การทำธุรกิจในปัจจุบันคงหลีกเลี่ยงข้อมูลและคอมพิวเตอร์ไม่ได้อีกแล้ว มิหนำซ้ำยังจะเลยเถิดไปถึงหลีกเลี่ยงการใช้ AI และกลไก Automation Process ต่างๆ ในขั้นตอนการทำธุรกิจก็คงยากทั้งทางตรงและทางอ้อม… โดยเฉพาะส่วนที่สำคัญที่สุดในกลไกธุรกิจอย่าง “ระบบการเงิน” ที่ถูก Disrupted โดยเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech ไปหมด… กลไกการทำธุรกิจอื่นๆ จึงยากยิ่งที่จะฝืนการเชื่อมต่อกับกลไกทางการเงินที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลหมดแล้วด้วย
การออกแบบกลไกธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต จึงต้องพัฒนาบนแพลตฟอร์มดิจิทัล อันหมายถึงมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และข้อมูล มาช่วยทำธุรกิจให้ไหลลื่นสอดคล้องไปกับระบบนิเวศน์ทางธุรกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงแล้วอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะให้สอดคล้องกับเรื่องเงินๆ ทองๆ
ประเด็นก็คือ… คอมพิวเตอร์ต้องการซอฟท์แวร์ในการ “Run” ระบบ เพื่อจัดการ “Business Process” ให้ไหลลื่นสอดคล้องไปกับระบบนิเวศน์ทางธุรกิจที่ออกแบบไว้… ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาจะมีการประยุกต์ใช้ “ซอฟท์แวร์สำเร็จรูป” ที่ออกแบบมาเพื่อทดแทนการส่งผ่าน “ข้อมูล หรือ Data” ที่ยังบันทึกและแลกเปลี่ยนแบบ Hard Copy โดยมีกระดาษเป็นสื่อบันทึกและนำส่งข้อมูลอยู่… จนกระทั่ง Digital Storage เข้ามาเปลี่ยนทั้งหมดที่เป็นข้อมูล ให้สามารถบันทึกได้โดยไม่ต้องพึ่งกระดาษอีกแล้วอย่างสิ้นเชิง… Business Process นับแต่นี้จึงถูกเปลี่ยนไปตลอดกาล และซอฟท์แวร์สำหรับแต่ละ Business Process ก็เป็นที่ต้องการอย่างมาก ซึ่งซอฟท์แวร์สำเร็จรูปแบบดั้งเดิมก็ไม่อาจทดแทนได้
ระบบนิเวศน์ของการพัฒนาซอฟแวร์ หรือ การทำแอพพลิเคชั่น หรือ Application หรือ App จึงต้องหันหลังให้แนวคิดซอฟท์แวร์สำเร็จรูป และ ซอฟท์แวร์สำนักงานอย่างในอดีต มาสู่แนวคิดการใช้ “ซอฟท์แวร์สร้างซอฟท์แวร์” เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ซอฟท์แวร์ธุรกิจ ที่เหมาะสมกับ Business Process ทุกๆ โมเดลที่สุด… และนี่เป็นต้นทางของแนวคิดการพัฒนาแพลตฟอร์ม Low Code หรือซอฟท์แวร์สร้างซอฟท์แวร์ที่ไม่ต้องเขียนโค๊ดแบบโปรแกรมเมอร์อีกต่อไป
Low-code หรือ Low Code คือ แพลตฟอร์มช่วยพัฒนาแอปพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ โดยปราศจากการเขียนโค้ด แต่เน้นไปที่การกำหนด Logic หรือ ตรรกะ… ประกอบ Data หรือ ข้อมูล และออกแบบการแสดงผล ไม่ต่างจากการออกแบบงานนำเสนอเป็นหลัก
