Maker Token และ DAI Stable Coin

MakerDAO

ถ้าเล่าถึงการเกิดและเติบโตของ DeFi หรือ Decentralized Finance ซึ่งเกิดและเติบโตมากับ Smart Contract Blockchain เจ้าตำนานอย่าง Ethereum ซึ่งมีการริเริ่มและก่อตั้ง Ethereum โดยโปรแกรมเมอร์สัญชาติแคนาดาเชื้อสายรัสเซียชื่อ Vitalik Buterin ในราวปี 2013… และในปีต่อมา Tech Entrepreneur จากเดนมาร์ก ชื่อ Rune Christensen ก็เคลื่อนไหวเรื่องการประยุกต์ใช้ Ethereum Smart Contract เพื่อให้บริการกู้ยืมเงินแบบไร้คนกลางภายใต้แนวคิด Decentralized Autonomous

กระทั่งปี 2015… Whitepaper เวอร์ชั่นแรก ชื่อ The Maker Protocol: MakerDAO’s Multi-Collateral Dai (MCD) System ก็ถูกเผยแพร่โดย Rune Christensen และ ทีม… แต่การเกิดใหม่ของนวัตกรรมทางการเงินที่จะมาท้าทายระบบธนาคารดั้งเดิมไม่ง่ายที่ใครจะเข้าใจในเวลานั้น… Rune Christensen และ ทีม Maker Protocol จึงต้องทำหลายอย่าง โดยเฉพาะการแก้ไข Whitepaper ครั้งใหญ่อีก 2 ฉบับ ไปพร้อมกับการพัฒนาแพลตฟอร์มตามแนวคิดที่นำเสนอบน Whitepaper… ซึ่งท่านที่ทำ Startup สายแพลตฟอร์มคงจะนึกภาพออกว่า การบุกเบิกทำแพลตฟอร์มเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจจำเป็นต้องทำไปแก้ไปจนกว่าจะได้ผลงานดีเกินคาดออกมาก่อน

ธันวาคมปี 2017… จึงมีการเปิดตัว DAI Token พร้อม Smart Contract ที่เกี่ยวเนื่อง และสามารถผูกมูลค่า DAI เข้ากับ USD หรือ US Dollar ที่อัตรา 1 DAI == 1 USD… และกลายเป็น Stable Coin ที่ได้รับความสนใจอย่างสูง เมื่อเปิดตัวพร้อมกับ Maker Foundation ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น MakerDAO ในเวลาต่อมา

ปลายปี 2018… กองทุน Andreessen Horowitz ก็ลงทุนกับ MakerDAO ด้วยการซื้อ MKR Tokens ซึ่งเป็น Governance Token ของแพลตฟอร์มด้วยมูลค่า 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นสัดส่วนการลงทุนถึง 6%… การเข้าลงทุนของ Andreessen Horowitz นั่นเองที่ทำให้นักลงทุนฟ้าประทาน หรือ Angel Investors อีกมาก… เลิกลังเลที่จะร่วมด้วยช่วยซื้อลงทุน จนกลายเป็นแพลตฟอร์มการเงินแบบกระจายศูนย์ต้นแบบที่น่าเชื่อถือ และ เติบโตอย่างรวดเร็ว จนสามารถปลุกโมเดล DeFi อีกมากมายให้เกิดตามหลังจนระบบนิเวศการเงินไร้ศูนย์กลาง มีบรรยากาศคึกคัก และ ท้าทายระบอบการเงินยุคเก่าจนถึงปัจจุบันอย่างที่เห็น

MakerDao จึงได้ชื่อว่าเป็นแพลตฟอร์มการกู้ยืมเงินแบบไร้ตัวกลางยุคเริ่มต้น ซึ่งถือกำนิดมาจากแนวคิด Decentralized Autonomous Organization หรือ DAO ที่ต้องการทำให้ Cryptocurrency ไม่ผันผวนจนนักลงทุนสามารถนำคริปโตมาฝากพักรอราคา และ ทำรายการฝากถอนกู้ยืมได้โดยตรง

กลไกสภาพคล่องในแพลตฟอร์ม MakerDao ได้ออก DAI Token ขึ้นมา โดยตรึงค่าไว้กับ US Dollar ให้นักลงทุนสามารถนำ Fiat Money อย่าง USD มาแลก DAI ได้แบบ 1:1 เพียงแต่ในทางเทคนิคจำเป็นจะต้องเปลี่ยน US Dollar หรือ Fiat ให้เป็นคริปโตเสียก่อน… โดยจะมีผู้ถือ MKR Token ซึ่งเป็น Governance Token ร่วมเป็นผู้ดูแลธรรมาภิบาลและระบบ โดยเฉพาะสิทธิในการโหวต Business Logic ของ MakerDAO Platform เช่น กำหนดอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งการเสนอปรับปรุงแก้ไขส่วนต่างๆ ของระบบ

MKR Token จากแพลตฟอร์ม MakerDAO จะเป็นโทเคนดิจิทัลที่ราคาเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตามตลาด ซึ่งเป็นคนละส่วนกันกับ DAI Token ถึงแม้ว่าการสร้าง DAI Token จะต้องใช้ MKR Token เป็นค่าธรรมเนียมในกลไก Collateralized Debt Positions หรือ CDP หรือ ขั้นตอนในการสร้างเหรียญ DAI ขึ้นมา… โดยค่าธรรมเนียมที่เป็น MKR Token ที่ได้ แพลตฟอร์มจะ Burn หรือ เผา MKR Token ส่วนนั้นไป…

