Lunar Gateway… สถานีสุดท้ายก่อนถึงดวงจันทร์

Lunar Gateway

นับตั้งแต่ประธานาธิบดี Donald Trump ลงนามในเอกสารชุด Space Policy Directive 1 ในปี 2017 ซึ่งเป็นการอนุมัติให้ “มนุษย์กลับไปเยือนดวงจันทร์” โดยมีโครงการ Artemis Program ภายใต้การดูแลโดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ NASA พานักบินอวกาศหญิงคนแรก และ นักบินอวกาศชายไปเยือนขั้วใต้ของดวงจันทร์ในปี 2024 ด้วยยาน Orion MPCV หรือ Orion Multi-Purpose Crew Vehicle

ประเด็นก็คือ… Artemis Program ไม่ใช่โครงการไปชูธงชาติถ่ายรูปเก็บหินดินฝุ่นดวงจันทร์แล้วกลับโลก… แต่เป็นโครงการตั้งถิ่นฐานบนดวงจันทร์ในระยะยาวที่แปลว่า ก่อนจะถึงวันที่สหรัฐอเมริกาประกาศให้พื้นที่บนดวงจันทร์เป็นอาณานิคมในปี 2024… โครงการอวกาศเพื่อสนับสนุนภารกิจเดินทางไปกลับระหว่างโลกกับดวงจันทร์ จะถูกพัฒนาขึ้นเป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเดินทาง… และหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการเดินทางไปกลับดวงจันทร์ก็คือ… สถานีอวกาศแห่งใหม่ภายใต้โครงการ Gateway หรือ ที่เรียกกันว่า Lunar Gateway นั่นเอง

Lunar Gateway จะเป็นสถานีอวกาศในวงโคจรของดวงจันทร์ ซึ่งต่างจากสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS หรือ International Space Station ซึ่งเป็นสถานีอวกาศในวงโคจรของโลก… 

NASA ใช้งบประมาณในการศึกษาและออกแบบ Lunar Gateway ไปแล้วกว่า 330 ล้านดอลลาห์สหรัฐ… เพื่อหวังจะใช้ Lunar Gateway ให้ทันโครงการ Artemis 3 ที่จะนำมนุษย์ชายหญิงไปใช้ชีวิตบนดวงจันทร์ในปี 2024 เพื่อทำภาระกิจหลายอย่างที่นั่น โดยวางแผนจะใช้ Lunar Gateway เป็นจุดพักเหนือน่านฟ้าดวงจันทร์ แทนการขนทุกอย่างในเที่ยวบินตรงจากโลกเหมือนโครงการอพอลโล… แต่ Lunar Gateway เสร็จไม่ทันใช้รองรับเที่ยวบิน Orion MPCV ในปี 2024 ซึ่งก็ไม่ใช่ประเด็นใหญ่อะไร เพราะ Orion MPCV มีศักยภาพในการไปกลับดวงจันทร์ได้สบายๆ โดยไม่ต้องมีสถานีอวกาศรองรับก็ได้

ความจริง… Lunar Gateway เกิดจากความร่วมมือจากหลายๆ ประเทศเหมือนเมื่อครั้งร่วมกันสร้าง ISS ซึ่งริเริ่มกันมาตั้งแต่ปี 2012… แต่ Roscosmos หรือ องค์การอวกาศรัสเซีย ก็ประกาศถอนตัวออกจากความร่วมมือในการก่อสร้าง Lunar Gateway เมื่อต้นปี 2021 ที่ผ่านมานี้เอง ด้วยเหตุผลที่อ้างว่า Lunar Gateway ไม่ได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ใดๆ อย่างเท่าเทียมแก่รัสเซีย

NASA จึงต้องออกแบบและวางแผนการก่อสร้าง Lunar Gateway ใหม่หมดโดยไม่มีรัสเซีย ซึ่งรัสเซียได้หันไปจับมือกับจีน และ ประกาศโครงการสร้างสถานีวิจัยบนดวงจันทร์ร่วมกันในเดือนมิถุนายน ปี 2021

โครงสร้างของ Lunar Gateway ที่ NASA ออกแบบไว้จะประกอบด้วยพื้นที่ 4 ส่วนหลัก ประกอบไปด้วย 

  1. Power and Propulsion Element หรือ PPE หรือ โมดูลระบบขับเคลื่อน… จะมีหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ป้อนสู่สถานีราว 60 KWh พร้อมติดตั้งระบบขับเคลื่อนประเภท Solar Electric Propulsion ที่จะช่วยให้ปรับวงโคจรของสถานีให้เป็นไปตามความต้องการของภารกิจต่างๆ และโมดูลนี้ยังเป็นศูนย์รวมของระบบการสื่อสารบนสถานีอีกด้วย
  2. Habitation and Logistics Outpost หรือ HALO หรือ พื้นที่อยู่อาศัย…  ซึ่งนอกจากจะเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์อวกาศแล้ว ยังเป็นจุดที่ยานอวกาศสามารถ Docking หรือ เชื่อมต่อกับสถานีได้ด้วย และ เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ปี 2021 ที่ผ่ามา… NASA ก็ได้แถลงข่าวร่วมกับคู่สัญญา ผู้จะมาออกแบบ HALO ของ Lunar Gateway โดยคัดเลือก Northrop Grumman เข้ามารับงานออกแบบและผลิต HALO Module
  3. ESPRIT Module… เป็นโมดูลในภารกิจขององค์การอวกาศแห่งสหภาพยุโรป หรือ ESA ซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเติมเพื่อสนับสนุนการสื่อสาร และ สำรองเชื้อเพลิงสำหรับระบบขับเคลื่อน และเป็นโมดูลที่ออกแบบไว้อย่างแข็งแรง รองรับการชนกับเศษอุกกาบาตได้อย่างดี
  4. International Habitation Module หรือ I-HAB หรือ พื้นที่อยู่อาศัยนานาชาติ… ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ ESA แต่ดูเหมือนเจ้าภาพตัวจริงจะเป็น JAXA หรือ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น เข้ามารับผิดชอบออกแบบดูแลงานส่วนนี้เป็นหลัก และ คงเป็นโมดูลนี้ที่ทำให้รัสเซียถอนตัวเพราะไม่มีใครให้ราคาเท่ากับที่จีนเสนอให้นั่นเอง… โมดูลนี้จะมีการติดตั้งแขนกล Canadarm 3 ซึ่งเป็นแขนกลเวอร์ชั่นที่ 3 จาก CSA หรือ Canada Space Agency 

