Permaculture Farming… เกษตรวิถียั่งยืน

PermaCulture Farm

PermaCulture เป็นวิถีการเกษตรที่เน้นความยั่งยืนของระบบนิเวศน์ ที่ออกแบบร่วมกันของหลายศาสตร์ โดยมีเกษตรกรรมเป็นศูนย์กลาง มีคน พืช สัตว์ ดิน น้ำ อากาศ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ไปจนถึงพืชและสัตว์เซลล์เดียว ที่อยู่รวมกันด้วยการออกแบบให้เกื้อกูลต่อกันสูงสุด มากกว่าจะเบียดเบียนหรือทำลายสมาชิกของระบบนิเวศน์ส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อหาประโยชน์โดยไม่ใส่ใจ

แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ก็ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของ PermaCulture Farming เช่นกัน เพียงแต่เกษตรทฤษฎีใหม่ ไม่ได้เคร่งคัดและครอบคลุมจารีตเชิงนิเวศน์อย่างแท้จริง เพราะเน้นสร้างสมดุลย์อาชีพ รายได้และปากท้องมากกว่า

ในขณะที่ Permaculture Farming มีข้อมูลเผยแพร่ไว้ว่า… ได้รับการพัฒนาและเผยแพร่ช่วงปลายยุค 1970 โดย Bill Mollison นักวิจัยจาก University of Tasmania และ ได้ David Holmgren ลูกศิษย์ของ Bill Mollison เข้าร่วมในเวลาต่อมา… โดยมี Masanobu Fukuoka ปราชญ์ชาวนาของญี่ปุ่น ผู้ถือเป็นบิดาด้านเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรธรรมชาติ หรือ Natural Farming ที่คิดตรงกันทั้งที่อยู่คนละฟากมหาสมุทร ซึ่งทั้งคู่เห็นเหมือนกันเรื่องความเปลี่ยนแปลงของโลกและสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลเป็นลูกโซ่ถึงคนและชุมชนไปด้วย

Bill Mollison เป็นอาจารย์และนักวิจัยที่ University of Tasmania และเคยมีประสบการณ์การเป็นนักวิจัยด้านป่าและพรรณพืชอยู่ที่ Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation หรือ CSIRO ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐในออสเตรเลีย… ประสบการณ์จากการเป็นนักวิจัยด้านป่าและพรรณพืชนี่เองที่ทำให้ Bill Mollison ต้องการสร้างระบบนิเวศน์ที่ยั่งยืน ให้ยั่งยืนจริงๆ จนเป็นที่มาของการรวมคำสองคำ คือ Permanent หรืออมตะยั่งยืน กับคำว่า Agriculture หรือเกษตรกรรม… และได้คำใหม่ขึ้นมาคือ PermaCulture ในที่สุด

Bill Mollison, Father of PermaCulture
David Holmgren , เจ้าของหนังสือ Permaculture: Principles and Pathways Beyond Sustainability
Masanobu Fukuoka ,บิดาผู้ให้กำเนิดเกษตรธรรมชาติของญี่ปุ่น

ประเด็นก็คือ… Permaculture Farming ในปัจจุบัน ถือเป็นรูปแบบการพัฒนาที่ดินแนวทางหนึ่งที่กินได้ ขายด้วย มองสวยและยั่งยืน… และยังเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาผังเมืองอัจฉริยะที่เอาระบบนิเวศน์เป็นศูนย์กลางด้วย

สิ่งที่น่าสนใจอย่างมากก็คือ หลักการ 12 ข้อของ Permaculture Farming ที่ร่างเป็นหลักการชัดเจนโดย David Holmgren นักออกแบบสิ่งแวดล้อมและนักการศึกษาด้านนิเวศวิทยา ลูกศิษย์และผู้ร่วมพัฒนาแนวคิด Permaculture Farming ร่วมกับ Bill Mollison… และยังเขียนหนังสือชื่อ Permaculture: Principles and Pathways Beyond Sustainability เผยแพร่มาตั้งแต่ปี 2002… ซึ่งหลักการ 12 ข้อได้แก่

1. Observe and Interact… งามตาและดึงดูด
2. Catch and Store Energy… ตักตวงและกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติ
3. Obtain a Yield… ต้องมีผลตอบแทน ทางอ้อมก็ได้ ทางตรงยิ่งดี
4. Apply Self-Regulation and Accept Feedback… เข้าใจตนเองและยอมรับข้อชี้แนะ
5. Use and Value Renewable Resources and Services… ใช้และให้คุณค่ากับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ใช้ซ้ำและซ่อมใช้
6. Produce No Waste… ขยะและของเหลือเป็นศูนย์
7. Design from Patterns to Details… ออกแบบตั้งแต่คิดรูปแบบจนถึงรายละเอียด
8. Integrate rather than Segregate… บูรณาการ ไม่แบ่งแยก
9. Use Small and Slow Solutions… ทำเล็กๆ ทำเรื่อยๆ ด้วยสูตรการเข้าเส้นชัยแบบเต่า
10. Use Value and Diversity… ให้คุณค่ากับความหลากหลาย
11. Use Edges and Value the Marginal… ใช้ทุกส่วนสร้างมูลค่าเพิ่ม
12. Creatively Use and Respond to Change… ใช้ความคิดสร้างสรรค์และตอบสนองต่อการปรับเปลี่ยน