ส่วน DAI Token แม้จะเป็น Stable Coin แต่ DAI จะถูกสร้างด้วยการ Vaults จากเหรียญ ETH อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน USD/ETH ณ เวลาทำธุรกรรม เช่น อัตราแลกเปลี่ยน หรือ ราคา ETH ขณะนั้นเท่ากับ 3,500 USD/ETH ก็จะ Vaults เอา DAI Token มาได้สูงสุด 3,500 DAI โดยใน Wallet ที่ใช้ทำธุรกรรมยังต้องมี MKR Token เอาไว้นิดหน่อยด้วยเพื่อจ่ายค่าธรรมเนียม

ประเด็นก็คือ… การ Vaults เอา DAI Token ออกมาเป็นการกู้คริปโตโดยใช้เหรียญ ETH เป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน… ดังนั้น การ Vaults เอา DAI Token ออกมา… นักลงทุนจะไม่ได้ DAI Token ออกมาเต็มจำนวน ซึ่งก็ไม่ต่างจากการเอาที่ดินไปจำนองธนาคารที่ต้องหักลดจากราคาประเมินตามข้อกำหนดของธนาคารเช่นกัน… และตราบเท่าที่มูลค่าของหลักประกันที่เป็นเหรียญ ETH ไม่เสื่อมค่าต่ำกว่าเงื่อนไขที่กำหนด เหรียญ ETH ยอดนั้นจะยังคงรอเจ้าของเดิมเอา DAI Token ที่ยืมไปมาใช้คืนพร้อมดอกเบี้ย และ ถอนเหรียญ ETH ออกไป

ปัจจุบัน… MakerDAO มีแพลตฟอร์มการกู้ยืมฝากถอนเป็น dApp ชื่อ Oasis และ ยังมี Maker Ecosystem ที่มีไว้ให้นักพัฒนาสามารถนำ API ไปใช้ทำ dApp ของตัวเองได้ไม่ยาก โดยเฉพาะ JavaScript Library ชื่อ Dai.js พร้อมคู่มือที่สามารถศึกษาได้ด้วยตัวเอง… ท่านที่มีโครงการดีๆ แต่ไม่อยากเสียเวลามาปั้นเหรียญดิจิทัลของตัวเองให้ค่าใช้จ่ายบานตั้งแต่โครงการยังหาเงินไม่ได้… ลองศึกษาดูบ้างก็ดีครับ!

ราคา MKR Token หรือ Maker ช่วงหัวค่ำของวันที่ 14 สิงหาคม ปี 2021 บน CoinMaketCap.com ที่ราคา 2,859 USD/MKR มีขนาด Market Cap อยู่ที่ 2,859 ล้านดอลลาร์สหรัฐ… ส่วน DAI Token ราคา 1 USD/DAI มีขนาด Market Cap อยู่ที่ 6,547.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นเหรียญลำดับที่ 29

คำเตือนครับ! การลงทุนกับ Cryptocurrencies และ DeFi มีความเสี่ยงสูง และ บทความนี้ทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้น โดยไม่มีเจตนาชี้ชวนให้ผู้ใดร่วมลงทุน

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

27 พฤษภาคม 2562 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล… ซึ่งผ่านการพิจารณาโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. หรือสภาแต่งตั้ง ก่อนที่สภาชุดนี้จะหมดอายุลง… กฎหมายฉบับที่ผ่านในยุคของรัฐบาลทหารเขียนข้อยกเว้นไว้กว้างขวาง โดยเฉพาะยกเว้นไม่คุ้มครองข้อมูลในกิจการของหน่วยงานความมั่นคง และแทบจะยกเว้นให้กิจการของรัฐไม่ต้องทำตามกฎหมายนี้ 

Virtual Seminar Digital Asset โอกาสและความเสี่ยง

เวบไซต์กรุงเทพธุรกิจได้ออกโปสเตอร์เชิญชวนร่วมสัมนาออนไลน์ผ่าน Zoom… Youtube และ Line Official ในหัวข้อ Digital Asset โอกาสและความเสี่ยง โดยกรุงเทพธุรกิจเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นในช่วงบ่าย เวลา 13.30–16.45 วันที่ 1 มีนาคม 2022

bitcoin vs gold

Tokenomics… เศรษฐศาสตร์ที่ว่าด้วยราคาและมูลค่าของโทเคน

คริปโต หรือ Cryptocurrency หรือ Digital Money ที่เกิดช่วงสิบปีแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21 โดยมี Bitcoin เป็นปรากฏการณ์ของคริปโตที่สร้างการเปลี่ยนแปลง และ กระทบถึงกลไกทางเศรษฐกิจเดิมที่เคยมีแต่ “เงิน และ สถาบันการเงิน” เป็นตัวกลางและศูนย์กลางการให้บริการแลกเปลี่ยนมูลค่ามานาน… ซึ่งความใหม่มาก และ การขาดความเข้าใจอันดีต่อ Cryptocurrencies มากมายที่เกิดขึ้นจนถึงทุกวันนี้… ทำให้เกิดคำถามเรื่อง “มูลค่า และ ราคา” ของ Cryptocurrencies ทั้งหมดที่เคลื่อนไหวหวือหวาเป็นข่าวคราวอยู่ทั้งหมดตลอดมา

The Sandbox

The Sandbox และ SAND Token

The Sandbox เวอร์ชั่นบล็อกเชนมีการเสนอเช่าและเซ้งพื้นที่ หรือ Land และ ไอเทมในเกมในรูปแบบ Voxel Graphic ซึ่งเป็นกราฟิกจากการผสมผสานกันระหว่าง Pixel ซึ่งเป็นลักษณะของจุดเม็ดสีในระบบภาพ 2 มิติ เข้ากับระนาบแบบ Volumetric อันเป็นทรงปริมาตรในระบบ 3 มิติ… ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับที่ใช้ในเกม Minecraft อันลือลั่นนั่นเอง