LP Token & Governance Token… หลักทรัพย์หรือแค่รางวัล?

ความเคลื่อนไหวของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ต่อกรณีการเปิดตัว DeFi Platform สัญชาติไทยโดยมีกิจกรรม และ ธุรกรรมทางธุรกิจคลอบคลุมบริการการให้ยืม และ ให้กู้ หรือ Lending & Borrowing… บริการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลแบบไร้คนกลาง หรือ Decentralized Exchange…  บริการบริหารจัดการสินทรัพย์ หรือ Asset Management… และที่สำคัญคือการออกดิจิทัลโทเคนใช้ในแพลตฟอร์ม… โดยเฉพาะ Liquidity Provider Token หรือ LP Token และ Governance Token หรือ โทเคนกำกับดูแลด้านธรรมาภิบาล… รวมทั้ง Token อื่นๆ ที่ถูกสร้างขึ้นโดยระบุวิธีแจกจ่าย ถือครอง และ ใช้งานตามข้อกำหนดที่แพลตฟอร์มสร้างขึ้นใช้

ซึ่งคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้ออกมาส่งเสียงดังๆ ถึงการลักไก่ทำโทเคนเถื่อนที่ผู้ให้บริการ DeFi ในประเทศไทย ต้องได้รับอนุญาตตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 หรือ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล… โดยต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่กำหนด และ เสนอขายผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 

นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งได้แก่ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Exchange… นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Broker… ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Dealer… ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Private Fund Management และ ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Investment Advisor ต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจตามประเภทที่ได้รับอนุญาต… ซึ่งการลงทุนกับ DeFi Platform ที่เลี่ยงกฏหมาย หรือ ทำผิดกฏหมายแต่ต้น มีความเสี่ยงที่จะถูกอายัด หรือ ระงับการทำธุรกรรมจาก  ก.ล.ต. หรือ หน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง… ซึ่งเสียหายต่อเงินลงทุนของนักลงทุนแน่นอน

ก่อนอื่นจะขอพาท่านที่ยังใหม่กับ DeFi Platform ไปรู้จักระบบนิเวศน์ทั่วไปของแพลตฟอร์ม ซึ่ง DeFi Platform จะให้บริการ ฝาก–ถอน–กู้ยืม โดยใช้ Smart Contract หรือ สัญญาอัจฉริยะที่สร้างเป็นฟังก์ชั่นการใช้งานของแพลตฟอร์มเอาไว้… กรณีท่านต้องการฝาก และ โอนคริปโตเข้าไปในระบบ สัญญาอัจฉริยะก็จะล็อคยอดฝากเอาไว้ และ ดอกเบี้ยฝากก็จะเริ่มนับเข้ามาในบัญชีของท่าน… กรณีท่านทำรายการถอน หรือ ครบกำหนดเวลาตามสัญญาฝาก โดยทั่วไปก็จะมีการโอนคริปโตของท่านพร้อมดอกเบี้ยกลับคืน Wallet ของท่าน จะเป็น Wallet บนแพลตฟอร์ม หรือ Wallet ส่วนตัวที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มเอาไว้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับ Smart Contract ของแพลตฟอร์มนั้นๆ

ในกรณีของการกู้ยืม… แน่นอนว่าท่านต้องมีหลักประกันซึ่งก็คือคริปโต ซึ่งถูกประเมินราคาโดยอัตโนมัติผ่าน Smart Contract หรือ สัญญาอัจฉริยะที่แพลตฟอร์มวางระบบเอาไว้ โดยระบบจะ “ล็อคหลักประกันของลูกหนี้” ก่อนจ่ายคริปโตตามมูลค่าที่สัญญาอัจฉริยะยอมให้กู้ยืมได้สูงสุด หรือ ตามที่ลูกหนี้กำหนดโดยไม่เกินยอดสูงสุดที่กำหนดไว้… โดยจ่ายเป็นคริปโต หรือ Cryptocurrency สกุลใดสกุลหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะจ่ายเป็น LP Token หรือ Liquidity Provider Token หรือ โทเค็นให้บริการสภาพคล่องออกมา ซึ่งทั้งหมดก็คือโทเคนของแพลตฟอร์มนั่นเอง… และเมื่อต้องคืนหนี้กู้ยืมคืนเข้าระบบตามสัญญาอัจฉริยะ ท่านก็ต้องมี LP Token พร้อมดอกเบี้ยเต็มจำนวนโอนคืนระบบก่อน ระบบหรือแพลตฟอร์มจึงจะปลดล็อคหลักประกันของท่านให้สามารถโยกย้ายถ่ายโอนได้อีกครั้ง หรือ ถ้าผิดเงื่อนไขก็จะถูกบังคับขายทอดตลาดหลักประกันเช่นกัน