ออกตัวก่อนว่า… ผมเพิ่งรู้จัก PermaCulture มาไม่นานครับ และพื้นฐานการทำเกษตรของผมก็อิงเทคโนโลยี หรือไม่ก็มองโมเดลผลผลิตเชิงจัดการเป็นส่วนใหญ่… ซึ่งหลักอย่างไร่นาสวนของล้นเกล้ารัชกาลก่อน หรือ PermaCulture จึงไม่สามารถเล่าแบบคนมีประสบการณ์ได้

เอาเป็นว่าผมเอา Keyword คำว่า PermaCulture มาแนะนำก่อนเป็นเบื้องต้นสำหรับท่านที่ไม่เคยรู้หรือรู้นิดๆ หน่อยๆ เหมือนผมเป็นเบื้องต้นก่อน… ส่วนเทคนิคขั้นเตรียมแปลงปลูกผักไม่ต้องรดน้ำหรือแนวทางการวางผังสวนผมขอยังไม่กล่าวถึงตอนนี้ครับ… แต่ดีกรีของ Bill Mollison และ David Holmgren รวมทั้งคำค้นอย่าง Permaculture Farming บน Google Search ที่ให้ผลลัพธ์เกิน 4 ล้านลิงค์ข้อมูลก็ถือว่ากระแสแรงมากๆ ทีเดียว… ฝั่ง Masanobu Fukuoka กับดีกรีระดับบิดาเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น พร้อมรางวัลแม็กไซไซ และรางวัล Desikottam Award กับรางวัล Earth Council Award… ย่อมถือว่าไม่ธรรมดาทั้งสองสาย

สุดท้าย… ถ้าท่านใดมีสวนหรือทำสวนแนวคิด PermaCulture อยากประชาสัมพันธ์ หรือให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับท่านอื่นๆ ที่สนใจ…  Properea Team C หรือ Team Contents ยินดีลงพื้นที่ทำ Content ให้ทุกท่านเลยครับ เรามีพันธมิตรในเครือข่าย Team C อยู่ทุกภาค เกือบทุกจังหวัดและครอบคลุมทุกพื้นที่แน่นอน… Line: @properea ครับ!

อ้างอิง

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Space Farming 2015

Space Farming และ Plant Factories… โอกาสใหม่ของธุรกิจการเกษตรที่ยั่งยืน

พัฒนาการของโรงงานผลิตพืช และ การเพาะปลูกโดยไม่ยึดติดกับสภาพแวดล้อมดินฟ้าอากาศเหมือนเกษตรดั้งเดิม กำลังนำไปสู่การพัฒนาพันธุ์พืช และ เทคนิคการเพาะปลูกแบบใหม่ โดยมีเทคโนโลยี และ แนวปฏิบัติเพื่อการควบคุมปัจจัยแวดล้อม เพื่อให้ได้ผลผลิตตามความต้องการสูงสุด… ซึ่งทั้งหมดกำลังจะเปลี่ยนโฉมหน้าการเกษตรแบบไร่นาสวนบนบนพื้นดิน ซึ่งมีไม่มากพอสำหรับการเกษตรวิถีดั้งเดิมอีกแล้ว… ซึ่งแหล่งอาหาร หรือ ที่มาของอาหารสำหรับมนุษย์ก็คงเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่มันควรจะเป็น 

Masayoshi Son

Think Big, Think Disruptive, Execute With Full Passion – Masayoshi Son

สิ่งที่คนส่วนใหญ่ยกย่อง Masayoshi Son ก็คือ… การนำเสนอวิสัยทัศน์ 300 ปี เพื่อวางแผนให้ SoftBank อยู่ยงถึงอายุ 300 ปี ซึ่งประกาศไว้ในปี 2010 ก่อนจะลุยลงทุนในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์… AI… หุ่นยนต์ รวมทั้ง Longevity Technology ในมนุษย์ตั้งแต่ระดับ DNA จนถึงอวัยวะเทียมที่จะทำให้มนุษย์อายุเกิน 200 ปีอย่างท้าทาย… ซึ่งชายคนนี้… Masayoshi Son ไม่ได้คิดหรือฝันลอยๆ กับสิ่งที่บอกไว้ทั้งหมด แต่เดินหน้าหาเงินลงทุน และ ทุ่มลงทุนอย่างจริงจังมาก่อนหน้านั้นเสียอีก

Isan Creative Festival 2022… เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2565

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ขอนแก่น หรือ CAE Khon Kaen… ได้จัดงานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2565 หรือ ISANCF2022 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 6 มีนาคม 2022 ภายใต้ธีม “Think Link Things” บนพื้นที่จัดงานหลัก 2 ย่าน

TonCoin และ The Open Network

TonCoin เป็นเหรียญประจำ The Open Network เป็นบล็อกเชน Layer 1 แบบ PoS หรือ Proof-of-Stake ซึ่งพัฒนาโดย Pavel Durov ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มสื่อสารข้อความชื่อดังจากรัสเซียอย่าง Telegram โดยแนวคิดแรกของการก่อตั้งบล็อกเชน The Open Network หรือ TON หรือชื่อเดิม Telegram Open Network หรือ GRAM ได้มุ่งเป้าการใช้งานในชุมชนออนไลน์อย่าง Telegram ที่ต้องออกแบบให้ระบบมีความเป็นไปได้ที่จะใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้ใช้งานหลายล้านบัญชีด้วยความสามารถในการบันทึกธุรกรรมให้ได้เพียงเสี้ยววินาที และ จ่ายค่าธรรมเนียมเพียงน้อยนิดระดับเศษทศนิยม… ซึ่งเป็นมิตรกับชีวิตประจำวันมาก