Ethereum Blockchain กลายเป็นศูนย์กลาง Defi หรือ Decentralized Financial ได้สำเร็จ พร้อมๆ กับก้าวย่างสำคัญในการเป็นพื้นฐานให้ Blockchain Internet หรือ Web 3.0 Technology ที่ก่อตัวขึ้นแล้วในโลกเทคโนโลยี

บททาทอย่างสำคัญในการพัฒนาโครงสร้าง Ethereum หรือ EthCore ของ Dr. Gavin J. Wood ในฐานะ CTO หรือ Chief Technology Officer ร่วมกับ Dr. Jutta Steiner ผู้ก่อตั้ง Parity Technologies โดยร่วมกันพัฒนา Core Blockchain Infrastructure ของ Ethereum และ Web 3.0 Networks… โดยเฉพาะการนำเสนอชุดโค๊ดโปรแกรม PoC-1 ของ Ethereum และนำเสนอในการประชุม Bitcoin อเมริกาเหนือวาระเดือนมกราคม ปี 2014 ร่วมกับ Vitalik Buterin… และเป็น Dr. Gavin J. Wood คนนี้เองที่พัฒนา Smart Contract Groundwork ซึ่งเป็นจุดเด่นและหัวใจสำคัญของ Defi Techology ในเวลาต่อมา ซึ่งนักพัฒนา dApp บน Ethereum Bloclchain รู้จักกันในชื่อ Solidity หรือ ภาษา Solidity นั่นเอง

คลิปบรรยายของ Dr. Gavin James Wood ในงาน Web3 Summit 2018

การพัฒนา EthCore ในระยะที่จะต้องสร้างมาตรฐาน Web 3.0 ไปพร้อมกันนั้น… Dr.Wood และ Dr.Steiner ได้ร่วมกันก่อตั้งและผลักดัน Parity Technologies และ Web3 Foundation เพื่อเป็นศูนย์กลางมาตรฐานอินเตอร์เน็ตยุคถัดไป และแล้วพวกเขาก็ค้นพบปัญหาใหญ่ของโครงข่าย Blockchain มากมายที่ถือกำเนิดขึ้นหลังการเกิด Bitcoin ตั้งแต่ ปี 2009 นั่นคือ… Blockchain แต่ละเครือข่ายทำงานอยู่เป็นเอกเทศ ไม่มีการเชื่อมต่อกันไปจนถึงขั้นไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้เลยก็มี… นั่นแปลว่า Web 3.0 เกิดขึ้นแบบอยู่กันคนละโครงข่ายแบบนี้ไม่ได้แน่… Dr.Wood จึงผลักดันแนวคิด Sharding และ ออก Whitepaper เกี่ยวกับแนวคิด Multi-chain Framework และ Polkadot Protocol ขึ้น และแนะนำสู่สาธารณะในปี 2017… และนั่นคือจุดเริ่มต้นจนเห็นการแยกเอาแนวคิด Polkadot… Parity และ Web 3.0 ออกมาสร้าง Blockchain ใหม่ในนาม PolkaDot พร้อมสร้างเหรียญดิจิตอลที่กำลังเป็นที่สนใจอย่างเหรียญ DOT โดยมีชื่อ Dr. Gavin James Wood  เป็นผู้ก่อตั้ง

แบบจำลอง Polkadot Blockchain

ผมเขียนต้นฉบับตอนนี้บ่ายวันที่ 12/02/2021… เหรียญ DOT มีตัวเลข Market Capital อยู่ที่ 24,049.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นเหรียญดิจิทัลอันดับที่ 6 และเชื่อกันในหมู่นักลงทุนเหรียญดิจิทัลว่า… คงจะแซง XRP ขึ้นอันดับ 5 ในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อจากนี้

ในขณะเดียกัน… Polkadot Tokens หรือ ดิจิทัลโทเคนที่สร้างบนโครงข่าย  Polkadot Blockchain ในปัจจุบัน ก็มีมากถึง 44 โทเคนเข้าไปแล้ว

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ… Polkadot Blockchain ถูกออกแบบให้รองรับการเชื่อมต่อ Blockchain ทุกเครือข่ายที่มีอยู่ ผ่านเทคนิค Connecting The Dots ด้วยการเชื่อมต่อ 4 แบบคือ Relay Chain ซึ่งเป็นบล็อกเชนหลัก… แบบที่สองคือ Parachains หรือ บล็อกเชนคู่ขนานที่สามารถพัฒนาโครงข่ายบล็อกเชนต่างหากบนเทคโนโลยีเดียวกับ Relay Chain ซึ่งเป็น Open Source ได้ … แบบที่สามเรียกว่า Parathreads ซึ่งจะใช้แนวคิดเดียวกับ Parachains เว้นแต่มีการใช้งานในระยะสั้น หรือบล็อกเชนใช้แล้วทิ้ง  และแบบสุดท้ายเรียกว่า Bridges หรือสะพาน ที่เตรียมไว้สำหรับ Blockchain โครงข่ายอื่นและเทคโนโลยีอื่นที่ต้องการเชื่อมต่อเข้าหาโครงข่ายทั้งของ PolkaDot… Ethereum… หรือ Bitcoin ซึ่งจะทำให้ การทำธุรกรรมข้าม Blockchain เกิดขึ้นได้จริงแบบ ทำ Smart Contract บน Ethereum ด้วย Bitcoin Consensus อะไรประมาณนี้…