ประเด็นก็คือ DeFi Platform มีคนทำงานอยู่เบื้องหลังไม่ถึง 10 คนเป็นส่วนใหญ่… ในขณะที่หลายแพลตฟอร์มมีคนทำงาน และ พัฒนา Smart Contract อยู่เบื้องหลังเพียงคนเดียวก็มีอยู่มาก… ข้อกังวลเรื่องความโปร่งใส ฉ้อฉล และ กลโกง อันหมายถึงความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์มจึงเป็นเรื่องสำคัญ… 

DeFi Platform ส่วนใหญ่จึงยอมให้ลูกค้าที่ฝากคริปโต และ ล็อคเหรียญค้ำประกันการกู้… ได้สิทธิ์ในการเข้าถึงการจัดการภายในเหมือนเป็นหุ้นส่วนร่วมกัน เพื่อไม่ให้ใครคนใดคนหนึ่ง มีสิทธิ์เหนือคนอื่นๆ ที่ไว้วางใจจนเอาสินทรัพย์ของตัวเองไปฝาก หรือ ล็อคไว้กับแพลตฟอร์ม แม้แต่ผู้สร้างแพลตฟอร์มเอง… DeFi Platform ส่วนใหญ่จึงทำ Token ขึ้นมาจ่ายให้ลูกค้าฝาก ทั้งลูกค้าฝากกินดอกเบี้ย และ ลูกค้าฝากค้ำประกัน และให้สิทธิ์ผู้ที่ได้รับ หรือ ถือ Token ชนิดนี้อยู่… รู้เห็นการจัดการภายใน และ ร่วมกิจกรรมการจัดการภายในแพลตฟอร์มได้เหมือนเป็นหุ้นส่วน เพื่อร่วมกันดูแลการจัดการทั้งหมดให้เป็นธรรมต่อตัวเองและเพื่อนนักลงทุนอย่างโปร่งใส… โทเคนชนิดนี้จึงถูกเรียกว่า Governance Token หรือ โทเคนเพื่อร่วมกำกับดูแลด้านธรรมาภิบาลของแพลตฟอร์ม หรือจะเรียกว่า โทเคนหุ้นส่วนก็ได้

นอกจากนั้น… DeFi Platform ยังจำเป็นต้องเปิดรับคริปโตหลากหลายสกุลเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง และ อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่ต้องการฝากถอนและค้ำประกันด้วยคริปโตสกุลใดก็ได้โดยไม่ต้องไปแลก หรือ Exchange จากแพลตฟอร์มอื่น… บริการ Exchange หรือ Swap ภายในแพลตฟอร์มจึงเป็นฟังก์ชั่น และ บริการอย่างหนึ่งที่จำเป็นต่อ DeFi Platform ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้บัญชีเดียวบนแพลตฟอร์มเดียวทำทุกอย่างได้ครบวงจร ให้เป็นได้ทั้งนักลงทุน นายธนาคารและนายทุนเงินกู้ภายในแพลตฟอร์มเดียว หรือ แอพเดียว

นั่นแปลว่า… โดยทั่วไปนอกจากจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลแล้ว แพลตฟอร์มทั้งหมดจะมีการออก Digital Token ไม่น้อยกว่า 2 สกุล ทั้ง LP Token และ Governance Token เพื่อใช้ภายในระบบ… โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนภายในระบบ หรือ ก็คือการซื้อขายแลกเปลี่ยน และ เข้าข่ายการประกอบกิจการตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ซึ่งอยู่ในอำนาจการกำกับดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ กระทรวงการคลังอย่างชัดเจน

