Money Flow Index…

MFI

ในตลาดสินทรัพย์ลงทุนทั้งหุ้น น้ำมัน คริปโต สินแร่และสินค้าโภคภัณฑ์มากมาย ที่มีการถ่ายเทเงินลงทุนจากนักลงทุนไปให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยนักลงทุนเองยังสามารถสร้างสมดุลให้พอร์ตลงทุนได้ ด้วยการซื้อขายสินทรัพย์ลงทุนระหว่างกัน จนกลายเป็นชีพจรหนึ่งในระบบเศรษฐกิจ

คำถามสำคัญของการลงทุนในตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ลงทุนคือ… ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ราคาสินทรัพย์ลงทุนเหล่านั้นมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงขึ้นลง ซึ่งนักลงทุนทุกคนคงตอบเหมือนกันหมดว่า… Demand และ Supply ซึ่งสามารถติดตามได้ไม่ยากเพียงตามดู “กระแสเงิน หรือ Money Flow” ทั้งของฝั่ง Demand และ ของฝั่ง Supply เท่านั้นเอง

Gene Quong และ Avrum Soudack จึงนำ Relative Strength Index หรือ RSI ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคยอดนิยมที่นักลงทุนทั่วโลกใช้ตรวจสอบภาวะ Demand/Supply หรือ ตรวจสอบแรงซื้อ/แรงขายนั่นเอง มาเติมข้อมูลปริมาณการซื้อขาย หรือ Volume มาใส่ในสูตรดัชนีของพวกเขาจนกลายเป็น  Volume Weighted RSI ซึ่งสะท้อนกระแสเงิน หรือ Money Flow ได้แม่นยำขึ้นจนเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ว่า Money Flow Index

Money Flow Index จึงเป็นเครื่องมือตรวจสอบแรงซื้อ/แรงขาย “เพื่อหาจุดกลับตัวของราคา” สินทรัพย์ลงทุนได้อย่างน่าสนใจอีกตัวหนึ่ง และมีนักลงทุนไม่น้อยที่นิยมใช้ดัชนี MFI หรือ Money Flow Index ในการติดตามภาวะตลาด

การใช้ดัชนี MFI หรือ Money Flow Index จะอ่านค่าไม่ต่างจากการอ่านค่าดัชนี RSI ซึ่งใช้พิจารณาภาวะ Overbought หรือ ซื้อมากเกินไป และ ภาวะ Oversold หรือ ขายมากเกินไป… โดยค่าดัชนี “ต่ำกว่า 20 หมายถึง Oversold” และดัชนี “สูงกว่า 80 หมายถึง Overbought” 

แต่การใช้งานในทางเทคนิค… นักวิเคราะห์จะไม่ใช้ดัชนี MFI เพียงดูแค่ต่ำกว่า 20 หรือสูงกว่า 80 เท่านั้น เพราะไม่ว่าจะอย่างไรก็จำเป็นต้องตรวจสอบกับ Volume หรือ ปริมาณการซื้อขาย และ ดัชนีราคา หรือ Index ในช่วงเวลาเดียวกันด้วยว่า… เป็นแนวโน้มเดียวกันหรือขัดแย้งกัน หรือ ที่นักวิเคราะห์เรียกว่า Convergence/Divergence กันหรือไม่นั่นเอง… ซึ่งนักลงทุนจะมองหา Divergence หรือ แนวโน้มขัดแย้งกันของดัชนีราคา กับ ปริมาณการซื้อขาย และ ดัชนีที่ใช้ติดตาม Demand/Supply ที่ใช้อยู่เสมอ

Money Flow Index บนโปรแกรม Metatrader 5

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

สถานการณ์ค่าเงินบาท… อืมมมส์

นับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายปี 2018 เป็นต้นมา สถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักของโลก ก็พาเรากลับมาเห็นอัตราแลกเปลี่ยนระดับ 30 บาทเศษต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้… หากเราดูตัวเลขย้อนหลังช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ช่วงที่อ่อนค่าที่สุดคือเดือนตุลาคม 2558 ค่าเงินบาทอยู่ที่ 36.42 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เคลื่อนไหวไม่ต่ำกว่า 35 บาท จนเดือนมีนาคม 2560 ค่าเงินเริ่มแข็งค่ามาอยู่ที่ 34.00 บาทต่อดอลาร์สหรัฐ และแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันเดือนกันยายน

Writing in the Sciences… เขียนงานทางวิทยาศาสตร์อย่างไรให้โดน จาก Stanford University

Writing in the Sciences ทำขึ้นเพื่อสอนนักวิทยาศาสตร์ให้มีทักษะการเขียนที่ทรงประสิทธิภาพ โดยได้นำเสนอตัวอย่างและแบบฝึกหัดจากประสบการณ์จริงในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพมาสอน โดยเนื้อหาในคอร์สครอบคลุมการเขียนรายงานการวิจัย และ การเขียนบทความทางวิชาการเผยแพร่ โดยเนื้อหาครอบคลุมหลักการเขียนที่ดี… เทคนิคในการเขียนเร็วขึ้นและมีความวิตกกังวลน้อยลง… รูปแบบของต้นฉบับงานเขียนทางวิทยาศาสตร์เพื่อส่งตีพิมพ์ หรือ Scientific Manuscript… Peer Review… Grant Writing หรือ เขียนขอทุน… Ethical Issues หรือ ประเด็นด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความทางวิทยาศาสตร์… รวมทั้งการเขียนเพื่อให้ผู้อ่านที่ไม่ได้มีพื้นฐานทางวิทยาการเฉพาะทางอ่านรู้เรื่องด้วย

รายงานการส่งออกข้าวไทย 10 เดือนแรก ปี 2022

วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565… คุณอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยว่า… การส่งออกข้าวไทยช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม มีปริมาณเพิ่มขึ้น 33 % และ มูลค่าเพิ่มขึ้น 32.4 % เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน… ในขณะที่การส่งออกเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 มีปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 24.7 % และ 20.5 % ตามลำดับ… รวมทั้งมีการส่งออกข้าวขาวมากถึงกว่า 4 แสนตัน  หรือ คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น 44% ส่วนใหญ่ส่งไป อิรัก จีน ญี่ปุ่น แองโกล่า โมซัมบิก แคเมอรูน และ มีการส่งออกข้าวนึ่งเพิ่มขึ้น 21% โดยเป็นการส่งไปตลาดหลักในแอฟริกา เช่น เบนิน แอฟริกาใต้ บังคลาเทศ เยเมน แคเมอรูน และ ไนเจอร์ 

Financial

Cash Buffer Days… ธุรกิจจะยืนต่อได้อีกกี่วัน?

วิกฤตที่พวกเราเจอร่วมกันมากับคนทั้งโลก และผลกระทบจากวิกฤตที่เราร่วมกันเผชิญพร้อมกับคนทั้งโลก… เป็นวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรน่า ที่เหมือนจะไม่มีอะไรเมื่อเริ่มต้น แต่ก็กลายเป็นปัญหาคาดไม่ถึงมากมายจนกระทบทุกคน