Low Code ในปัจจุบันยังถือเป็นแนวคิดใหม่ในการออกแบบและพัฒนา Software Application อยู่ แม้จะมีการใช้และพัฒนาต่อเนื่องกันมาหลายปีแล้ว โดยเฉพาะในหมู่นักพัฒนา หรือ Developers ที่คลุกคลีอยู่กับการเขียนโค๊ดสร้างซอฟท์แวร์ ซึ่งในระยะหลังก็พัฒนามาถึงขั้นที่สามารถเขียนโค๊ดเพียงบางส่วนก็สร้างระบบให้ทำงานอย่างราบรื่นได้
แต่ Low Code ในนิยามที่กำลังตื่นตัวในแวดวงธุรกิจอยู่นี้ จะโฟกัสไปที่… การพัฒนา Software Application เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ให้กับธุรกิจและองค์กร ให้ได้เร็วและเชื่อถือได้มากที่สุด โดยผู้ใช้อาจจะไม่ต้องเรียนเขียนโปรแกรม หรือเขียนโค๊ดมาก่อน… เพียงแต่มี Logic และ Data ก็สามารถสร้าง High Value Information ใช้ได้เองภายในธุรกิจหรือองค์กร… ด้วยเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันเท่านั้น
โดยแนวทางการใช้งานก็ไม่ได้ต่างจากแนวคิดการพัฒนาซอฟท์แวร์สำเร็จรูป ที่เคยเอามาใช้ในสำนักงานยุคเก่ามากนัก เพียงแต่ Low Code Platform มีความพิเศษในการทำงานกับ Dynamic Data และ Big Data ไปจนถึง Automation Process ได้อย่างไม่จำกัดอีกต่อไปเท่านั้นเอง… นั่นทำให้การใช้ Low Code Platform ในองค์กรหรือธุรกิจ ก้าวไปสู่ขั้น “การพัฒนาซอฟท์แวร์ใช้เฉพาะตน” ได้อย่างยืดยุ่น เพื่อเปลี่ยนข้อมูลเป็นโอกาส รวมทั้งตัดวงจรสิ้นเปลืองเชื่องช้า ที่เคยต้องรอมนุษย์ออฟฟิตไปเข้าห้องน้ำหรือกินข้าว โดยผ่านข้อมูลที่จำเป็นให้ระบบอัตโนมัติทำงานกันเอง… และทั้งหมดนั้นอาจจะไม่ต้องจ้างโปรแกรมเมอร์ฝีมือขั้นเทพ หรือจ้างวิศวกรซอฟท์แวร์ฝีมือดีให้มาทำระบบอีกเลยด้วย
กรณีศึกษาของ AntTail ซึ่งเป็นระบบติดตามการส่งและจ่ายยาด้วย IoT จาก Netherlands ที่พัฒนาแบบ Low Code บน Mendix Platform ถือเป็นตัวอย่างการพัฒนาระบบที่ชัดเจนและโดดเด่นที่สุดตัวอย่างหนึ่ง
ผมขอข้ามรายละเอียดทางเทคนิคเกี่ยวกับ Low Code Platform ไปทั้งหมดก่อนน๊ะครับ… ในขั้นนี้ขอให้ท่านเข้าใจไว้เบื้องต้นประมาณว่า… ถ้าธุรกิจของท่านต้องการแพลตฟอร์มสำหรับใช้สอย ทั้งทดแทนกลไกธุรกิจเดิมที่เก่าแก่ใช้มานาน หรือ ต้องการสร้างโมเดลใหม่ให้ธุรกิจเพิ่มเติมด้วยแนวทางไหนก็ตาม… และโมเดลใหม่นี้ต้องการ “ระบบ” ที่ทันสมัยมาใช้งานในธุรกิจเพิ่มเติม… การพิจารณาเช่าใช้ระบบ Low Code Platform ที่เหมาะสม มาสร้างระบบของท่านขึ้นมาใหม่ โดยอาจจะไม่ต้องจ้างโปรแกรมเมอร์มาพัฒนาระบบให้เลยก็ได้
ส่วนรายละเอียดที่ยังค้างคาและอยากหาคำตอบเพิ่มเติม… Ad Line จาก QR Code ใต้บทความนี้ทักเข้ามาปรึกษาพูดคุยได้ตลอดเช่นเดิมครับ!!!
References…