ท่าเรือน้ำลึกปากบารา…

การพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการยังหาทางไปต่อได้ยาก นับตั้งแต่โรงไฟฟ้าจะนะที่หลายฝ่ายต้องออกแรงทั้งผลักทั้งดันมายาวนาน กว่าจะได้ความมั่นคงทางพลังงานให้ภาคใต้… ที่สำเร็จเพียงบางส่วนของเป้าหมายใหญ่

ช่วงหลังสงกรานต์ที่ผ่านมา โครงการยักษ์อีกหนึ่งโครงการมีข่าวคราวความเคลื่อนไหวออกสื่อออนไลน์พอให้หายคิดถึง นั่นก็คือโครงการแลนด์บริดจ์เชื่อมอ่าวไทยกับอันดามันที่สงขลากับสตูล

ขอบคุณภาพจาก terrabkk.com

ย้อนกลับไปถึงแนวคิดการขุดคอคลอดกระ ที่ต้องย้อนกลับไปไกลได้ถึงยุดท่านปรีดี พนมยงค์ได้เสนอให้ขุดคลองที่กิ่วกระ บริเวณที่แคบที่สุดของคาบสมุทรมลายูอยู่ในเขตบ้านทับหลี ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง กับ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ประมาณกิโลเมตรที่ 545 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501… เพื่อสร้างเส้นทางขนส่งทางเรือเส้นทางใหม่… ที่จะทำให้ช่องแคบมาลายูและสิงคโปร์ กลายเป็นเพียงเส้นทางเดินเรือทางเลือกหรือสายรองเท่านั้น

ว่ากันว่า… ตั้งแต่นั้นมาปัญหาความรุนแรงและแนวคิดการแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ก็คุกรุ่นต่อเนื่องมาจวบจบปัจจุบัน

สุดท้าย… โครงการขุดคอคลอดกระ ก็ยังเป็นเพียงแนวคิดที่มีไว้พูดถึงมากกว่าจะเกิดขึ้นอย่างจริงจัง… แม้จะมีการผลักดันผ่านรัฐสภาให้เห็นในช่วงปี 2542-2544… ก่อนจะหายไป พร้อมกับการเกิดแนวคิดใหม่เรื่องแลนด์บริจ์ที่เกิดขึ้นทดแทนเพื่อตอบโจทย์เรื่องลอจิสติกส์ โดยไม่ต้องขุดคลอง…

แต่จะสร้างท่าเรือน้ำลึกสองฝั่งทะเล… สร้างถนนเชื่อมหากัน… สร้างทางรถไฟเชื่อมหากัน… วางท่อส่งน้ำมันขนาดใหญ่เชื่อมหากัน…

…ก็มีอุปสรรคมากมายทั้งจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยและฝ่ายที่เห็นด้วยอย่างมีเงื่อนไข

แต่โครงการก็เดินหน้าต่อเนื่องมาอย่างช้าๆ จนความขัดแย้งเรื่องสร้างหรือไม่สร้างหมดไป… โครงการแลนด์บริดจ์ล่าสุดได้กลายเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญสำหรับ SEC หรือ Southern Economic Corridor ไปแล้ว

ขอบคุณภาพจากเวบไซด์กรมเจ้าท่า

สำหรับผม… การพูดถึงแลนด์บริดจ์นาทีนี้ ภาพจึงใหญ่และมีมิติมากเกินกว่าจะรวบรัดพูดถึงอย่างผิวเผิน… วันนี้ผมขออนุญาต Focus ไปที่ท่าเรือน้ำลึกปากบาราที่โครงการเจาะเอาพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา มาทำท่าเรือกลางน้ำและยังทำสะพานจากฝั่งเชื่อมท่าเรือยาวเกือบ 5 กิโลเมตรอีกด้วย… ช่วงแรกของโครงการนี้ นอกจากกรมเจ้าท่าซึ่งเป็นเจ้าของโครงการแล้ว ฝ่ายอื่นๆ ดูเหมือนจะคัดค้านโครงการหัวชนฝามาหลายปี… แต่ตอนนี้ผมบอกทุกท่านได้แล้วว่า

…ท่าเรือน้ำลึกปากบาราเกิดแน่นอนแล้ว!!!

