Open Ocean Mariculture… อาหารทะเลจากกระชังน้ำลึก

AquaPod

อาหารทะเลจากระชัง หรือ จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในทะเล มีความสำคัญต่อการสนับสนุนการผลิตอาหารทะเลของทั่วโลกมานานหลายทศวรรษ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในทะเลตามแนวชายฝั่ง ซึ่งผลิตอาหารทะเลเข้าสู่ห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหารได้ยั่งยืนกว่าอุตสาหกรรมการประมงในแหล่งธรรมชาติ ที่มีข้อจำกัดมากมาย ทั้งความอุดมสมบูรณ์ที่คาดเดาผลผลิตได้ยาก ปัญหาอุปสรรคตามฤดูกาล รวมทั้งระเบียบและการคุ้มครองตามกฏหมาย

ประเด็นก็คือ… สัตว์และพืชจากทะเลหรือมหาสมุทร เป็นหนึ่งในวิธีการผลิตโปรตีนที่ประหยัดทรัพยากรมากที่สุดทางหนึ่ง และ ยังช่วยยกระดับภาวะโภชนาการและความมั่นคงด้านอาหารให้ผู้คนจากหลายพื้นที่ทั่วโลก… สถิติจาก NOAA Fisheries ในสังกัดองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือ National Oceanic and Atmospheric Administration หรือ NOAA ของสหรัฐอเมริกาชี้ว่า… การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชในทะเลให้ผลผลิตมากกว่า 50% ของปริมาณอาหารทะเลทั้งหมดที่ผลิตเพื่อการบริโภคในสหรัฐอเมริกา และ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หน่วยงานอย่าง NOAA Fisheries จึงส่งเสริมวิทยาศาสตร์และการวิจัยเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ล้ำสมัย รวมทั้งการกำหนดนโยบายและข้อบังคับของรัฐบาลกลาง เพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนในสหรัฐอเมริกา… ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนการประมงเชิงพาณิชย์ และ รวมทั้งการประมงเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ครอบคลุมการสนับสนุนทั้งวิทยาการด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำเค็ม การกำหนดนโยบาย และ ระเบียบข้อบังคับที่อนุญาตให้ชุมชนสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางสังคม เศรษฐกิจ และ สิ่งแวดล้อมของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ… ซึ่งเน้นว่าเป็นการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางทะเลอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อจัดหาอาหารทะเลที่ปลอดภัยและยั่งยืน สร้างโอกาสการจ้างงานและธุรกิจในชุมชนชายฝั่งทะเล และเสริมกลยุทธ์ที่ครอบคลุมของ NOAA ในการคุ้มครองความหลากหลายทางทะเล ระบบนิเวศ และ ชุมชนชายฝั่ง

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ… NOAA เป็นหน่วยงานเชิงสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทในเวทีสิ่งแวดล้อมโลก ครอบคลุมน้ำ–ฟ้า–ฝั่งและชั้นบรรยากาศ… แต่กรณีของ NOAA Fisheries ซึ่งเป็นหน่วยงานเก่าแก่อายุเกินร้อยปีของสหรัฐ กลับมุ่งมั่นทำงานเชิงรุกเพื่อเข้าไปทำอุตสากรรมประมงอย่างยั่งยืนด้วยโปรแกรมพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางทะเล ซึ่งมีทั้งโอกาสและอุปสรรคด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมปนๆ กันอยู่… แต่ NOAA ก็รวบรวมนักวิทยาศาสตร์ภายใต้การนำของ Dr. Francisco Werner ในฐานะ Director of Scientific Programs ของ NOAA Fisheries… โดยกำหนดพันธกิจกันชัดเจนว่าพวกเขาจะพัฒนาวิทยาการระบบนิเวศเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางทะเลอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Fisheries Ecosystems… ซึ่งโฟกัสวิทยาการสมัยใหม่ในอุตสาหกรรมเก่าแก่อย่างกระชังอาหารทะเล

เอกสาร Marine Cage Culture & The Environment จาก NOAA Fisheries มีข้อมูลหลายส่วนที่ชี้ชัดว่า… ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับประมงทางทะเล และ วิทยาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางทะเลของ NOAA Fisheries รวมกับผลงานตีพิมพ์จากการค้นคว้าวิจัยมากมาย ได้ยืนยันเป้าหมายอย่างชัดเจนว่า… NOAA Fisheries กำลังวางแผนร่วมกับเอกชนในทำฟาร์มอาหารทำเลในน่านน้ำสากลและมหาสมุทร หรือ Ocean Farm โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีชั้นสูงทั้งหุ่นยนต์ และ AI Technologies มาช่วยทำลายข้อจำกัดที่การดูแลกระชังในมหาสมุทร ซึ่งในอดีตถือว่าเป็นเรื่องยากในเชิงเทคนิคและการจัดการ

