Mixed-use… โอกาสและความเสี่ยง

โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบ Mixed-use เป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน ที่ต้องอยู่กับ VUCA World ที่ความผันผวนไม่แน่นอนกลายเป็น New Normal ที่ต้องหาทางรับมือกับความเสี่ยงจากการพึ่งพาการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบใดรูปหนึ่ง ที่มีโมเดลรายได้ไม่กี่แบบ… ไปสู่การใช้ประสิทธิภาพสูงสุดของสินทรัพย์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

ข้อมูลจากบทวิเคราะห์เรื่อง “โครงการมิกซ์ยูส โอกาสและความเสี่ยงสำคัญของอสังหาฯ ให้เช่าพาณิชย์ในอนาคต” โดยคุณภัทรพล ยุทธศักดิ์นุกูล นักวิเคราะห์จาก Economic Intelligence Center ของธนาคารไทยพาณิชย์ชี้ว่า…

โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบ Mixed-use ในกรุงเทพมหานคร มีแนวโน้มเปิดตัวโครงการมากขึ้นกว่าในอดีต ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะอุปทานส่วนเกินในตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในส่วนของธุรกิจพาณิชย์ให้เช่า… โดยในอีก 3 ปีข้างหน้า คาดว่าจะมีพื้นที่โครงการ Mixed-use ในส่วนที่เป็นพื้นที่พาณิชย์ให้เช่ารวมกัน 900,000 ตารางเมตร หรือ ประมาณ 40% ของอุปทานใหม่ในช่วงเดียวกัน โดยเฉพาะพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ หรือ CBD ซึ่งมีอุปทานอสังหาริมทรัพย์เดิมที่มีรูปแบบคล้ายคลึงและกระจุกตัวอยู่มาก นำไปสู่แนวโน้มการแข่งขันในตลาดที่จะรุนแรงมากขึ้น

การพัฒนาโครงการ Mixed-use จำนวนมาก ไม่เพียงแต่จะต้องแข่งขันกันเองเท่านั้น แต่ยังเป็นความท้าทายสำคัญต่อโครงการที่มีรูปแบบการใช้งานเพียงแบบเดียว หรือ Single use เช่น อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า และโรงแรม ที่อยู่รอบข้างโครงการมิกซ์ยูสที่อาจได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ ผู้พัฒนาโครงการ Single use จึงอาจต้องปรับลดราคา/ค่าเช่าลง ชะลอการเปิดตัวโครงการ หรือปรับปรุงพื้นที่โครงการเพื่อดึงดูดผู้เช่าหรือผู้ใช้บริการเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้

ผมแนบลิงค์รายงานฉบับเต็มเอาไว้ใต้อ้างอิงเช่นเดิมครับ… สำหรับท่านที่ต้องการใช้ข้อมูลจริงจัง

แต่ที่ผมจะบอกก็คือ โมเดลอสังหาริมทรัพย์แบบ Single Use ในพื้นที่ CBD น่าจะเหนื่อยอีกนานเมื่ออุปทานจากโครงการ Mixed-use หลายๆ โครงการแล้วเสร็จที่ต้องมองยาวไปอีก 3-5 ปีข้างหน้า ที่หลายฝ่ายเชื่อว่า กรุงเทพมหานครและประเทศไทยก่อนปี 2020 จะกลายเป็นเรื่องเล่าที่คนในอีกห้าปีข้างหน้า จะถกเถียงกันเรื่องโอกาสที่ตัวเองมองไม่เห็นมาก่อน ในขณะที่คนอื่นกลับเห็นและได้เป็นเจ้าของความสำเร็จจากโอกาสนั้น

วงการอสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนแปลงน้อยมากในช่วงที่ผ่านมา… เหมือนๆ กับที่วงการยานยนต์ก็เปลี่ยนแปลงน้อยมากในช่วงที่ผ่านมา… เหมือนๆ กับที่วงการแพทย์และสาธารณสุขก็เปลี่ยนแปลงน้อยมากในช่วงที่ผ่านมา… รวมทั้งอีกมากมายหลายวงการและอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงน้อยมากในช่วงเวลาก่อนหน้า…

แต่ทั้งหมดมีแนวโน้มชี้ชัดที่จะก้าวกระโดดไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมากในยุคสมัยและช่วงชีวิตของพวกเรา… คำถามคือ วันนี้ท่านเปลี่ยนอะไรไปแล้วบ้าง?

