Meat Analogue Extruder… เครื่องผลิตเนื้อเทียม

Food Analogue

การบ้านที่ Properea Fan สาย Food & Restaurant ทักเข้ามาตลอดปี 2020 ที่ผ่านมา… รวมทั้งคำค้นและประเด็นเกี่ยวกับอาหารและธุรกิจอาหาร ที่ Properea Bot รวบรวมได้ตลอดปีที่ผ่านมา… เยอะสุดมากสุดตลอดกาลก็คงเป็นเรื่อง แปรรูปสินค้าเกษตรไปเป็นสินค้าอาหาร และรองลงมาใน ปี 2020 เป็นเรื่อง “เนื้อเทียม หรือ Meat Analogue” ซึ่งพบการค้นข้อมูลการผลิตและการตลาดอย่างกว้างขวาง… และวันนี้ผมมีข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการผลิตเนื้อเทียม หรือ Meat Analogue มาฝากทุกท่านไว้เป็นข้อมูลเบื้องต้นครับ

เนื้อเทียมเป็นอาหารที่มีลักษณะโครงสร้างและเนื้อสัมผัสคล้ายเนื้อสัตว์ เนื้อเทียมจะผลิตจากโปรตีนไข่ โปรตีนถั่วเหลือง ปลา หรือ ธัญชาติ เช่น โปรตีนกลูเตนจากข้าวสาลี ที่เรียกว่าหมี่กึง อาจผสมโปรตีนจากน้ำนมเพื่อให้มีคุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ เนื้อเทียมในท้องตลาดทุกวันนี้ มีมากมายจนแทบจะแทนที่เนื้อสัตว์ทุกชนิดได้หมด ทำให้อาหารเจที่ขายกันอยู่ในท้องตลาด ไม่ต่างอะไรกับอาหารทั่วไป โดยเฉพาะในฮ่องกง ที่ได้ชื่อว่าเป็นสวรรค์ของนักกินเจและมังสวิรัติ ร้านอาหารเจในฮ่องกง มีตั้งแต่เมนูขึ้นเหลาอย่างเป๋าฮื้อเจ เป็ดปักกิ่งเจ เป็ดย่างเจ หูฉลามเจ ไปจนถึงติ่มซำหลายร้อยชนิดที่ล้วนแล้วแต่ทำจากเนื้อเทียม เต้าหู้ และผัก

การทำเนื้อเทียมจากโปรตีนถั่วในระยะแรก จะนำส่วนผสมมาผสมให้เข้ากัน และอบให้แห้ง แต่ก็ได้เนื้อสัมผัสไม่ดี… ต่อมาจึงใช้เครื่องเอ็กซ์ทรูเดอร์ หรือ Extruder โดย ส่วนผสมต่างๆ จะถูกป้อนเข้าสู่เครื่องแล้วลำเลียงผ่านเกลียวบดอัดผสม ทำให้ระหว่างการลำเลียงจะเกิดการผสมและการนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน จนได้ส่วนผสมผ่านความดันและอุณหภูมิสูงในระยะเวลาสั้นๆ จนเปลี่ยนจากสภาพธรรมชาติ และเมื่อส่วนผสมเคลื่อนผ่านหน้าพิมพ์ จะถูกใบมีดที่ติดตั้งไว้ปลายเครื่อง ตัดออกเป็นชิ้น… ดูคลิปเพิ่มเติมดีกว่าน๊ะครับ จะได้เห็นภาพ

https://www.youtube.com/watch?v=WoIw_9JQYVg

ความจริง… กระบวนการผลิตเนื้อเทียมด้วยเครื่องเอ็กซ์ทรูเดอร์มีมาตั้งแต่ปี 1797 โดย Joseph Bramah หรือ โจเซฟ บรามา ชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่ใช้กระบวนการอัดพองเพื่อทำท่อตะกั่ว ต่อมาได้มีการใช้เครื่องนี้ทำกระเบื้อง สบู่ และแปรรูปอาหารเส้น… หลังจากนั้นมีหลายคนพัฒนากระบวนการนี้จนปัจจุบันเครื่องเอ็กซ์ทรูเดอร์มีหลายขนาด และหลายรูปแบบ

