ตั้งแต่ปี 2015 นาซ่าได้จัดการแข่งขัน NASA Centennial Challenges เพื่อค้นหาแบบบ้านที่จะใช้ในการตั้งอาณานิคมบนดาวอังคาร ซึ่งมีกติกาอยู่ 3 ข้อได้แก่ อันแรก…วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างจะต้องสามารถพบได้บนดาวเคราะห์สีแดง… ข้อสอง… วัสดุเหล่านั้นสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้… และสาม… เทคโนโลยีในการสร้างจะต้องเป็น 3D Printing เท่านั้น
จนกระทั่งปี 2019… นาซ่าก็ได้ผลงานที่ถูกใจและได้ผู้ชนะในที่สุดจากนิวยอร์คชื่อทีม AI Space Factory ซึ่งเป็น Startup ด้านสถาปัตยกรรมและดีไซน์จากนิวยอร์ก ที่ส่งผลงานบ้านทรงรังไหม ชื่อ “MARSHA หรือ มาร์ช่า” เข้าแข่ง
Ai Space Factory ใช้คอมโพสิตคอนกรีตผสมหินบะซอลที่สามารถย่อยสลายและรีไซเคิลได้ ซึ่งวัสดุที่นำมาสร้าง สามารหาได้บนดาวอังคาร… ส่วนเหตุผลที่บ้านถูกออกแบบให้เป็นทรงสูง เพรียว ก็เพื่อลดความจำเป็นในการใช้ยานเคลื่อนที่หลายคัน หรือเครื่องจักรก่อสร้างหลายชุดในการก่อสร้างบนภูมิประเทศที่ไม่คุ้นเคย และการออกแบบให้สูงเพรียวเช่นนี้สามารถสร้างได้โดยใช้แขนกลที่ถูกติดตั้งไว้บนยานโรเวอร์เพียงแขนเดียวก็สร้างเสร็จ
AI Space Factory ผู้ชนะในการออกแบบครั้งนี้ได้เงินรางวัล 5 แสนดอลลาร์ และนาซ่าจะนำแบบที่พักอาศัยพวกเขาไปใช้ในภารกิจตั้งอาณานิคมบนดาวอังคาร ดวงจันทร์ และบนโลกด้วย… ซึ่งต้นแบบ ถูกนำไปทดสอบโดยมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียว่า สามารถใช้ได้จริง ทดสอบการรั่วไหล ความทนทานของวัสดุที่ใช้ การผสมวัสดุ และความแข็งแรงเมื่อต้องประสบภัยรุนแรงไม่คาดฝัน
ซึ่งนาซ่าคาดว่าจะสามารถส่งมนุษย์ชุดแรกไปตั้งอาณานิคมบนดาวอังคารให้ได้ภายในปี 2030
การชี้ขาดรางวัลชนะเลิศในครั้งนี้ แต่ละทีมต้องผ่านการแข่งขันแบบ Hackathon มหาโหดที่รอบสุดท้ายที่กินเวลานานถึง 30 ชั่วโมงติดต่อกัน ซึ่งแต่ละทีมต้องสร้างบ้านจริงๆ จากแบบบ้านที่ย่อส่วนให้เหลือเพียง 1 ใน 3 ของแบบบ้านจริง และแต่ละทีมยังต้องใช้เทคโนโลยีแขนกลเพื่อการก่อสร้างเท่านั้น โดยที่มีมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องน้อยที่สุด เพื่อแสดงให้เห็นว่าแบบบ้านของตนนั้นสามารถก่อสร้างได้โดยอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องมีการควบคุมในกรณีที่ถูกนำไปก่อสร้างบนดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ
ประเด็นก็คือ… การก่อสร้างบ้านในศตวรรษนี้ได้เปลี่ยนจากเทคนิคดั้งเดิมในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย กลับไปเริ่มกันที่ First Principal ที่ตัวแปรการสร้างที่อยู่อาศัย อาจจะไม่ใช่บ้าน แบบบ้าน วัสดุสร้างบ้าน และวิธีสร้างบ้านเพื่อให้ได้บ้านเป็นที่อยู่อาศัยแบบที่เรารู้จักอีกต่อไป
AI Space Factory ก็มีแบบบ้านที่สร้างด้วยเทคนิคเดียวกันนี้บนโลกด้วยแล้วเรียกว่า Project Tera ซึ่งทีม AI Space Factory กำลังเตรียมทำ Pilots กับพันธมิตรทั้งในและนอกสหรัฐอเมริกา… และเป็นไปได้ที่เราจะได้เห็น TERA มาโผล่ในเมืองไทยกับเขาด้วย…
อ้างอิง
https://www.aispacefactory.com/
https://www.aispacefactory.com/marsha
https://www.flagfrog.com/house-on-mar-ai-2030/