ในมิติการขับเคลื่อนเชิงสังคมและนโยบายมหภาคจากรัฐ… แม้จะยังมีรายละเอียดจุกจิกมากมายให้พูดถึง แต่ผมขอข้ามแล้วหล่ะ… มองไปอีก 10 ปี 20 ปีข้างหน้า

…ถ้าคนใต้ช่วยกัน ผมว่าแถวนั้นคงเหมือนชลบุรี-ระยองในปัจจุบัน หรืออาจจะข้ามชั้นไปเทียบสิงคโปร์ก็ได้… ธรรมชาติและระบบนิเวศน์ที่ชินตา คงเปลี่ยนไปมากมายไม่น้อย… ข้อมูลทางลึกที่ผมมีอยู่ตอนนี้… สำหรับผมคิดว่าคุ้มค่าครับ ไว้ผมจะทำข้อมูลที่เข้าใจง่ายๆ มาแบ่งปันอีกที

สำหรับผม… ไม่คิดว่าท่าเรือน้ำลึกปากบาราจะเป็นปัญหาใหญ่ของทะเลอันดามันหรอกครับเมื่อวันนั้นมาถึง!

เกือบยี่สิบปีมาแล้วที่ผมไปเกาะหลีเป๊ะแบบ… แบกเป้ไปหลีเป๊ะ เช่าเรือประมงเลาะเที่ยวเกาะน้อยใหญ่เขตตะรุเตา แล้วยังเลาะขึ้นมาถึงเกาะเภตรา-เกาะเขาใหญ่ อยู่นานจนมีเพื่อนเปนไต้ก๋งและจุมโพ่ ที่เคยเมาเหล้าผสมเมาคลื่นให้เพื่อนหัวเราะ… จนลืมวันลืมเดือนเลยทีเดียว

คิดถึงถึงมากมาย… ปากบารา

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Metaverse Studio

Metaverse… Ecosystem and Market Size

เทคโนโลยี WWW และ อินเตอร์เน็ตได้มาถึงยุค 3D Contents เรียบร้อยแล้ว โดยมีความพร้อมอยู่ในระบบนิเวศทั้ง Hardware Technology กับ Software Technology และ Contents… ซึ่งทั้งหมดมีเป็นสินค้าและบริการอยู่ในตลาดมาสักพักแล้ว และ Emergen Research ได้รายงานตัวเลขการสำรวจตลาดสินค้าและบริการในระบบนิเวศ Metaverse ในปี 2020 มีมูลค่าทั่วโลกอยู่ที่ 4,769 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ ประเมินการเติบโตล่วงหน้าโดยเฉลี่ยไว้ที่ 43.3% ทุกปีไปจนถึงปี 2028

Roll Out Solar Array… โซลาร์เซลล์แบบใหม่บนสถานีอวกาศนานชาติ

Roll Out Solar Array เป็นแผ่นเรียงโซลาร์เซลล์แบบอ่อนจนสามารถม้วนและกางออกใช้งานได้ ถูกคิดค้นและจดสิทธิบัตรราวต้นปี 2010 โดยมี Brian R. Spence และ Stephen F. White… และ NASA ได้ขอใช้สิทธิบัตรในโครงการ ISS Roll Out Solar Array หรือ iROSA ในปี 2014 ก่อนจะมีการทดสอบติดตั้งครั้งแรก ในวันอาทิตย์ที่ 18 มิถนายน ปี 2017… และนำมาซึ่งการ Upgrade ระบบโซลาร์เซลล์บนสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS ครั้งใหญ่ด้วย Roll Out Solar Array ในวันที่ 16 มิถุนายน 2021 

Digital Marketing Experience

ผมเป็นแฟน thinkwithgoogle.com มาซักพักใหญ่แล้วหล่ะครับ และผมแนะนำให้ทุกท่านแวะเวียนไปค้นดู และรู้จักกับ thinkwithgoogle.com เอาไว้บ้าง เพราะข้อมูลและบทความ รวมทั้งความเคลื่อนไหวต่างๆ ของที่นี่ หลายเรื่องสามารถจุดประกายใหม่ๆ ได้เยอะทีเดียว… โดยเฉพาะ Digital Marketing Mindset ที่ผมคิดว่า สามารถ Update ข้อมูลให้สมองมีอะไรสดใหม่ได้ตื่นตัวรับการเปลี่ยนแปลงได้อีก

Alligator Fractal

Fractal Indicator

กราฟราคาหลักทรัพย์ลงทุนส่วนใหญ่ แม้จะปรากฏรูปร่าง และ การเคลื่อนไหวที่ดูรวมๆ เหมือนจะเกิดอย่างไร้รูปแบบ หรือ สุ่มเกิดจากชุดตัวเลขที่ระบุความชัดเจนของที่มาที่ไปแน่นอนไม่ได้… ซึ่งข้อเท็จจริงที่ถูกพิจารณากราฟราคา และ กราฟแท่งเทียนของสินทรัพย์ลงทุนอย่างถี่ถ้วน กลับพบรูปแบบของแนวโน้ม หรือ เทรนด์ หรือ Trend ที่มีความน่าจะเป็นชี้นำแนวโน้ม และ การกลับทิศทางแนวโน้มหรือการกลับตัวอย่างมีนัยยะ