ขอตัดจบบทความตอนนี้เท่านี้ก่อนครับ… เพราะเลยจากนี้ไปจะเป็นเรื่องทางเทคนิค ซึ่งจำเป็นก็แต่สำหรับท่านที่สนใจจะพัฒนา dApp บน PolkaDot แบบต่างๆ มากกว่า… ซึ่งการเอามาเขียนไว้ตรงนี้ นอกจากจะไม่มีประโยชน์อะไรเท่ากับศึกษาจากต้นฉบับแล้ว สุดท้ายข้อมูลก็จะเก่ากว่าเวอร์ชั่นที่เป็นปัจจุบันที่สุดของเทคโนโลย PolkaDot อยู่ดี… ส่วนท่านที่สนใจเหรียญ DOT ขอทักทายพูดคุยแบบไม่วิเคราะห์แนวโน้มและราคาน๊ะครับ

ขอบคุณที่ติดตามและแชร์ต่อแบ่งปันครับผม!

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Smart grid

Smart Grid… โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ

ระบบ Smart Grid จึงถือเป็นโครงข่ายผลิต สำรองและจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ต้องบูรณาการกันทั้งระบบ โดยผู้ใช้ไฟฟ้าที่ปลายสายส่งจนถึงแหล่งผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าหลัก… ต่างต้องเชื่อมโยงข้อมูลและโครงข่ายถึงกันอย่างมีประสิทธิภาพ

SCG Modular ICU

SCG MODULAR ICU… ห้องไอซียูพร้อมใช้ใน 1 สัปดาห์

ผมตกข่าวนวัตกรรมห้องไอซียูโมดูลาร์ หรือ Modular Intensive Care Unit ซึ่งเป็นนวัตกรรมสร้างสรรค์จาก กลุ่มธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ที่ส่งมอบและติดตั้งเป็นห้องไอซียูความดันลบสำหรับคนไข้วิกฤติโควิด โดยสามารถผลิต และ ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้ภายเวลา 7 วันเท่านั้นเอง… มีการติดตั้งและส่งมอบใช้งานที่โรงพยาบาลราชวิถีไปเรียบร้อยแล้ว

Home

ราคาประเมินที่ดิน 2564-2567

ปกติกรมธนารักษ์จะประเมินราคาที่ดินทุกๆ ปีอยู่แล้ว แต่รอบนี้เป็นรอบใหญ่ประจำ 4 ปี ที่ต้องมีการประกาศปรับ ซึ่งเดิมทุกๆ ปี ราคาที่ดินจะขยับขึ้นอย่างน้อย 3-5% แต่รอบนี้ไม่น่าถึง ปรับน้อยมาก เพราะปัญหาโควิด-19 ทำให้การซื้อขาย โดยเฉพาะคอนโดมีเนียมเหลือเพียบ ราคาการแข่งขันซื้อที่ดินสร้างโครงการใหม่ หรือเก็งกำไรก็ลดลง ราคาประเมินจึงไม่สูงขึ้นมากตามไปด้วย

Cardano Vasil Hard Fork… 

คำว่า Hard Fork ในอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ โดยเฉพาะในวงการ Blockchain จะหมายถึงการ Upgrade ครั้งใหญ่ โดยจะทำสำเนาข้อมูลที่ถูกบันทึกลงบล็อกเชนย้อนหลังทั้งหมด มาใช้ตั้งต้นเพื่อบันทึกบล็อกลำดับถัดไปด้วยโครงข่ายที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ และ ทำให้บล็อกเชนโครงข่ายนั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่มีระบบ และ ฟังก์ชั่นต่างกันอย่างชัดเจน โดยยึด Hard Fork Upgrade เป็นระบบหลักในท้ายที่สุด … การทำ Hard Fork กับบล็อกเชนจึงเป็นเหมือนการออกระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นใหม่สำหรับข้อมูลในบล็อกเดิมตั้งแต่ Genesis Block จนถึงบล็อกสุดท้ายที่ถูกกำหนดให้แยกออกเป็นสองส่วน… ด้วยแนวทาง Hard Fork ที่ยังเก็บข้อมูลเอาไว้ได้ครบถ้วนนี่เองที่ทำให้ข้อมูลบนบล็อกเชนไม่มีวันสูญหายไปไหน