ผมได้หนังสือมา 2 เล่มว่าด้วย PermaCulture… แน่นอนว่าเล่มแรกต้อง Permaculture Principles and Pathways Beyond Sustainability ของ David Holmgren กับอีกเล่มหนึ่งคือ The Permaculture Market Garden : A Visual Guide to a Profitable Whole-systems Farm Business ของ Zach Loeks… เลือกเล่มแรกมาอ่านเพราะ David Holmgren… ส่วนเล่มที่สองของ Zach Loeks เพราะชื่อหนังสือกับคำโปรยบนปกล้วนๆ
สารภาพว่าหาหนังสือแนวคิด PermaCulture มาอ่านเพื่อจะได้มีเนื้อหาสาระ หรือ Contents มาเขียนลง Properea ซึ่งผมคิดว่า นาทีนี้เป็นยุคสมัยของอสังหาริมทรัพย์ที่รวมเอาระบบนิเวศน์ธรรมชาติและเทคโนโลยีมาบูรณาการกัน… แค่ตั้งใจเอามาอ่านและสรุปแบ่งปันต่อประมาณนั้น
แต่หนังสือสองเล่มนี้เปลี่ยนทัศนคติ ที่ผมเอนเอียงไปทางเกษตรเทคโนโลยีมานาน เหมือนที่ผมเขียนถึง Square Roots… เรื่องเล่าจากคนปลูกผักในสถานการณ์ Michigan’s Stay Home, Stay Safe!... เรื่องเล่าของเกษตรกรในลานจอดรถและดาดฟ้าตึก ที่ปลูกผักในตู้คอนเทรนเนอร์ขาย… หรือจะเรื่องของ Farmerscut.com และเรื่อง Indoor Farming Technology และอีกมากที่ผมมองว่า เป็นแนวทางการทำการเกษตรที่หวังผลได้สูงกว่าการทำเกษตรบนแปลงปลูกทั่วไป
ประเด็นก็คือ… AgTech หรือ AgriTech หรือ Agricultural Technology เป็นเทคนิคการผลิตอาหารเพื่อสกัดเอาเฉพาะ “ผลผลิตที่ต้องการตามประสงค์” ด้วยการใส่เทคโนโลยีเข้าไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและโฟกัสจุดเด่นให้โดดเด่นยิ่งขึ้น และลดขนาดจุดด้อยให้อยู่ในสัดส่วนน้อยที่สุดเท่านั้นเอง ซึ่งก็ดีงามและเชื่อมั่นหวังผลได้ตามความต้องการ
ในขณะที่… PermaCulture เป็นหลักคิด “คืนสู่ป่า” ที่ปลูกพืชอาหาร เหมือนที่พืชผักชนิดนั้นเกิดเองโดยธรรมชาติในป่า และเราเก็บเกี่ยวเอามากิน ขายหรือนำไปใช้เพื่อเสริมวงจรชีวิตป่าธรรมชาติให้ระบบนิเวศ เติบโตเกื้อกูลและผลิตอาหารตามธรรมชาติ ตอบแทนคนดูแลป่าอาหารผืนนั้น
ในหนังสือ Permaculture Principles and Pathways Beyond Sustainability ของ David Holmgren ทั้งเล่ม… เป็นทฤษฎีการออกแบบสวนเลียนแบบธรรมชาติ ด้วยการปรับแต่งสภาพแวดล้อมในพื้นที่โครงการ ให้มีวงจรครบรอบ หรือ Close Loop ของทุกตัวแปรทั้งในอากาศ บนดิน ใต้ดินและในน้ำ… อยากรู้อะไรเปิดดูมีคำตอบให้หมดตั้งแต่ร่างผังสวนไปจนถึงของเหลือที่เป็นขยะส่วนเกินต้องทิ้ง… จะเอาไปไหน ทำอะไรยังไงต่อก็มีบอก และเป็นวิทยาศาสตร์ทุกหลักวิธี
Concept หรือแนวคิดที่ผมได้จากหนังสือของ David Holmgren จากการอ่านแบบอ่านผ่านๆ รอบแรกคิดว่า… ตำรา PremaCulture เล่มนี้ให้ Mindset การออกแบบชิวิตพื้นฐานเกษตรธรรมชาติ ที่เอาความรู้สาขาอื่นๆ หลายแขนงมาช่วยแก้ปัญหา “วงจรชีวิตวิถีเกษตร” ที่ถูกธรรมชาติซึ่งเอาแน่เอานอนไม่ได้ ทำลายความสมดุลย์ไปพร้อมๆ กับฤดูกาล รวมทั้งห่วงโซ่การลงทุนของเกษตรกรที่จดลงบัญชีเมื่อไหร่… ก็อ่อนใจทุกครั้ง
สาระสำคัญของ PermaCulture จึงเป็นเรื่องของการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ที่ให้ผลผลิตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะผลผลิตที่เป็นอาหารมนุษย์และสัตว์เลี้ยงในระบบนิเวศน์เดียวกัน… PermaCulture จึงมาไกลกว่าเกษตรอนุรักษ์สายอื่นๆ ที่รวมเอาหลายๆ ศาสตร์มาบูรณาการร่วมอย่างมีชั้นเชิงทางวิทยาการที่ยืดยุ่นพอจนไปถึง “โมเดลธุรกิจการเกษตร” ได้ง่ายกว่า การทำเกษตรเพื่อเป็นเกษตรกร
ส่วนหนังสือ The Permaculture Market Garden ของ Zach Loeks เขียน Tagline แนะนำหนังสือเล่มนี้ไว้สั้นๆ ว่า… This book is for those who have big ideas for a piece of earth, for those who want to make a profitable and sustainable living from the land and live more fully on it. หนังสือเล่มนี้สำหรับคนที่มีไอเดียยิ่งใหญ่กับผืนดิน สำหรับใครที่อยากสร้างกำไรและความยั่งยืนให้ผืนดินที่อาศัย และอยู่อย่างเติมเต็มที่นั่น
ผมยังไม่ได้อ่านหนังสือของ Zach Loeks นอกจากดูสารบัญคร่าวๆ กับ Concept หรือแนวคิดที่มอง “สวนเป็นซุเปอร์มาร์เก็ต” ซึ่งผมคิดว่า ไอเดียนี้ไม่ใช่ของใหม่ และเป็นไอเดียพูดง่ายแต่ทำได้ยากมากจนแทบเป็นไปไม่ได้ในทางเทคนิคที่จะมีทุกอย่างครบในสวนเหมือนซุเปอร์มาร์เก็ต… ที่ผมเคยเห็นเพื่อนกินเมนูมะเขือจนเลิกปลูกจนถึงทุกวันนี้… เพราะในชีวิตจริง ข้อจำกัดของการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ให้หลากหลายไม่ใช่เรื่องง่าย… โดยเฉพาะสมดุลย์การลงทุนและการจัดการ เอาแค่เรื่องงบประมาณดำเนินการ ที่แม้แต่โครงการผักสวนครัวรั้วกินได้ของหลายๆ ท่าน ก็หาจุดคุ้มค่ายากมากแล้ว
ตอนที่ 4 ของหนังสือ The Permaculture Market Garden ของ Zach Loeks เขียนลงสารบัญไว้ว่า… Design Management… ผมเปิดเข้าไปดูเห็น Footnote เขียนว่า… Asking “Why?” 7 Times