แนวโน้มรับเหมางานระบบ Mechanical & Electrical 2020

Electrical Contractors

ช่วงนี้เพื่อนๆ สายรับเหมาเชคข่าวค้นข้อมูลกันถี่ยิบ… ข้อมูลจากระบบหลังบ้านของ Properea พบการ Search ข้อมูลในหลายมิติ ในขณะที่มิตรสหายในวงการก่อสร้างหลายท่าน ก็หารือส่วนตัวเรื่องการเลือกเทคโนโลยีก่อสร้างและเครื่องจักร ในขณะที่บางท่านหารือเข้ามาเรื่องกลยุทธ์การปรับตัว เพื่อตามหาความคิดเห็นจากหลายๆ ทางในห้วงเวลาที่วิกฤตไวรัสโคโรน่าคราวนี้… ยังไม่มีใครบอกได้ว่าจะถึงจุดต่ำสุดที่ไหนและเมื่อไหร่… และจะฝื้นตัวแบบ U Shape หรือ V Shape… หรือดำดิ่งไปอยู่ก้นเหวแบบ L Shape ที่หลายฝ่ายภาวนาว่าขออย่าได้เจอ

บางส่วนของความเห็นจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลและกลยุทธ์กับหลายๆ ท่านในแวดวงการก่อสร้าง และนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตลอดสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา… ต้องเรียนว่าหลายความเห็นที่ผมได้ยินจากหลายๆ ท่าน เปิดหูเปิดตาผมมากทีเดียว… กรณีการรักษาสภาพคล่อง โดยการดึงวงเงินเครดิตที่มี มาแปลงเป็นเงินสดถือไว้ก่อน แม้จะต้องจ่ายดอกเบี้ย แต่ความไม่แน่นอนหลายอย่างจากเหตุที่คาดไม่ถึง ที่นโยบายการเงินการคลังอาจจะปรับเปลี่ยนในขณะที่ธุรกิจต้องการสภาพคล่อง แต่วงเงินเครดิตอาจจะไม่เหลือเพราะธนาคารปรับวงเงินและเงื่อนไขไปแล้ว… ก็ถือเป็นกลยุทธ์การฝ่าวิกฤต ที่ผู้รับเหมาและธุรกิจอื่นๆ ต้องประเมินความต้องการสภาพคล่องใน Scenario ต่างๆ อย่างน้อย 3-6 เดือนนับจากนี้ให้ดี

หลายท่านที่ผมได้พูดคุยด้วยยืนยันว่า… สภาพคล่องหรือกระแสเงินสดเท่านั้นที่จะพาธุรกิจผ่านภาวะถดถอยถึงช่วงฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด ให้ฟื้นตัวแบบ V Shape หรือ U Shape ได้ง่ายกว่าเมื่อเศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว… กระแสเงินสดในวันที่กำลังจะฟื้นตัวในมือเท่านั้น จึงจะคว้าโอกาสได้อย่างแท้จริง… คำแนะนำคือ ถ้าท่านสามารถสะสมเงินสดไว้ได้ เตรียมไว้ให้พร้อมไม่ว่าจะได้มาจากทางไหน และให้ได้มากพอที่จะทำกำไรช่วงขาขึ้นที่ยังไงก็เกิดขึ้นแน่ๆ เพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจรอบนี้… ผมเลือกเชื่อแนวคิดที่ประเมินว่าสภาพคล่องจะเพิ่มขึ้นมากมายหลังวิกฤต… 

การพูดคุยกับหลายๆ ท่านในแวดวงการก่อสร้างและพัฒนาอสังหริมทรัพย์ ทำให้ผมมีการบ้านต้องกลับมาค้นข้อมูลแลกคืนกับมิตรสหายเช่นกัน… และผมก็โชคดีที่ SCB EIC หรือศูนย์ความเป็นเลิศด้านเศรษฐกิจธนาคารไทยพาณิชย์ ได้เผยแพร่รายงานทางเศรษฐกิจประเด็นภาวะและแนวโน้มตลาดรับเหมางานระบบ ที่เกี่ยวข้องกับผู้รับเหมา M&E หรือ Mechanical & Electrical พอดี

ผู้รับเหมางานระบบหรืองาน M&E หรือ Mechanical & Electrical หลักๆ ก็จะมีงานระบบไฟฟ้า งานระบบประปาและสุขาภิบาล งานระบบปรับอากาศ รวมทั้งงานติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ในโรงงานด้วย… ซึ่งมูลค่างาน M&E จะอยู่ที่ประมาณ 12-15% ของมูลค่าก่อสร้างรวมโดยประมาณ

SCBEIC ให้ตัวเลขมูลค่าตลาดของปี 2019 จะเติบโตราว 8% จากปีก่อน หรือ YoY หรือ Year on Year อยู่ที่ 1.85 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องที่ 4% CAGR หรือเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยตลอดช่วงปี 2020-2022 ที่ 4% ทบต้นตลอดทุกช่วงปีเมื่อเทียบกับปี 2019 โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการเติบโตของโครงการก่อสร้างภาคเอกชนและโครงการก่อสร้างภาครัฐ 

