Nuclear Technology and Information Center… ศูนย์ข้อมูลพลังงานนิวเคลียร์แห่งเมียนมา

สำนักข่าว GNLM หรือ Global New Light Of Myanmar ได้รายงานการเปิดตัวโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของรัฐบาลเมียนมา โดย พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย หรือ Senior Gen. Min Aung Hlaing ผู้นำสูงสุดรัฐบาลทหารเมียนมา ได้พบกับ อเล็กเซ อีฟเจนีวิช ลิคาเชฟ หรือ Alexey Evgenievich Likhachev ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสามัญ หรือ General Director ของ Rosatom ซึ่งเป็นวิสาหกิจพลังงานปรมาณูแห่งรัฐของประเทศรัสเซีย ในวาระการเปิดศูนย์ข้อมูลพลังงานนิวเคลียร์ หรือ Nuclear Technology and Information Center อย่างเป็นทางการ… ซึ่งจะเป็นก้าวแรกของการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ในเมียนมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานที่กำลังเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ

รายงานข่าวระบุว่า… เจ้าหน้าที่ของทั้งสองประเทศได้พบปะกันที่ Nuclear Technology and Information Center ที่เพิ่งเปิดทำการในนครย่างกุ้ง เมื่อวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2023 ที่ผ่านมา… โดยการเปิดศูนย์ข้อมูลพลังงานนิวเคลียร์ หรือ Nuclear Technology and Information Center ของเมียนมา ภายใต้การถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก Rosatom เป็นไปตามข้อตกลงที่ลงนามเอาไว้ก่อนหน้า Rosatom ในช่วงเดือนกันยายน 2022 ระหว่างรัฐบาลทหาร และ วิสาหกิจพลังงานปรมาณูแห่งรัฐของรัสเซียอย่าง Rosatom  เพื่อร่วมกันศึกษาการสร้างเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็กในเมียนมาร์ 

รัฐบาลเมียนมาประกาศว่า… โครงการนี้เป็นโครงการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อวัตถุประสงค์ด้านพลเรือน… ในขณะที่ฝ่ายค้าน และ นักวิเคราะห์ทางทหารของเมียนมาร์แสดงความกังวลว่าเทคโนโลยีดังกล่าวอาจนำไปใช้ในทางทหารได้ เนื่องจากความขัดแย้งทางทหาร และ การต่อสู้ภายในประเทศที่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง และ การต่อต้านรัฐบาลทหารที่ยังคงกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของเมียนมา นับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2021

ในวาระเดียวกันนี้… Myo Thein Kyaw รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐบาลทหารเมียนมา และ Alexey Evgenievich Likhachev ของ Rosatom แห่งรัสเซีย ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลในด้านการใช้นิวเคลียร์ 14 ด้าน โดยรายละเอียดไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ แต่ โฆษกของ Rosatom บอกกับสื่อรัสเซียว่า… ทั้งสองฝ่ายจะทำงานร่วมกันเพื่อดำเนินโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมียนมาร์ตามข้อตกลงที่ลงนามไป

ความเคลื่อนไหวด้านนิวเคียร์ของเมียนมาร์ในวาระนี้ถูกจับตาจากหลายฝ่าย ซึ่ได้ติดตามประเด็นนิวเคียร์ในเมียนมาต่อเนื่องมาตั้งแต่การริเริ่มสมัย พลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย เรืองอำนาจ และ ได้เจรจากับรัสเซียเพื่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในปี 1999 แต่แผนดังกล่าวถูกยกเลิกในปี 2022 

แต่ความเคลื่อนไหวในปี 2008 ซึ่งรัฐบาลทหารเมียนมาได้ส่ง Thura Shwe Mann นายพลระดับสูงของกองทัพ เดินทางเยือนกรุงเปียงยางเพื่อสังเกตการณ์ศูนย์ปฏิบัติการทางทหาร และ ขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ… แต่ข่าวกรองเกิดรั่วไหลโดยนายทหารยศพลตรีแห่งกองทัพเมียนมา ชื่อ Sai Thein Win หรือ พล.ต.ไซ เต็ง วิน ได้แปรพักต์ และ ให้ข้อมูลการริเริ่มพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ในเมียนมาต่อสหประชาชาติ ซึ่งได้นำไปสู่การขยายสนธิสัญญาที่เมียนมาเคยลงนามไว้ในสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ปี 1992… โดยได้ลงนามในสนธิสัญญาห้ามทดสอบอาวุธนิวเคลียร์อย่างครอบคลุมในปี 2016 ซึ่งห้ามการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ด้วย และ ลงนามสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ในปี 2018 ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันทางกฎหมายที่ห้ามเกี่ยวข้องกับอาวุธนิวเคลียร์อย่างครอบคลุม