เนื้อเทียม เป็นอาหารโปรตีนราคาถูก ทดแทนเนื้อสัตว์ได้ จึงเป็นอาหารเพื่ออนาคต ที่มีแนวโน้มสดใส… ที่สำคัญก็คือ เทคโนโลยีการผลิตเนื้อเทียมในปัจจุบันในมิติเครื่องปรุงและส่วนผสม ถือว่าล้ำจินตนาการอย่างมาก… ข้อมูลในมือผมตอนนี้ดูเหมือนจะก้าวไปถึงขั้น Meat Analogue จากเครื่องพิมพ์สามมิติ ที่ให้เนื้อสัมผัส รสชาติและกลิ่น ด้วยประสบการณ์มื้ออาหารที่สมบูรณ์แบบ… ว่างั้น

ท่านที่สนใจทักเข้ามาแลกเปลี่ยนพูดคุยได้ครับ… ขอคุยเป็นเคสๆ ตามโมเดลธุรกิจก็แล้วกันครับ เพราะข้อมูลตอนนี้ต้องเรียนว่า… เยอะจริงๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก: สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย หรือ FoSTAT ครับ!

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Trading – Fundamentals of Technical Analysis จาก New York Institute of Finance

Trading – Fundamentals of Technical Analysis เปิดให้ Enroll หรือ ลงทะเบียนเรียนได้ทุกวันบน EdX.org โดยได้ผู้บรรยายมากประสบการณ์ในฐานะนักลงทุนแบบ Fulltime Trader อย่าง Michael Carr ซึ่งโด่งดังมาตั้งแต่วัยหนุ่มในฐานะ Financial Consultant ที่ Merrill Lynch…

Social Listening… ได้ยินเสียงแผ่วเบาที่กึกก้องนั่นมั๊ย

ปัจจุบัน นักการตลาดใช้ Social Listening กับทุกกลไกที่เกี่ยวกับ “ลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย” เพื่อใช้เป็นทั้งข้อมูลต้นในการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ ขับเคลื่อนทิศทางระดับใช้กำหนด Vision ระยะสามปีห้าปีก็มี… จนหลายคนให้ความสำคัญกับ Social Listening เป็นขั้นตอนหลักที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจไปแล้ว

Joseph Campbell

Follow Your Bliss – Joseph Campbell

ภาพรวมของแนวคิดใน Pathways to Bliss ช่วยบอกเราให้ค้นหา สิ่งที่จะสร้างความปิติล้นพ้น หรือ Bliss ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกปิดทับอยู่ในเงามืด หรือ Shadow ของทุกคน ซึ่ง Joseph Campbell หมายถึงจิตวิญญาณที่เป็นพื้นฐานชีวิตจิตใจ ซึ่งถูกสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เติบโตมา ขัดเกลา เปลี่ยนแปลง ขีดเส้นและกำหนดทาง หรือ Pathway จนไม่เหลือเวลาให้กับจิตวิญญาณของตนเองจนเงามืดบดบังไปหมด

Data Fabric Architecture… สถาปัตยกรรมข้อมูลเพื่อกลยุทธ์ธุรกิจ

Data Fabric เป็นแนวคิดในการถักทอข้อมูลด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลแบบโครงสร้างที่พร้อมสำหรับ “ถักทอ” ต่อๆ กันเพื่อสะสมและนำใช้โดยต้องค้นคืนได้ และ ใช้บอกเล่าหรือทำนายปรากฏการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้… โดยทั้งหมดจะนำไปสู่การออกแบบและปรับใช้ข้อมูลกับกลยุทธ์ที่สามารถต่อยอดไปสู่ความได้เปรียบเหนือการแข่งขัน หรือ Competitive Advantage ในท้ายที่สุด