ประเด็นก็คือ รายงานฉบับนี้น่าจะทำข้อมูลช่วงปลายปี 2019 ที่ยังคาดการณ์ตัวเลขภาวะงานก่อสร้างภาคเอกชนยังอยู่ในภาวะปกติ… ซึ่งงานระบบ M&E ใน “โครงการก่อสร้างภาคเอกชน” มีสัดส่วนประมาณ 75-80% ของมูลค่าตลาดรวมหรือประเมินว่ามีมูลค่าราว 1.4 แสนล้านบาทในปี 2019 และคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวราว 5% CAGR… โดยมีงานระบบ M&E ใน “โครงการก่อสร้างภาครัฐ” สัดส่วน 20-25% ของมูลค่าตลาดรวมหรือประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท ในปี 2019 แต่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีกว่างานของภาคเอกชน โดยมีอัตราการเติบโตราว 6% CAGR โครงการเมกะโปรเจกต์ เช่น สนามบิน ท่าเรือ และ สถานีรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ที่จะมีการลงทุนอีกกว่าปีละ 2-4 แสนล้านบาทตลอดช่วงปี 2020-2022

Mechanical and Electrical Contractors

แต่ในสถานการณ์วิกฤต COVID-19 ที่กำลังเผชิญอยู่นี้… ผู้รับเหมาที่ยังอยู่ในสัญญาก่อสร้างอาจจะยังไม่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งแผนรับรู้รายได้ ตลอดสัญญาก่อสร้าง สำหรับโครงการที่ไม่ขาดสภาพคล่อง… แต่หลายโครงการที่มีการชะลอการก่อสร้างออกไปก่อน หรือแม้แต่หยุดก่อสร้างในโครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่หลายฝ่ายรับรู้ตรงกันว่า อนาคตนับจากนี้คือช่วงยากลำบากของธุรกิจจัดสรรและก่อสร้างที่อยู่อาศัย… ซึ่งผู้รับเหมางานระบบ มักจะได้รับผลกระทบก่อนผู้รับเหมาหลักเสมอ

ผมแนบรายงานการวิจัยฉบับเต็มไว้ใต้อ้างอิงครับ… มิตรสหายสายรับเหมาและ M&E ลองแคะตัวเลขจากงานวิจัยไปเทียบในบริบทของท่านดูด้วย Scenario ต่างๆ ก่อนครับ… ปรับตัวและเตรียมตัวนั้นเป็นของแน่… ส่วนแค่ไหนและอย่างไร เพื่อฟื้นคืนพร้อมแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคให้ได้… ทุกท่านคงมีการบ้านไม่น้อยเลย

ขออวยพรให้ทุกท่านผ่านช่วงยากลำบากนี้ไปพร้อมๆ กับโอกาสอันงดงามระดับตำนาน!

อ้างอิง

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

SLO-MO 2020

SLO-MO แนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยว 2020

เทศกาลปีใหม่เป็นช่วงเดินทางท่องเที่ยวที่คึกคักที่สุดของไทยและผู้คนส่วนใหญ่ทั้งโลก… ยิ่งปีนี้เป็นปีที่ค่าเงินบาทของไทยแข็งโป๊กไม่ว่าจะเทียบกับเงินสกุลไหน ทำให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศกันคึกคัก… ในขณะที่คนส่วนใหญ่ก็ยังเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ผสมกับการเดินทางเยี่ยมเยียน ที่นักเดินทางส่วนหนึ่งเลือกแวะระหว่างทาง เพื่อสัมผัสประสบการณ์ของแถม หรือไม่ก็เลี่ยงการจราจรหนาแน่นในบางช่วงบางตอนและจังหว่ะเวลา… ซึ่งพฤติกรรมการเดินทางแบบนี้เข้าข่ายแนวโน้มการเดินทางใหม่ที่ชื่อว่า Slo-Mo หรือ Slow-Mo Travel หรือ Slow Of Missing Out Travel

Starlink… สัญญาณอินเตอร์เน็ตจากฟากฟ้า

ผมเป็นแฟนพันธ์แท้ Elon Musk ที่เกาะติดผลงานของเขาตลอดหลายปีมานี้… สิ่งหนึ่งที่ดึงความสนใจของผมสุดๆ สำหรับความเป็น Elon Musk ก็คือวิสัยทัศน์ที่ไม่ธรรมดาในทุกๆ เรื่อง

รายงานการท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น 278% ในปี 2022

รายงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของไทยส่งท้ายปี 2022 จากหลายแหล่งที่มาล้วนเป็นบวก และ เป็นความหวังในการฟื้นเศรษฐกิจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยเที่ยวไทย ที่กลับมาคึกคักอีกครั้งช่วงท้ายปี โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดปีนี้ จะมีคนไทยเที่ยวในประเทศ 150.8 ล้านคน–ครั้ง ขณะที่รายได้ท่องเที่ยวน่าจะอยู่ที่ประมาณ 6.3 แสนล้านบาท… ซึ่งข้อมูลในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2022 คนไทยเดินทางท่องเที่ยวเติบโต 278.2% หรือ มีจำนวน 118.9 ล้านคน–ครั้ง และคาดว่าในช่วงที่เหลือของปี ซึ่งเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวของคนไทย น่าจะมีความคึกคักมากขึ้น

แอปเงินเด็ก… จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จะดำเนินการตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โดยมารดา ผู้ปกครอง หรือ ผู้ยื่นขอรับเงินอุดหนุนจะได้รับเงินอุดหนุนในอัตรา 600 บาทต่อคนต่อเดือน จนทารกมีอายุครบ 6 ปี… เพื่อสร้างระบบคุ้มครองทางสังคม ด้วยการจัดสวัสดิการเงินอุดหนุนให้แก่เด็กแรกเกิดในครัวเรือนยากจนหรือครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน ทำให้เด็กได้รับการดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย รวมทั้งเป็นหลักประกันให้เด็กได้รับสิทธิด้านการอยู่รอดและการพัฒนาตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2561 – 2580