P2P Lending กับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์

Peer-to-Peer Lending เป็นระบบสินเชื่อที่ออกแบบให้ผู้กู้กับผู้ให้กู้ ทำธุรกิจกู้ยืมระหว่างกันโดยไม่ผ่านตัวกลาง ซึ่งแต่เดิมจะเป็นธนาคารหรือไฟแนนซ์… และนี่คือ FinTech ที่จะมาเปลี่ยนระบบนิเวศน์ของสินเชื่อไปอีกนาน

วานนี้ผมเอาแถลงข่าวของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วย กรอบการกำกับดูแล Peer-to-Peer Lending Platform ซึ่งหลายฝ่ายผลักดันจนมาถึงวันที่ การทำธุรกิจ P2P Lending จะมีกรอบกติกาเพื่อดูแลจัดการระบบนิเวศน์สินเชื่อแบบใหม่นี้ และมีแนวทางทำธุรกรรมระหว่างกันโดยไม่ผิดกฏหมาย…

…และผมเชื่อว่า ก้าวแรก ณ ไตรมาสสุดท้ายปี 2561 นี้เป็นต้นไป P2P Lending Platform คงต้องพัฒนาไปอีกมากทีเดียวในทุกๆ มิติ

แล้ว P2P Lending Platform จะเหมาะกับวงการอสังหาริมทรัพย์หรือไม่?

เหมาะครับ!

มี Case Study ที่ทำงานนำร่องไปก่อนแล้วโดย Tech Startup ในต่างประเทศ ที่พัฒนา Property Peer-to-Peer Lending Platform กันมาระยะหนึ่ง หลาย Platform พัฒนามาจากระบบ cloud funding ซึ่งผมคิดว่า นั่นยังไม่ใช่ Lending Platform ที่มีโครงสร้างน่าเชื่อถือนัก หากมีการทำธุรกรรมจำนวนมาก… และอะไรอีกมากมายซึ่ง เป็นรายละเอียดเชิงเทคนิคที่ต้องขุดคุ้ยประเด็นมาคุยอีกมาก… มีโอกาสคงได้ลงลึกด้วยกันครับ!

พอหันมามอง Lending Platform ทางฝั่ง Cryptocurrency… ต้องสารภาพเลยว่า ด้วยความที่เทคโนโลยี Cryptocurrency ที่ยังมีปัญหาทางเทคนิคมากมาย และยังต้องฝ่าฟันและพิสูจน์ตัวเองอีกนานในสังคมโลกที่ไม่ได้มีแต่คนรัก Crypto เท่านั้น หรือไม่… Cryptocurrency เองอาจจะไม่ได้ไปต่อก็ได้!!!

แต่เมื่อหันมามองเฉพาะ Blockchain… ว๊าววว หลายเสียงขานรับเทคโนโลยีที่ Bitcoin นำไปใช้จนนำพาลูกหลาน Cryptocurrency ที่เกิดตามมา สร้างปรากฏการณ์ไปทั่วโลก

แน่นอนว่า… เทคโนโลยี Hyperledger ด้วย Blockchain น่าจะเป็นก้าวแรกของ P2P Lending Platform อย่างไม่ต้องสงสัย แต่เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์ มีมูลค่าและลักษณะเฉพาะในการถือครองและแลกเปลี่ยน รวมทั้งยังมีกฏหมายอีกหลายข้อในหลายฉบับ ที่กางออกแบบศึกษาข้อมูลเชิงลึกแล้ว ยังต้องบูรณาการอีกพอสมควร

หรือไม่… ข้อจำกัดที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาจจะมี AI เข้ามาจัดการก็ได้ครับ!

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

ไม้ยูคาลิปตัส… หลักประกันทางธุรกิจใหม่

คุณพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยข้อมูลจากการหารือร่วมกับ ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อพิจารณาแนวทางการส่งเสริมการนำไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันทางธุรกิจ… ปัญหาอุปสรรคในการให้สินเชื่อของแต่ละสถาบันการเงิน รวมถึงความเป็นไปได้ในการนำไม้ยืนต้นมาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ ซึ่งที่ประชุมได้มีความเห็นให้ “ไม้ยูคาลิปตัส” สามารถใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจได้

อัตราเงินเฟ้อเดือนมกราคม 2023 จากกระทรวงพาณิชย์

6 กุมภาพันธ์ 2023… คุณวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หรือ สนค. ได้เปิดเผยข้อมูล “ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ เงินเฟ้อทั่วไป” เดือนมกราคม พ.ศ. 2566 เท่ากับ 108.18… เทียบกับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 เพิ่มขึ้น 0.30%…  เทียบกับเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 เพิ่มขึ้น 5.02%… ชะลอตัวลงจากเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ที่สูงขึ้น 5.89% และ อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน ตามการชะลอตัวของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน และ อาหาร ขณะที่ความต้องการบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นจากภาคการท่องเที่ยว เทศกาลปีใหม่ และ ตรุษจีน ส่งผลให้การใช้จ่ายคึกคักกว่าปีที่ผ่านมา

Kraken Exchange

กลางเดือนกันยายน ปี 2020… Twitter ของ Marco Santori หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฏหมาย หรือ Chief Legal Officer ของ Kraken ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโตรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ก็ได้ประกาศการได้รับ ใบอนุญาตประกอบการแบบ Special Purpose Depository Institution หรือ SPDI จาก Wyoming Banking Board ของรัฐไวโอมิ่ง ซึ่งได้ทำให้ Kraken กลายเป็นธนาคารแบบ SPDI ในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งตั้งอยู่ในรัฐไวโอมิงอย่างเต็มตัว

Multiple Central Bank Digital Currencies… อนาคตการโอนเงินระหว่างประเทศบนเทคโนโลยี DLT

Bank for International Settlements หรือ BIS หรือ ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ ได้ประกาศความสำเร็จในโครงการนำร่อง Multiple Central Bank Digital Currencies หรือ Multi-CBDC ภายใต้การนำของ BIS Innovation Hub โดยมีธุรกรรมเริ่มต้น 164 รายการ มูลค่าเกือบ 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการชำระเงินข้ามพรมแดนผ่านแพลตฟอร์ม mBridge ที่ถูกริเริ่มโดย HKMA หรือ Hong Kong Monetary Authority และ ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อน… ซึ่งต่อมาได้มีพันธมิตรอย่างธนาคารประชาชนจีน หรือ 中国人民银行 กับ ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ Central Bank of the United Arab Emirates แล้ว… ก็ยังมีธนาคารกลางพันธมิตรจากอีก 20 ประเทศเข้าร่วม