26 กันยายน 2561 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดแถลงข่าวและออกจดหมายข่าว ฉบับที่ 63/2561 เรื่อง กรอบการกำกับดูแล Peer-to-Peer Lending Platform ซึ่งเป็นการยืนยันความชัดเจนว่า กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมแล้วที่จะเปิดประตูให้ FinTech อีกหนึ่งบาน…
เนื้อความในเอกสารแถลงข่าวแจ้งไว้สั้นๆ เพียงหนึ่งหน้าว่า…
นางฤชุกร สิริโยธิน รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการขยายการเข้าถึงบริการด้านสินเชื่อให้แก่ประชาชนรายย่อยที่ประกอบธุรกิจโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการให้บริการ สอดคล้องกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม รวมทั้งมีการกำกับดูแลผู้ให้บริการอย่างเหมาะสม กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกำหนดให้ธุรกิจ ระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สาหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล (Peer-to-Peer Lending Platform) เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58
ธุรกิจ Peer-to-Peer Lending Platform จะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการทำสัญญากู้ยืมเงิน ระหว่างผู้ให้กู้ และผู้ขอกู้ที่เป็นบุคคลธรรมดา โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องเป็นบริษัทหรือบริษัทมหาชนจากัด ที่มีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่ต่ากว่าร้อยละ 75 และต้องมีทุนขั้นต่า 5 ล้านบาทตลอดระยะเวลาการประกอบ ธุรกิจ นอกจากนี้ Peer-to-Peer Lending Platform ต้องจัดให้มีแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภค และ มาตรการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม เช่น กระบวนการรู้จักลูกค้า การประเมินความเหมาะสม (client suitability) ของผู้ให้กู้ และการประเมินระดับความเสี่ยง (credit rating) ของผู้ขอกู้ ธปท. จะกำหนด หลักเกณฑ์รองรับผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจโดยผู้สนใจสามารถตดิต่อมายัง ธปท.เพื่อขอเข้าร่วม ทดสอบใน Regulatory Sandbox ของ ธปท. และเมื่อพร้อมให้บริการในวงกว้างแล้ว ธปท. จะเสนอ กระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาให้ใบอนุญาตต่อไป