หลายฝ่ายที่จับตาความเคลื่อนไหวการข้องแวะกับนิวเคลียร์ของรัฐบาลทหารพม่าในเชิงพลังงาน และ วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี… จึงไม่สบายใจ และ ไม่มั่นใจในท่าทีของรัฐบาลเมียนมานัก เมื่อเมียนมามีทีท่าจะลงทุนในโครงการนิวเคลียร์ภายใต้การสนับสนุนจากรัสเซียจริง… แต่ฝ่ายค้านในเมียนมา รวมทั้งนักวิชาการด้านเมียนมาชื่อดังอย่าง Dr.Hla Kyaw Zaw กลับมองว่า… โครงการนี้ยังไม่มีอะไรน่ากังวล เพราะไม่ว่าจะมองมุมไหนก็พบว่าเป็นเพียงโฆษณาชวนเชื่อจากรัฐบาลทหารเท่านั้น ซึ่งฐานะทางเศรษฐกิจของเมียนมาในปัจจุบันไม่มีทางพร้อมจะลงทุนโครงการใหญ่ขนาดนี้ในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน

References.. 

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

NuScale

Small Modular Reactor… ปฏิกรณ์นิวเคลียร์ระดับโรงไฟฟ้าชุมชน

SMR หรือ Small Modular Reactor จะเป็นเตาปฏิกรณ์ที่ออกแบบให้มีขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 300 MWh ลงมา โดย SMRs หนึ่งระบบจะถูกออกแบบให้อยู่ในโมดูลเดียวกัน โดยมีความกว้างที่สามารถขนส่งทางถนนได้ ไม่ต่างจากเครื่องจักร์ขนาดใหญ่เครื่องหนึ่งเท่านั้นเอง…

Hydraulic Cement… ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม… คุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า… กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการมอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. เร่งกำหนดและแก้ไขมาตรฐานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับคอนกรีตและปูนซีเมนต์ โดยให้สามารถใช้ “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” เป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีตต่างๆ แทนการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์… ซึ่งการใช้ “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก หรือ Hydraulic Cement” เป็นหนึ่งในมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศในสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรม และ การใช้ผลิตภัณฑ์ หรือ Industrial Processes and Product Use หรือ IPPU… ด้วยการกำหนดให้ใช้วัสดุทดแทนปูนเม็ดในการผลิตปูนซีเมนต์ เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งจากขั้นตอนการเผาปูนเม็ด และ กลไกการแข็งตัวของผลึกซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะก๊าซเรือนกระจก

trading-background

Chart Patterns… พื้นฐานการวิเคราะห์ตีความจากทรงกราฟ

ศาสตร์ที่ว่าด้วยการอ่าน และ วิเคราะห์เส้นกราฟราคาสินทรัพย์ลงทุน จึงเป็นศาสตร์แขนงใหญ่มานานนับตั้งแต่เกิดตลาดทุนขึ้นบนโลก ถึงแม้ในทางเทคนิคจะเป็นเพียง “การทำนายด้วยข้อมูลย้อนหลัง” ซึ่งมีโอกาสทำนาย “ทิศทางของแนวโน้มหลัก” ได้ถูกต้อง 50% อยู่แล้ว… เพราะไม่ว่าจะอย่างไร ทิศทางราคาก็มีเพียง “ขึ้นกับลง” เท่านั้นที่เป็นไปได้ ส่วนจะขึ้นสูงถึงไหน หรือ ลงลึกไปเท่าไหร่… อันนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง

Kite Bricks… อิฐอัจฉริยะ!

ดูเหมือนว่านวัตกรรมที่มีคีย์เวิร์ดขึ้นต้นด้วย Smart นู่นนี่จะโผล่เข้ามาให้เห็นไม่ว่างเว้น… วันนี้ผมเลยจะเอาข้อมูล Smart Bricks หรืออิฐอัจฉริยะมาเล่าให้ทุกท่านทราบว่า… เดี๋ยวนี้เขาไปถึงอิฐอัจฉริยะกันแล้วครับ