การตีพิมพ์เผยแพร่ร่างแรกของแผนที่พันธุกรรมมนุษย์ฉบับ “Pangenome หรือ แพนจีโนม” หัวข้อ A Draft Human Pangenome Reference ในวารสาร Nature และวารสารวิชาการในเครือ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2023 ที่ผ่านมา อันถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ นับตั้งแต่การรวบรวม ข้อมูลพันธุกรรม หรือ Genome ของมนุษย์ได้สำเร็จครั้งแรกเมื่อปี 2003 ซึ่งต่อมานักวิทยาศาสตร์ยังสามารถถอดรหัสพันธุกรรมของ Genome มนุษย์ดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ ในปี 2022 อีกด้วย
Dr.Eric D. Green ผู้อำนวยการ National Human Genome Research Institute หรือ NHGRI หรือ สถาบันวิจัยจีโนมมนุษย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นองค์กรผู้สนับสนุนหลักของโครงการวิจัย Pangenome เล่าว่า… แผนที่พันธุกรรมมนุษย์ฉบับแพนจีโนม จะช่วยให้เราได้เห็นพิมพ์เขียวของรหัสพันธุกรรม หรือ ดีเอ็นเอทั้งหมดจากมุมมองที่กว้างขึ้น โดยสะท้อนถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมจากประชากรกลุ่มต่างๆ เกือบทั่วทุกมุมโลก
Pangenome หรือ แพนจีโนม รวบรวมข้อมูลรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ 47 คน จาก 47 สายตระกูลหรือกลุ่มชาติพันธุ์จากทุกทวีปบนโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา และ ภูมิภาคโอเชียเนีย แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ทางพันธุกรรม ระหว่างผู้คนแต่ละชาติพันธุ์ ซึ่งอาจส่งผลสำคัญต่อสุขภาพได้อย่างคาดไม่ถึง

ขอบคุณสำนวนต้นฉบับจาก BBC และ งานวิจัยตีพิมพ์ฉบับเต็มคลิกที่นี่
References…