โจทย์ยากที่สุดในการเดินทางขึ้นอวกาศคือการหนีแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งในปัจจุบันยังต้องพึ่งเทคโนโลยีจรวดขับดัน หรือ Rocket ที่ยังไม่ได้มีอะไรใหม่มากมายกว่าจรวดในยุคที่มนุษย์ประกาศการเหยียบดวงจันทร์เอาไว้เมื่อกว่า 50 ปีที่ผ่านมา… แต่การออกแบบระบบควบคุมจรวด และ เทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างจรวดในปัจจุบัน ก็ได้พัฒนามาถึงยุคที่สามารถควบคุมอัตโนมัติ และ ควบคุมทางไกลได้อย่างน่าเชื่อถือ แถมยังปลอดภัยมั่นใจได้ยิ่งกว่าเดิม ในขณะที่การสร้างจรวดด้วยเทคโนโลยีวัสดุที่ค้นพบใหม่ เช่น กรณีการใช้ Carbon Composite ที่ขึ้นรูปด้วย 3D Printer เพื่อผลิตจรวด Neutron ของ Rocket Lab ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาจรวดขนาดใหญ่ที่หลายฝ่ายเชื่อว่าจะเพิ่มการแข่งขัน และ การเติบโตของเศรษฐกิจอวกาศ หรือ Space Economies ไปอีกขั้น
Neutron เป็นจรวดขับดันเพื่อส่งสัมภาระขึ้นวงโคจรข้างฟ้าจนถึงระดับที่สัมภาระ หรือ ยานอวกาศที่บรรทุกไว้ ได้พ้นจากแรงโน้มถ่วงของโลก ก็จะแยกตัวกลับพื้นโลกมาจอดยังสถานีฐานเพื่อใช้ซ้ำเป็นจรวดมือสองได้ด้วย… Neutron มีความสูง 40 เมตร กว้าง 7 เมตร และ มีระวางบรรทุกแบบเปิดปิดกว้าง 5 เมตร… ใช้สีดำของ Carbon Fiber เป็นสีพื้นจึงดูเป็นจรวดทรงอ้วนดำเกือบเท่าตึกแถวหน้ากว้างสองยูนิตสูงสิบห้าชั้นทีเดียว
ส่วนเครื่องยนต์จรวด… Neutron ใช้เครื่องยนต์จรวดรุ่น Archimedes ใช้เชื้อเพลิง ออกซิเจนเหลว หรือ Liquid Oxygen หรือ LOX และ มีเทนเหลว หรือ Liquid Methane ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจากเครื่องยนต์จรวดรุ่น Rutherford ที่ใช้กับจรวด Electron หรือ Rocket Lab Electron ซึ่งเป็นจรวดเชิงพาณิชย์รุ่นก่อนหน้า
Neutron ติดตั้งจรวด Archimedes ในท่อนท้าย 7 เครื่องยนต์ และ ติดตั้งที่จรวดท่อนบนอีก 1 เครื่องยนต์ ซึ่งรองรับสัมภาระ หรือ Payload ขึ้นชั้นอวกาศระดับ LEO ได้ถึง 13,000 กิโลกรัม หรือ 13 ตัน และ น้ำหนักยกรวม 480,000 กิโลกรัม หรือ 480 ตัน…
ส่วนที่น่าสนใจที่สุดของ Neutron จาก Rocket Lab ก็คือ… จรวด Neutron รองรับการปล่อย ดาวเทียมขนาดเล็ก หรือ Nano Satellites แบบกลุ่มดาว… ซึ่ง Nano Satellites เป็นดาวเทียมที่ถูกใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานในชั้นบรรยากาศ โดยคาดกันว่า… ในอนาคตอันใกล้นี้จะมี Nano Satellites กว่า 70% ของดาวเทียมทั้งหมดที่จะถูกใช้งานอย่างแน่นอน
References…