เทคโนโลยีบล็อกเชนได้รับความเชื่อถือและการยอมรับอย่างแท้จริงว่าโปร่งใส ตรวจสอบได้ เข้าถึงง่าย และ ปลอดภัยสูงเพราะเป็นข้อมูลที่อ่านค่าได้ทางเดียวสำหรับข้อมูลที่บันทึกไปแล้ว แก้ไขไม่ได้ เขียนทับไม่ได้ นอกจากจะบันทึกข้อมูลรายการใหม่ลงบล็อกเชนเหมือนรายการเดินบัญชีกับธนาคาร โดยสิทธิ์ในการเดินบัญชีของบล็อกเชนก็ไม่ได้ต่างจากสิทธิ์ในการเดินบัญชีธนาคารที่แยกแยะสิทธิ์ด้วยหมายเลขบัญชี… เพียงแต่หมายเลขบัญชีในแบบของบล็อกเชนมีการเข้ารหัสชั้นสูงเอาไว้
แต่ปัญหาใหญ่ของบล็อกเชนในยุคเริ่มต้นต้องใช้ทรัพยากรการประมวลผลที่ใหญ่โต ทั้งคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง พื้นที่เก็บข้อมูลบล็อกขนาดใหญ่ และ นำมาซึ่งการสิ้นเปลืองพลังงานจนกลายเป็นปัญหา… แต่อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมยุค WEB 3.0 จำเป็นต้องใช้บล็อกเชนเป็นฐานข้อมูลหลักในการประมวลผลธุรกรรมที่ต้องการความปลอดภัยสูง และ โปร่งใสตรวจสอบได้… การพัฒนาบล็อกเชนยุคใหม่จึงถูกบังคับให้หาทางเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น แต่ต้นทุนการจัดการต้องถูกลง ใช้งานต้องง่ายขึ้น และ ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม… ซึ่งก็มีแนวคิด Lightweight Blockchain อย่าง Mina Protocol ที่สามารถแก้โจทย์เป้าหมายใหม่ของเทคโนโลยีบล็อกเชนได้เกือบทั้งหมดที่กล่าวมา… ได้รับความสนใจอย่างรวดเร็ว
Mina Protocol ก่อตั้งขึ้นในช่วงกลางปี 2017 และ เป็นบล็อกเชน Layer 1 ที่ครบเครื่องในการเป็นเครือข่ายแบบกระจายศูนย์กลาง หรือ Decentralized… มีศักยภาพในการปรับขนาด หรือ Scalability… สามารถบันทึกบล็อกด้วยความเร็วสูง และ ปลอดภัยเชื่อถือได้ด้วยฉันทามติแบบ Proof-of-Stake … โดยมีแพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนา zkApp ซึ่งเป็น dApp บนเทคโนโลยี Zero Knowledge Proofs ซึ่งออกแบบไว้ให้นักพัฒนา และ Users สามารถใช้งาน Mina Protocol ได้ง่ายขึ้น… รวมทั้งการเป็น Validator Node แบบ Peer-to-Peer ซึ่งได้ทำให้กลไกฉันทามติแบบ Proof-of-Stake มีความโดเเด่นเทียบเท่า หรือ เหนือกว่าฉันทามติแบบ Proof-of-Work ของ Bitcoin ทีเดียว
ยังไม่หมดแค่นั้น… ความโดดเด่นของ Mina Protocol ที่พัฒนาด้วยอัลกอริทึม Zero Knowledge Proofs ซึ่งเป็นแบบเรียกใช้ซ้ำได้ไม่จำกัด… ได้ทำให้ Mina Protocol ต้องการพื้นจัดเก็บข้อมูลบล็อกเชนน้อยนิดเพียง 22 KB แบบคงที่ ถึงแม้จะข้อมูลบล็อกเชนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แค่ไหนก็ตาม… Mina Protocol จึงได้ชื่อว่าเป็น Lightweight Blockchain หรือ บล็อกเชนเบาที่สุดในโลก
Mina Protocol หรือชื่อเดิม Coda Blockchain นอกจะเป็นบล็อกเชน Smart Contact แบบ Layer 1 ที่โดดเด่นเรื่องเบากว่า เร็วกว่า และ รัน dApps ได้ราบรื่นกว่าแล้ว… Mina Protocol ยังมี Cross Chain Bridge ระหว่าง Mina กับ Ethereum ให้ใช้ด้วย… การพัฒนา dApp แบบข้ามเชนอันเป็นมาตรฐาน FinTech และ NFTs Ecosystem บน Mina Protocol จึงโดดเด่นอย่างมาก
Mina Protocol ใช้เหรียญ MINA เป็นเหรียญอเนกประสงค์ประจำแพลตฟอร์ม… ข้อมูลจาก CoinMarketCap.com ช่วงค่ำของวันที่ 31 ตุลาคม 2022 มีราคาอยู่ที่ 0.7039 USD/MINA โดยมีขนาด Market Capital อยู่ที่ 510.83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ… เป็นเหรียญที่ไต่อันดับขึ้นมาอยู่ในกลุ่ม Top 100 Market Capital เร็วมากอีกเหรียญหนึ่ง
References…