อ้างอิง

SCBEIC

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Oprah Winfrey

I Will Forever Believe That Buying A Home Is A Great Investment – Oprah Gail Winfrey

คำคมที่ดีที่สุดของ Oprah Winfrey ไม่ได้เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือแม้แต่บ้าน แต่เป็นประโยคที่บอกว่า… Turn your wounds into wisdom. …จงเปลี่ยนรอยแผลเป็นปัญญา

รายงานการส่งออกข้าวไทย 10 เดือนแรก ปี 2022

วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565… คุณอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยว่า… การส่งออกข้าวไทยช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม มีปริมาณเพิ่มขึ้น 33 % และ มูลค่าเพิ่มขึ้น 32.4 % เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน… ในขณะที่การส่งออกเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 มีปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 24.7 % และ 20.5 % ตามลำดับ… รวมทั้งมีการส่งออกข้าวขาวมากถึงกว่า 4 แสนตัน  หรือ คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น 44% ส่วนใหญ่ส่งไป อิรัก จีน ญี่ปุ่น แองโกล่า โมซัมบิก แคเมอรูน และ มีการส่งออกข้าวนึ่งเพิ่มขึ้น 21% โดยเป็นการส่งไปตลาดหลักในแอฟริกา เช่น เบนิน แอฟริกาใต้ บังคลาเทศ เยเมน แคเมอรูน และ ไนเจอร์ 

Atari

Atari Token…

การเปิด IEO หรือ Initial Exchange Offering ของค่ายเกมส์เก่าแก่อย่าง Atari หรือ อาตาริ ในรอบ Public Sale ซึ่งเริ่มขึ้นในเวลา 12.00 UTC วันที่ 29 ตุลาคม ปี 2020 บนแพลตฟอร์ม Bitcoin.com Exchange ซึ่งเป็น Token แรกที่ Bitcoin.com ทำ IEO เป็นปฐมฤกษ์ของการเปิดตัวฟังก์ชั่น IEO ของ Bitcoin.com Exchange Platform โดยแบ่ง Soft Cap ขายเป็นคริปโตหลายสกุลทั้ง BTC, USDT, BCH, LTC และ ETH และมาพร้อม Atari White Paper ที่สมบูรณ์แบบจนต้องเก็บไว้เป็นตัวอย่างและเอกสารอ้างอิง

Oil pump

สงครามราคาน้ำมัน… สงครามเปลี่ยนดุลอำนาจโลก

เรื่องที่สำคัญกว่าการแย่งชิงและฉวยโอกาสในวิกฤติ COVID-19 ที่ไม่ได้มีเพียงแต่นักฉวยโอกาสค้ากำไรเกินพอดีอย่างน่าละอายกับหน้ากากอนามัยหรือเจลล้างมือเท่านั้น ที่ติดเชื้อ COVID-19 จนขาดยางอาย… พ่อค้าน้ำมันรายใหญ่ก็ติดเชื้อ COVID-19 ได้น่ารังเกียจกับการฉวยโอกาสชิงไหวชิงพริบกันในห้วงเวลาสำคัญที่ควรจะช่วยกันแก้ปัญหาสุขอนามัย… คนเหล่านี้กลับห่วงรายได้จนสุดท้ายกรรมตามทันจนต้องแข่งกันขาดทุนเพื่อให้คู่แข่งย่อยยับ… ก็ สาธุขอให้ติดเชื้อ COVID-19 แบบนี้ไปนานๆ