ช่วงนี้ผมค้นข้อมูลและงานวิจัยด้านเทคโนโลยีอาหารเยอะมาก เพื่อ Update ความรู้ที่เกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supplychain ในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งการค้นคว้ารอบนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พิสูจน์ว่า Dunning–Kruger Effect หรือปรากฏการณ์ยิ่งเรียนรู้–ก็ยิ่งรู้ว่า–ตัวเองไม่ได้รู้อะไรเท่าไหร่เลย… อีกครั้งหนึ่ง
โดยเฉพาะประเด็นบรรจุภัณฑ์อาหาร RTE หรือ Ready–To–Eat ซึ่งผมค้างการบ้านกับเพื่อนใน Line: @properea บางท่านที่สอบถามเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์และการยืดอายุอาหาร RTE ที่ต้องการผลิตออกจำหน่าย ซึ่งถือเป็นอาหารแปรรูปขั้นต่ำหรืออาหารสด ให้สามารถเก็บรักษาด้วยอุณหภูมิห้องที่เรียกว่า Ambient Shelf Stable Packaging
เวบไซต์ businesswire.com ได้เผยแพร่รายงานอ้างอิงงานวิจัยของ Technavio Research ถึงการเติบโตของ Ambient Food Packaging Market หรือ Ambient Shelf Stable Market Packaging ระหว่างปี 2018–2022 ว่า… ตลาดนี้มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 4% ราว 103,520 ล้านหน่วย
เอาเป็นว่า… Ambient Shelf Stable Packaging มาแรงมากในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งหลายฝ่ายยังมองว่า… ท่ามกลางวิกฤต COVID19 และหลังจากนี้ไป การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมอาหารจะปรับเปลี่ยนเร็วมาก
คุณชัยวัฒน์ นันทิรุจ CEO บริษัท เอกา โกลบอล จำกัด ผู้นำตลาดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหารในประเทศไทยพูดไว้หลายเวทีว่า… โควิด–19 ส่งผลกระทบทางด้านบวกต่อบริษัทมาก เพราะบรรจุภัณฑ์ของบริษัทตอบโจทย์วิถีนิวนอร์มอลมากที่สุด หลังจากคนทั่วโลกต่างมองหานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัย ขณะเดียวกันก็ต้องอำนวยความสะดวกให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้น และลดการออกจากบ้านไปยังพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด–19 เพื่อซื้ออาหารบ่อยๆ
วันนี้ผมตัดจบดิบๆ แบบนี้ก่อนก็แล้วกันว่า… ท่านที่สนใจนำเมนูเด็ดๆ แปลงเป็น RTE Foods และต้องการยืดอายุสินค้า ปรึกษาทางคุณชัยวัฒน์ นันทิรุจ หรือไปที่ eka-global.com สอบถามกันดูก่อน… ข้อมูลในมือผมทราบว่า คุณชัยวัฒน์ นันทิรุจเปิดรับ SMEs ด้านอาหาร ไปใช้ห้องแล็บเพื่ออบรมความรู้เกี่ยวกับการบรรจุอาหารและบรรจุภัณฑ์แบบดัดแปรงบรรยากาศ หรือ Modified Atmosphere Packaging หรือ MAP อยู่ครับ!
ซึ่งเทคโนโลยี Modified Atmosphere Packaging หรือ MAP เป็นเทคนิคการถนอมอาหาร หรือ Food Preservation เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาอาหารสด ชะลอการเน่าเสีย ด้วยเทคนิคการลดปริมาณออกซิเจนลง และ เติมคาร์บอนไดออกไซด์ และไนโตรเจนเข้าไปแทนที่อากาศภายในบรรจุภัณฑ์ ตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับอาหารแต่ละชนิด… ซึ่งนวัตกรรม MAP จะเหมาะกับอาหารทั้ง เบเกอรี่ เค้ก คุกกี้ ขนมหวาน ผลไม้แห้ง อาหารแปรรูป และอาหารปรุงสำเร็จ
ผมยังมีข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีการยืดอายุอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหารที่อยากพูดถึงอีกมาก แต่ผมยังอยู่ในเฟสดำดิ่งตามทฤษฎี Dunning–Kruger อยู่… และเชื่อว่าอุตสาหกรรมอาหารก็กำลังคลำทางไปไม่ต่างกัน… ผมหล่นถึงท้องอ่าง Dunning–Kruger Effect แล้วจะสกัดข้อมูลมาอัพเดทแบ่งปันทุกท่านเพิ่มเติมครับ
อัางอิง