บางแพลตฟอร์มที่จงใจเลี่ยงกฏหมาย โดยอธิบายว่า LP Token และ Governance Token รวมทั้งโทเคนอื่นๆ ได้สร้างขึ้นเหมือน Bonus Coin ในเกมส์ หรือ Bonus Coin ที่ใช้เป็นรางวัลในแพลตฟอร์ม eCommerce อย่าง Shopee/Lazada หรือใช้แบบคูปองศูนย์อาหาร… จึงไม่ใช่คำอธิบายที่ตรงไปตรงมา และ มีธรรมาภิบาลในการประกอบธุรกิจที่ต้องโปร่งใสชัดเจนสุดๆ แบบนี้ได้

ถึงตรงนี้ท่านคงคิดออกแล้วว่า… ทำไมคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของไทยจึงเคลื่อนไหวเรื่อง Digital Token ที่สร้างใช้จาก DeFi Platform ซึ่งควรจะหลีกเลี่ยง และ ข้องแวะ… ถึงแม้จะมีผลประโยชน์ล่อใจอยู่ โดยไม่ลืมที่จะตรวจสอบ “ความโปร่งใส และ คุณธรรมในการประกอบธุรกิจของแพลตฟอร์ม” ซึ่งผมคิดว่าเราท่านไม่ควรวางใจโมเดลธุรกิจทำนองนี้ ที่กล้าซิกแซ็ก และ เลี่ยงกฏหมายตั้งแต่ต้น… และท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้จากแอปพลิเคชั่น SEC Check First หรือเว็บไซต์ www.sec.or.th หัวข้อ สินทรัพย์ดิจิทัล และสอบถามข้อมูล หรือ แจ้งเบาะแสได้ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โทร 1207

เงินลงทุนของท่าน ทรัพย์สินดิจิทัลของท่าน… จะยังอยู่ที่ท่าน ตราบเท่าที่ท่านไม่ได้ “ตัดสินใจ” โอนไปให้ใครที่ไหน… การจะเป็นนักลงทุน เป็นนายธนาคาร และ เป็นนายทุนเงินกู้ในจักรวาลคริปโต ต้องไม่พลาดเหมือนเหยื่อตกทองในตลาดสดให้ตัวเองเจ็บปวดราคาแพงแบบนั้น… ตรวจสอบให้ดีก่อนการลงทุนเสมอ ถ้าไม่แน่ใจ ไม่มั่นใจ ก็ไม่ต้องรีบร้อนครับ!

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

ระบบภูมิสารสนเทศช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยแล้งจาก GISTDA

GISTDA หรือ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ… กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร และ กรมชลประทาน… กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยกรมอุตุนิยมวิทยา… กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และ นวัตกรรมภูมิสารสนเทศเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง

recession recovery

Recover Forum… โดย สวอช

ประเทศไทยโชคดีที่สามารถควบคุมสถานการณ์ COVID19 ได้อย่างรวดเร็ว ในส่วนของอีอีซีได้รับผลกระทบจาก COVID19 เช่นกัน แต่ยังเชื่อมั่นว่าแผนการลงทุนในอีอีซียังไปถึงเป้าหมายเหมือนเดิมเพียงแค่ขยายเวลาออกไปเพื่อทดแทนในช่วงที่ได้รับผลกระทบ

พื้นที่ Bio Economy… ที่ขอนแก่น

สำหรับผม ขอนแก่นถือเป็นเมืองหลวงของอ้อยและน้ำตาล วิวไร่อ้อยหน้าฝนที่กำลังแตกกอที่ขอนแก่น สวยงามสุดลูกหูลูกตาก็มี เศรษฐกิจเมืองหมอแคนแก่นนครนั้น นอกจากอ้อย ยังมีมันสัมปะหลังสลับไร่อ้อยและนาข้าว… การที่… คณะทำงาน Bioeconomy ประชารัฐ เตรียมชง คณะรัฐมนตรีเสนอตั้ง “เขตเศรษฐกิจชีวภาพและนวัตกรรมครบวงจร” มูลค่า 400,000 ล้านบาท นำร่อง 2 จังหวัด ขอนแก่น-นครสวรรค์ คลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง-อีสานตอนกลาง นำร่องวัตถุดิบอ้อย-มันสำปะหลัง ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 อุบลราชธานี-สาละวัน

วันที่ 14 ธันวาคม 2561 การประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรรอบบึงกาฬหนองคาย มีโปรแกรมข้ามโขงประชุมร่วมกับนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ท่านทองลุน สีสุลิดด้วย