Mortgage Crowdfunding… สินเชื่อบ้านจากมหาชน

ปรากฏการณ์ Digital Revolution ที่เริ่มส่งผลกระทบที่ชัดเจนต่อเราท่าน ซึ่งกูรูที่เข้าใจท่องแท้หลายสำนัก เห็นพ้องที่จะเรียกว่า “การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4”  และต่างก็เชื่อว่า นี่เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล ที่จะสร้างตำนานไว้ในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ เช่นเดียวกับการปฏิวัตอุตสาหกรรมช่วงปี 1760 หรือเมื่อเกือบ 300 ปีก่อน ที่แรงงานมนุษย์ถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรไอน้ำในอังกฤษ

และการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งถัดมาเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ช่วงปี ค.ศ. 1870… เป็นการเปลี่ยนแปลงจากพลังงานถ่านหินและไอน้ำ มาสู่การใช้พลังงานไฟฟ้า ก๊าซและน้ำมัน ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มสูงขึ้นและต้นทุนการผลิตลดลง

การปฏิวัติอุตสาหกรรมรอบที่ 3 เกิดขึ้นเพราะการมาถึงของพัฒนาการทางเซมิคอนดักเตอร์และคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยาวต่อเนื่องจนถึงปี 1970

และเรากำลังอยู่ในช่วงการปฏิวัตอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่กำลังเข้มข้น และพาเราออกจากความคุ้นชินเดิมๆ สู่ “ประสบการณ์ใหม่” ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลอยู่เบื้องหลัง

ผมจงใจเน้นคำว่าประสบการณ์ใหม่เพื่อย้ำว่า… จะมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย เข้ามาเติมประสบการณ์ที่ท้าทายเรา วันแล้ววันเล่า… จนเมื่อเราเงยหน้าขึ้นมาจากจอแบนๆ ในมือ

อารยธรรมดิจิตอลก็พาเราออกจากฝั่งอดีต… เข้าสู่น่านน้ำดิจิตอลไปแล้วครับ!

งานเขียนของผมหลายต่อหลายตอนพูดถึง Digital Disruption มากมายเพราะเหตุนี้… 

ช่วงนี้ผมหมกมุ่นค้นคว้าหลายเรื่องจนผมต้องใช้ Google Calendar บริหารเวลาในการจัดการตารางชีวิตในแต่ละวัน… หนึ่งในเรื่องที่ผมกำลังศึกษาอย่างจริงจังคือเรื่อง “สินเชื่อที่อยู่อาศัยในอนาคต”

แน่นอนว่าโมเดลสินเชื่อในอนาคตสำหรับสาวก Startup ระดับฮาร์ดคอร์ ย่อมโฟกัสเรื่อง FinTech หรือ Financial Technology

แต่วันนี้ผมจะเอา FinTech สายกู้ยืมมาแลกเปลี่ยนกับทุกท่านดูน๊ะครับ… ซึ่งในปัจจุบัน FinTech สายสินเชื่อได้เกิดขึ้นมากมาย แต่วันนี้ขอเอ่ยถึงเฉพาะกรณีของสินเชื่อแบบ Mortgage Crowdfunding พอให้เห็นภาพก่อน

Mortgage Crowdfunding เป็นสินเชื่อบ้านที่ “ผู้ให้กู้” หลายๆ ราย ยินดีปล่อยกู้ผ่าน Platform ที่เป็นคนกลาง โดย Platform จะถือกรรมสิทธิ์บ้านเอาไว้ และให้สิทธิการใช้ประโยชน์ในตัวบ้านแก่ “ผู้กู้” ที่ยื่นเงื่อนไขผลตอบแทนบน Platform  จนกลุ่มผู้ให้กู้หรือนักลงทุน ยินดีลงขันซื้อบ้านให้ผู้กู้เข้าทำประโยชน์… หากเงื่อนไขคือการเช่าซื้อ ระหว่างสัญญาที่ผู้กู้ผ่อนส่งเงินงวดตามสัญญา Platform จะทำหน้าที่ชำระเงินต้นและผลตอบแทนการลงทุนเช่น ดอกเบี้ย คืนแก่ผู้ให้กู้… เมื่อผู้กู้ผ่อนบ้านครบตามสัญญา คนกลางอย่าง Platform ก็จะโอนกรรมสิทธิ์บ้านให้ผู้กู้ตามสัญญาเช่นกัน… ซึ่ง Platform จะเป็นคนคอยดูแลผลประโยชน์ให้ทั้งสองฝ่าย… และหากเกิดเหตุการณ์ที่ต้องยกเลิกสัญญาเช่น ผู้กู้หยุดชำระค่างวด หรือเกิดเหตุแทรกซ้อนอื่น เช่นไฟไหม้ หรือน้ำท่วมจนมูลค่าบ้านลดลง… Platform จะเข้าไปดูแลผลประโยชน์ให้ทั้งสองฝ่ายเช่นกัน… คำถามคือ แล้ว Platform ได้อะไร?

… ได้ค่าสมาชิกและค่าธรรมเนียมผันแปรตามวงเงินครับ!

