PancakeSwap

PancakeSwap เป็นแพลตฟอร์ม DEX & DeFi ยอดนิยมที่พัฒนาบน Binance Smart Chain ซึ่งโดดเด่นอย่างยิ่งในการให้บริการ Decentralized Exchange หรือ DEX หรือ บริการแลกเปลี่ยนคริปโตแบบไร้ศูนย์กลาง โดย Users สามารถแลกเปลี่ยนผ่านฟังก์ชั่น Exchange ระหว่างคู่เหรียญที่มีรายการ หรือ List อยู่แล้วได้โดยตรงกับสภาพคล่องที่มีอยู่ใน Liquidity Pools ของ PancakeSwap ด้วยโมเดล Automated Market Maker หรือ AMM ซึ่งไม่มีการทำรายการจับคู่คริปโตใดๆ กับรายการแลกเปลี่ยนของ Users รายอื่น… เพราะทุกรายการแลกเปลี่ยนจากทุก Users จะแลกตรงโดยอัตโนมัติกับคริปโตที่มีอยู่ใน Liquidity Pools เท่านั้น

Liquidity Pools จะมีคริปโตและโทเคนจากบริการ Liquidity ที่นักลงทุนฝากโทเคนเข้าระบบเพื่อร่วมให้บริการ Exchange หรือ Swap โดยมี LP Tokens หรือ Liquidity Provider Tokens ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นอ้างอิงคริปโตหรือโทเคนที่นักลงทุนฝากเข้า Liquidity Pools และให้นักลงทุนถือไว้แลกคืนคริปโตหรือโทเคนกลับพร้อมส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมที่ได้จากบริการ Swap นั่นเอง… พูดง่ายๆ ว่าใครๆ ก็สามารถให้บริการแลกเปลี่ยนคริปโตแบบ DEX ผ่านฟังก์ชั่น Liquidity ได้ตลอดเวลาบน PancakeSwap

ส่วนบริการยอดนิยมอย่าง Farms จะต่อยอดจาก LP Tokens แบบต่างๆ ที่ได้จากบริการ Liquidity ซึ่งนักลงทุนสามารถ Stake หรือ ล็อค LP Tokens ไว้กับฟาร์มคริปโตที่เสนอดอกเบี้ยและความเสี่ยงเผยแพร่ไว้ตามดุลพินิจ… ซึ่งการ Stake LP Token กับบริการ Farms จะทำให้นักลงทุนได้รับ Governance Token ชื่อ Cake เป็นการตอบแทน

การถือ Cake Token จะทำให้นักลงทุนสามารถใช้บริการ Syrup Pools โดย Stake Cake Token เพื่อรับผลตอบแทนเพิ่มเติมเป็นต่อที่สามได้อีกชั้น… และทั้ง Farms และ Syrup Pools สามารถใช้ปุ่ม Harvest เก็บเกี่ยวผลตอบแทนได้ตามที่แพลตฟอร์มขึ้นสิทธิ์ให้… ส่วนราคา Cake บนกระดานแลกเปลี่ยนนอกแพลตฟอร์ม PancakeSwap ในวันที่ 27 กรกฎาคม ปี 2021 บน CoinMarketCap.com อยู่แถวๆ 14.33 ดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่าทางการตลาดราว 2,962 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนั้น… PancakeSwap ยังให้บริการ Lottery ซึ่งจะออกรางวัลให้ได้ลุ้นทุกๆ 6 ชั่วโมง พร้อมแพลตฟอร์ม NFTs หรือ Non-Fungible Token ซึ่งปัจจุบันยังใช้เป็น Platform Reward ที่สามารถแลกเป็น Cake Token ภายในระบบอยู่ และ เชื่อว่าในอนาคตคงมีอะไรสนุกๆ จาก PancakeSwap NFTs อีกมากอย่างแน่นอน

ส่วนที่น่าสนใจที่สุดก็คือ… PancakeSwap มีบริการ Initial Farm Offerings หรือ IFO หรือ การระดมทุนด้วยการออกโทเคนผ่านบริการ Farms บน PancakeSwap นั่นเอง… รายละเอียดขอข้ามไปก่อนครับ

PancakeSwap เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างด้วยการ Fork SushiSwap ของ Chef Nomi โดย Anonymous Developers หรือ กลุ่มนักพัฒนานิรนาม ซึ่งใช้เพียงผู้ตรวจรับรองระบบที่เชื่อถือได้อย่าง CertiK เท่านั้นในการอ้างอิง… PancakeSwap จึงเป็นแพลตฟอร์ม Smart Contract สมบูรณ์แบบ และ ได้ชื่อว่าเป็น Automated Market Making System ที่น่าจับตามากที่สุดอีกหนึ่งแพลตฟอร์ม

