การแปรรูปสินค้าอาหารในระดับอุตสาหกรรม เพื่อให้กลายเป็นสินค้าที่ได้มาตรฐานและง่ายต่อการเข้าตลาดอย่างชัดเจนนั้น มีความยุ่งยากซับซ้อนในการดำเนินการตั้งแต่ขั้นวิจัยและพัฒนา ออกแบบสินค้าไปจนถึงขั้นตอนการผลิตที่หมายถึง ต้องใช้ทั้งเครื่องจักรและหรือแรงงานในขบวนการผลิตอีกมาก… ซึ่งการเริ่มต้นประกอบการโดยลงทุนทั้งหมดอย่างครบวงจร ต้องถือว่าไม่ง่ายและไม่ใช่ใครก็ทำได้
แต่การอยากเป็นเจ้าของสินค้าหรือแบรนด์สินค้า ก็ไม่ได้ยากขั้นต้องลงทุนตั้งโรงงานอีกต่อไปในปัจจุบัน เพราะทุกคนสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้โดยการจ้าง OEM หรือ Original Equipment Manufacturer หรือการจ้างผลิตโดยใช้ทรัพยากรและวัตถุดิบจากโรงงานผู้ผลิตที่มีอยู่
แต่วันนี้ขอสรุปแนวทางการจ้าง OEM สินค้าอาหารมาแบ่งปัน Properea Fan บางท่านที่ขอมาและได้แบ่งปันเอกสารบางส่วนที่ผมมีอยู่กับท่านไปแล้ว และเห็นว่าข้อมูลมาอย่างอาจจะเป็นประโยชน์กับท่านอื่นที่ไม่ได้ถามเข้ามาก็ได้… ไปดูด้วยกันเลยครับว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่ต้องใส่ใจ
1. ตรวจสอบใบอนุญาตผลิตอาหาร… โดย
– ตรวจสอบวันหมดอายุใบอนุญาต และ ตรวจสอบสถานะของสถานที่ผลิต
– ตรวจสอบขอบข่ายใบอนุญาต ว่าครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่ต้องการว่าจ้างผลิตหรือไม่
2. ตรวจสอบใบรับรองมาตรฐานด้านการผลิต และ มาตรฐานความปลอดภัย… ประกอบด้วย
– อย. หรือ เครื่องหมายและเลขที่กำกับอาหารหรือยา โดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
– GMP หรือ Good Manufacturing Practice
– มาตรฐาน ISO 9001 หรือ มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ หรือ Quality Management System
– มาตรฐาน ISO 22000 หรือ มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร หรือ Food Safety Management System
– มาตรฐาน FSSC 22000 หรือ มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร หรือ Safety Management Systems Certification
– BRC หรือ British Retail Consortium, Food Issue 8 ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยอาหารสากลที่กำหนดโดยสมาคมผู้ค้าปลีกแห่งสหราชอาณาจักร
– ใบรับรองออแกนิค หรือ Organic Standards
3. รางานผลวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการด้านอาหาร ที่ได้รับการรับรอง ISO 17025
เอกสารใน 3 กลุ่มหลักนี้ต้องขอดูจากฝ่าขายของโรงงานที่ท่านติดต่อขอ OEM ก่อนอื่น… ซึ่งถ้าเป็นเอกสารสำเนา ก็ต้องตรวจสอบจนแน่ใจว่าเป็นสำเนาจากต้นฉบับที่ข้อมูลตรงกันเปะๆ ก่อนอื่น
แล้วค่อยคุยกันต่อครับ!
References…