กรณีผู้ผลิตกระชังน้ำลึกชื่อ AquaPod จากบริษัท ​​Ocean Farm Technologies ถือเป็นหนึ่งในความเคลื่อนไหวของการนำเทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาในอุตสาหกรรมประมง และ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในทะเลหรือมหาสมุทร… ซึ่งความเคลื่อนไหวจากหลายประเทศที่มีน่านน้ำเป็นเขตแดน มีข้อมูลชี้ชัดว่า ประเทศอย่างนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย อินเดีย รวมทั้งชาติในตะวันออกกลางบางประเทศ ต่างก็ขยับเรื่อง Open Ocean Mariculture หรือ กระชังน้ำลึกในน่านน้ำเปิดหรือน่านน้ำสากลกันอย่างน่าสนใจ…

ท่านที่สนใจเทคโนโลยีในมหาสมุทรระดับ Literature Review ทักผมทางไลน์จาก QR Code ใต้บทความได้ครับ… ถึงจะไม่ได้ลงเรือประมงออกทะเลมานานแล้ว แต่ก็ยังสะสมข้อมูลน้ำเค็มไว้พอสมควร

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

archinaut fully deployed

Archinaut, Made In Space และ On-Orbit Construction

MIS เจ้าของเทคโนโลยี On-Orbit Construction ก็ได้ทดสอบ Extended Structure Additive Manufacturing Machine หรือ ESAMM ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติเพื่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ในสภาวะจำลอง ซึ่งชุดเทคโนโลยีการพิมพ์โครงสร้างสามมิติจากเครื่อง ESAMM ถือเป็นความสำเร็จแรกของการพิมพ์สามมิติขนาดยาว 37 เมตรภายใต้สภาวะแวดล้อมในอวกาศจนได้รับการบันทึกลง Guinness Book of World Record

ผังเมืองเขตเศรษฐกิจแม่สอดและโครงสร้างพื้นฐานที่ล่าช้า… ลดความร้อนแรงอสังหาริมทรัพย์ริมฝั่งเมยไปอีกพักใหญ่?

ไหนๆ ผมก็คลี่ East-West Economic Corridor ออกมาอวดเกือบหมดแล้ว ถ้าไม่พูดถึงเขตเศรษฐกิจแม่สอดไปเลย ข้อมูลก็จะไม่ครบซิครับ… เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา มีสื่อบางสำนักเข้าไปสัมภาษณ์คุณชวพันธ์ ชวเจริญพันธ์ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก เพื่อพูดคุยถึงภาพรวมการค้าการลงทุนในพื้นที่ โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจแม่สอด ที่สองสามปีก่อนหน้านี้มีความเคลื่อนไหวในฐานะเขตเศรษฐกิจพิเศษ

Wellness Economy… เศรษฐกิจเวลเนส

การกลับไปฟื้นฟูการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง และ สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยบริการเชิงสุขภาพ และ การแพทย์แบบต่างๆ ซึ่งประเทศไทยมีจุดแข็งด้านทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการแพทย์ และ สาธารณสุขที่ไม่เคยด้อยกว่าชาติใดในโลกมานาน… ทั้งการแพทย์สมัยใหม่ และ การแพทย์ทางเลือก รวมทั้งการมีวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ดีต่อสุขภาพจิต และ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน… การสร้างโมเดลเศรษฐกิจเวลเนส หรือ Wellness Economy Model สำหรับประเทศไทยจึงทำได้ทันที่แทบจะทุกพื้นที่ทั่วประเทศ…

Trimble MR

Mixed Reality for Construction Technology และ HoloLens

ปัญหาหนึ่งในวงการก่อสร้างคือการเคลียร์แบบระหว่างผู้รับเหมากับวิศวกรโครงการ รวมทั้งงานติดตั้งระบบต่างๆ ในอาคารตามแบบแปลนที่ส่วนใหญ่ จะมีผู้รับเหมาและช่างติดตั้งหลายชุดเข้ามาดำเนินการ โดยเฉพาะอาคารใหญ่ๆ หรือโรงงานที่งานระบบภายในซับซ้อน และมีแบบแปลนหลายชุด ที่วิศวกรโครงการจะปวดหัวในการบริหารตารางงาน สเปคงานและอะไรอีกมากมาย บ่อยครั้งที่งานติดตั้งต้องรื้อย้ายแก้ไขซ้ำซาก จนหลายโครงการล่าช้าและสิ้นเปลืองต้นทุนจนงบประมาณบานปลายกันบ่อยๆ… ที่ผ่านมาผู้รับเหมาและวิศวกรควบคุมโครงการจะใช้แบบแปลนสื่อสารกัน แต่ความผิดพลาดก็ไม่ได้ลดน้อยลงเท่าใดนัก กระทั่งมีการเปิดตัวอุปกรณ์ MR หรือ Mixed Reality นาม HoloLens จาก MicroSoft Hololens เป็นแว่นตาที่พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของ NASA