คำถามสำคัญในประเด็นความปลอดภัยและความเสี่ยง… PancakeSwap มีความเสี่ยงเหมือนแพลตฟอร์ม DeFi อื่นๆ ไม่ต่างกันครับ ถึงแม้ว่า PancakeSwap จะไม่ปรากฏชื่อเสียงเรียงนามของผู้ก่อตั้ง และ ทีมพัฒนาที่อ้างอิงเป็นบุคคลได้อย่างชัดเจน… แต่สาวกคริปโตตัวจริงที่เชื่อมั่นระบบมากกว่าคน เหมือนที่เชื่อมั่นบิตคอยน์แม้ไม่มีใครรู้ว่า Satoshi Nakamoto ผู้สร้างเป็นใครนั่นเอง

การใช้บริการ PancakeSwap รวมทั้งการตั้งค่า และ ใช้งานเครื่องมือสำคัญอย่าง Wallet ผมขอข้ามไปน๊ะครับ… ท่านที่สนใจจริงคงหาได้ไม่ยาก และ โปรดระมัดระวังเงินลงทุนของท่านที่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของท่าน ซึ่งการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ โดยเฉพาะการลงทุนกับ DeFi ทุกรูปแบบ และ บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อให้ข้อมูลซึ่งเป็นความรู้ทั่วไปเท่านั้น

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Cryptohopper… แพลตฟอร์มบอทเทรดยอดนิยม

ชื่อ Cryptohopper ในยุทธจักรบอทเทรดซึ่งให้บริการมาตั้งแต่ปี 2018 หลังการก่อตั้งโดย Ruud Feltkamp และ Pim Feltkamp ในปี 2017… ถือเป็นชื่อของแพลตฟอร์มบอทเทรดที่ได้รับความน่าเชื่อถืออย่างสูง จนมียอดผู้ใช้งานสะสมหลายแสนบัญชี โดยส่วนใหญ่เป็นบัญชีแบบจ่ายค่าบริการรายเดือน ถึงแม้ Cryptohopper จะมีบัญชีฟรีให้ใช้ไม่จำกัดระยะเวลาก็ตาม

COVID Cert

Thai Stop Covid Plus…

ความเชื่อมั่นของสินค้าและบริการในประเทศไทย และสินค้าส่งออกไปขายต่างประเทศ ซึ่งชัดเจนว่าทุกตลาดจะเข้มงวดเรื่องเชื้อโรค และ การปนเปื้อนอย่างชัดเจน… ซึ่งความเคลื่อนไหวของกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะผู้ดูแลขับเคลื่อนมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่าในสถานประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม ก็เห็นการทำงานเชิงรุก โดยขอให้โรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ประเมินตนเองผ่านแบบประเมินตนเอง Thai Stop Covid Plus และ Thai Save Thai ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2564… คาดโทษฝ่าฝืนกรณีไม่ปฎิบัติตามก็จะมาตรการลงโทษด้วย…

สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 จากงานวิจัย 20 ปีจาก Monash University

คณะนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมภายใต้การนำของ Professor Yuming Guo จาก Monash University ในออสเตรเลีย ได้ตีพิมพ์เผยผลการศึกษาด้านมลพิษทางอากาศที่จัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกโดยความร่วมมือของพันธมิตรจากนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมทั่วโลก โดยรายงานการวิจัยได้ตีพิมพ์ลงวารสารการแพทย์ The Lancet Planetary Health ระบุว่า… คุณภาพอากาศทั่วโลกระหว่างปี 2000 – 2019 มีแนวโน้มแย่ลงเรื่อยๆ จนกระทั่งปี 2019 ที่เมืองต่างๆ ทั่วโลกมีจำนวนวันที่ค่ามลพิษรวมทั้งฝุ่น PM 2.5 มีปริมาณสูงเกินมาตรฐานบ่อยถึง 70% หรือ เกือบตลอดทั้งปี… ซึ่งได้ทำให้ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา มีประชากรโลกเพียง 0.001% เท่านั้นได้รับอากาศบริสุทธิ์ที่มีมลพิษในระดับต่ำ และ ในปัจจุบันแทบจะไม่มีสถานที่แห่งใดในโลกที่ปลอดจากหมอกควันและฝุ่นพิษอีกแล้ว… โดยทั่วทุกภูมิภาคของโลกยังมีค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของฝุ่นพิษอยู่ที่ 32.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ถึงสองเท่า

Thiam Chokwatana

แค่หยุดอยู่กับที่ ก็เป็นผู้ล้าหลัง ~ เทียม โชควัฒนา

ร้านเฮียบเซ่งเชียง ในตรอกอาเนียเก็ง ถนนทรงวาด… ก่อตั้งโดย เฮงเทียม แซ่ลี้… เป็นบุตรคนที่ 3 จากจำนวน 8 คน ของ นายฮกเปี้ยว แซ่ลี้ ชาวจีนโพ้นทะเลจากตำบลเตี๋ยชู้เลี้ยง อำเภอโผวเล้ง มณฑลแต้จิ๋ว กับ นางสอน แซ่ลี้ สาวไทยเชื้อสายจีนที่เกิดในเมืองไทย… เฮงเทียม แซ่ลี้ หรืออีกชื่อหนึ่งที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยอย่างดีคือ ดร. เทียม โชควัฒนา!