ส่วนแผน​​การก่อสร้าง Lunar Gateway ในช่วงแรก… NASA เลือกใช้จรวด Falcon Heavy ของ SpaceX ขน PPE Module และ HALO Module ไปยังวงโคจรของดวงจันทร์ โดยมีหมายกำหนดการณ์สำหรับเที่ยวบินขนชิ้นส่วน Lunar Gateway ในเดือนพฤษภาคม ปี 2024 จากฐานยิง 39A ที่เคยรับใช้ภารกิจอะพอลโล 11 เที่ยวประวัติศาสตร์ไปดวงจันทร์ครั้งแรกนั่นเอง… ส่วนโมดูลภายใต้การดูแลขององค์การอวกาศแห่งสหภาพยุโรป หรือ ESA ก็มีหมายกำหนดการณ์ในเวลาใกล้เคียงกันโดยคาดหมายว่า… Lunar Gateway จะก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2028 และคาดว่าตัวสถานีจะมีความยาวประมาณ 30–35 เมตร หรือ คิดเป็น 1 ใน 6 ส่วนของสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS

การก่อสร้าง Lunar Gateway ถือเป็นการรุกคืบเพื่อตั้งถิ่นฐานนอกดาวโลกของมนุษย์อย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก… และแม้ว่า Lunar Gateway จะไม่ทันใช้ในภารกิจ Artemis ในระยะที่ 3 ที่จะส่งมนุษย์กลับไปดวงจันทร์อีกครั้งในรอบ 50 ปีเศษ แต่ Lunar Gateway มีภาระกิจสำคัญในโครงการตั้งรกรากบนดวงจันทร์ของมนุษย์อย่างชัดเจน

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Neuralink… ไมโครชิปฝังสมองคน

รายงานข่าวกรณี FDA หรือ US Food and Drugs Administration ได้อนุมัติให้สตาร์อัพ Neuralink ที่มีนักลงทุนและหัวเรือใหญ่ชื่อ Elon Musk ให้ทดลองฝังชิปในมนุษย์ หรือ อนุมัติให้ทดลองในมนุษย์เพื่อช่วยฟื้นฟูการมองเห็น รวมทั้งสั่งการการเคลื่อนไหวของร่างกายที่เชื่อมโยงระหว่าง “สมองคน กับ คอมพิวเตอร์” นั้น… ถือว่าเป็นข่าวใหญ่ของวงการ DeepTech ที่ต้องจับตานวัตกรรมพลิกโลกอีกหนึ่งแนวคิด ซึ่งมีคนไม่กี่คนบนโลกที่กล้าคิดและกล้าลงทุนกับเทคโนโลยีระดับนี้

Volcker Rule… กฎของโวคเคอร์

การก่อตั้งและมีอยู่ของธนาคารกลาง หรือ ธนาคารแห่งชาติอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแม้แต่ FED หรือ Federal Reserve หรือ ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกาก็คือ… การทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมีหลักสำคัญ หรือ หัวใจของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจก็คือระดับราคาของตัวแปรทางเศรษฐกิจ… อันเป็นที่มาของการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ หรือ Inflation Targeting ซึ่งได้กลายเป็นมาตรฐานการเงินการคลัง และ ตัวแปรทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญทั่วโลกในยุคหลังโวคเคอร์ หรือ Post Volcker… ซึ่งตั้งชื่อตามอดีตประธานเฟด และ บุคคลสำคัญในวงการเศรษฐศาสตร์มหภาคของสหรัฐอเมริกาอย่าง Paul Volcker

PM 2.5 เรื่องด่วน… โอกาสเด่น…

ปรากฏการณ์ฟ้าหลัวตลอดเวลาปกคลุมเมืองใหญ่ๆ ที่การจราจรหนาแน่น เป็นปัญหาระดับลมหายใจของสิ่งมีชีวิตที่พูดได้แต่แก้ไขยากเหมือนๆ กันทั้งโลก… มีก็แค่ ข้อมูลมลพิษทางอากาศมุมไหนจะถูกใครหยิบมาพูดถึง… แล้วก็ผ่านไป 

There Can Be No Great Accomplishment Without Risk ~ Neil Armstrong

Neil Armstrong เป็นวิศวกรยศเรือโทจาก กองทัพเรือสหรัฐ หรือ U.S. Navy ซึ่งมีประสบการณ์ในภาระกิจระหว่างสงครามเกาหลีถึง 78 เที่ยวบินบนเครื่อง F9F-2 Panthers ในช่วงปี 1951 ในขณะที่ Neil Armstrong อายุเพียง 21 ปี และเที่ยวบินสุดท้ายในสงครามเกาหลี ยุติลงเพราะเครื่องบินของ Neil Armstrong เกี่ยวเคเบิ้ลต่อต้านอากาศยานในภาระกิจบินทิ้งระเบิดในระดับต่ำจนปีกข้างหนึ่งขาด และ Neil Armstrong กลายเป็นเชลยสงคราม ก่อนจะถูกแลกตัวในภายหลัง…