ประเด็นมีอยู่ว่า… ถ้าหากเบื้องหลังการกู้ยืมสำหรับเคสผ่อนบ้านซักหลัง ดูเหมือนรูปแบบสินเชื่อ จะไม่มีอะไรแตกต่างจากการทำธุรกิจของธนาคารในปัจจุบัน ที่ใครทำงานสินเชื่อบ้าน หรือทำงานธนาคารคงเข้าใจดีว่า ขั้นตอนการปล่อยสินเชื่อบ้านซักหลัง ก็มีขบวนการแบบเดียวกัน… เพียงแต่ เรื่องราวช่างยุ่งยากวุ่นวายกว่าจะจบแต่ละเคส!

FinTech สายสินเชื่อและกู้ยืมจึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและเชื่อถือได้ โดยเฉพาะเรื่องความถูกต้องแม่นยำ อย่าง Blockchain ที่มี Smart Contract ให้สามารถทำสัญญาดิจิตอลโดยไม่ต้องลงชื่อพยาน และยังเก็บสัญญาเป็น Hyperledger ไว้บน Blockchain ที่ไม่มีใครสามารถแก้ไขได้อีกด้วย…

นี่เป็นเพียงภาพคร่าวๆ เพียงหนึ่งภาพจากหนึ่งกรณีตัวอย่างเท่านั้นเองครับ… สำหรับเมืองไทยบ้านเรา… ข่าวร้ายคือยังไม่มีกฏหมายออกมารองรับการทำธุรกรรมโดยตรง แต่ก็เห็นมีหลายฝ่ายขยับเข้าหา Platform ทำนองนี้กันคึกคักทีเดียว…. แต่ข่าวดีก็มีครับ เพราะหลายฝ่ายกำลังผลักดันทั้งกฏหมายและพัฒนาระบบนิเวศน์ ให้ตามทันเทคโนโลยีทางการเงินแบบนี้…

ท่านที่สนใจผมแนะนำให้ติดตามเวบไซด์ thaifintech.org โดยสมาคมฟินเทคประเทศไทย ที่ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 120 รายซึ่งส่วนใหญ่เป็น Startup หน้าใหม่แต่ไฟแรงเข้ามาท้าทายธุรกิจการเงินการธนาคารแบบเดิมๆ จนหลายท่านน่าจะรู้สึกได้ว่า… สาขาธนาคารหลายแห่งหายไปจากสายตาท่านเรื่อยๆ แล้วใช่มั๊ยครับ…

ก็… ธนาคารกำลังถูก Disrupt หนักมาก!

อ้างอิง

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

ประมูลใหม่รอบที่ 5… เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอีสานมุกดาหาร–หนองคาย

ช่วงต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา… ท่านปลัดสุทธิพงษ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ออกหนังสือเวียนถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศให้เร่งดำเนินการตามประกาศสรรหาผู้ลงทุนพัฒนาที่ดินราชพัสดุรอบใหม่… โดยเฉพาะ จังหวัดหนองคาย และ จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งกรมธนารักษ์เคยหารือกับกระทรวงมหาดไทยเพื่อเสนอให้นำพื้นที่ไปใช้พัฒนาอย่างอื่นของส่วนราชการแทน

breakout trading

The Anatomy of Trading Breakouts… กายวิภาคของการเทรดฝ่าวงล้อม

Breakouts ในเชิงของการวิเคราะห์หลักทรัพย์จึงใช้อธิบาย “พฤติกรรมราคาในการฝ่าวงล้อม” ไม่ว่าจะฝ่าเพิ่มขึ้น หรือ ทะลุแนวต้าน หรือ Resistance Breakout… และไม่ว่าจะฝ่าลดลง หรือ ทะลุแนวรับ หรือ หลุดแนวรับ หรือ Support Breakout… ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ราคาสินทรัพย์ได้สะท้อนแนวโน้มว่าจะไปทางไหน

ขอนแก่น Global City… วิสัยทัศน์สู่เมืองสำคัญระดับโลก

ผมมีเอกสารเผยแพร่ของ “กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดขอนแก่น” ที่ท่านผู้ว่าสมศักดิ์ จังตระกูลลงนามไว้ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 เรื่อง “การขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดขอนแก่น สู่เมืองแห่งการแสวงหาโอกาส เพื่อก้าวสู่เมืองสำคัญของโลก (Global City)” หรือที่เรียกกันภายในว่า “แผนแม่บทการพัฒนาเมืองขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ 2029”

CBDC Payment

BOT Retail CBDC… บาทดิจิตอลก่อนการใช้จริงในวงกว้าง

โครงการอินทนนท์ หรือ Inthanon Blockchain หรือ โครงการพัฒนาเงินบาทดิจิทัล ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม Cryptocurrency แบบ CBDC หรือ Central Bank Digital Currency ซึ่งธนาคารกลางของสกุลเงินประจำชาติของทุกประเทศทั่วโลกต่างก็มีโครงการ CBDC ที่น่าจะเห็นการนำสู่ระบบเศรษฐกิจในวงกว้างอย่างชัดเจนในอีกไม่นานนี้… ซึ่งก็มีกรณีนำร่องที่โด่งดังอย่างดิจิทัลหยวนของจีนที่กำลังเป็นที่จับตา เริ่มทดลองใช้งานในวงจำกัดไปแล้ว