แผนบริหารที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2580

22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565… คุณไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงว่า… ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ “ร่างนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ พ.ศ. 2566 -2580” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบนโยบายและทิศทางในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศอย่างบูรณาการในระยะ 15 ปีข้างหน้าเพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินระยะกลาง หรือ ระยะ 5 ปี

ทั้งนี้… สามารถนำไปขับเคลื่อนในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศเป็นไปอย่างเหมาะสม เป็นไปในเชิงรุกและมีประสิทธิภาพ และ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ โดยคำนึงถึงมิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และ ความมั่นคงของประเทศ รวมถึงสามารถสร้างความสมดุลและยั่งยืนในการพัฒนาประเทศ

โดยร่างนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินฯ จะมีนโยบายหลัก 4 ด้าน 19 ตัวชี้วัด 11 แนวทางการพัฒนาหลัก และ 17 แผนงานที่สำคัญ โดยนโยบายหลัก 4 ด้าน ได้แก่ 

  1. นโยบายการสงวนหวงห้ามที่ดินของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพและการรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ มีตัวชี้วัด เช่น จำนวนพื้นที่ที่มีการจัดทำเส้นแนวเขตที่ดินของรัฐตามหลักเกณฑ์ One Map แล้วเสร็จ ที่ดินของรัฐถูกบุกรุกลดลง 
  2. นโยบายการใช้ที่ดินและทรัพยากรดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีตัวชี้วัด เช่น สัดส่วนของที่ดินที่ถูกทิ้งร้างหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ลดลง 
  3. นโยบายการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน มีตัวชี้วัด เช่น สัดส่วนผู้ยากไร้ไม่มีที่อยู่อาศัยหรือที่ดินทำกินลดลง ระดับรายได้ของผู้ได้รับการจัดที่ดินเพิ่มขึ้น 
  4. นโยบายการบูรณาการและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินอย่างมีเอกภาพ มีตัวชี้วัดเช่น มีระบบฐานข้อมูลที่ดินและทรัพยากรดินที่ทันสมัยและเป็นมาตรฐานเดียวกัน

ขณะเดียวกันร่างนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินฯ ดังกล่าวได้กำหนดเป้าหมายเป็นระยะในแต่ละนโยบายหลักทั้ง 4 ด้าน เช่น ในส่วนของนโยบายการสงวนหวงห้ามที่ดินของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพและการรักษาความสมดุลทางธรรมชาติโดยมีเป้าหมาย ประกอบด้วย

  • เป้าหมายระยะ 5 ปี… ปี 2566-2570 เช่น ปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแล้วเสร็จ
  • เป้าหมายระยะ 10 ปี… ปี 2571-2575 เช่น การลดปัญหาความขัดแย้งและข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชนลดลง และที่ดินของรัฐถูกบุกรุกน้อยลง
  • เป้าหมายระยะ 15 ปี… ปี 2576-2580 เช่น พื้นที่ป่ามีสัดส่วนร้อยละ 50 ของพื้นที่ประเทศ และผลลัพธ์สุดท้าย คือ แนวเขตที่ดินของรัฐมีความชัดเจน ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่ดินของรัฐและทรัพยากรธรรมชาติมีความสมดุลและยั่งยืน และประชาชนได้รับประโยชน์จากระบบนิเวศและมีส่วนร่วม

ประเด็นก็คือ ที่ผ่านมาปัญหาของระบบการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศที่ขาดเอกภาพในเชิงนโยบายและมีข้อจำกัดทางด้านกลไกและเครื่องมือ โดยอำนาจการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องด้านที่ดินกระจายอยู่ในหลายหน่วยงาน มีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องหลายคณะ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องบังคับใช้หลายฉบับ การบูรณากรการทำงานมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ขาดระบบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ… รวมถึงการจัดการที่ดินส่วนใหญ่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หรือ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่าการแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์ในระยาว จึงส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับที่เดิน เช่น การทับซ้อนของแนวเขตที่ดินของหน่วยงานต่างๆ ที่นำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับภาครัฐ ความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรรมในการเข้าถึงทรัพยากรที่ดิน การกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน การไร้ที่ดินทำกิน การบุกรุกที่ดินของรัฐ การใช้ประโยชน์ไม่ตรงตามศักยภาพของที่ดิน ตลอดจนการทิ้งร้างไม่ทำประโยชน์ ล้วนเป็นปัญหาที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานและป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

green economy

BCG Model… แนวทางและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชาติ เป็นรูปเป็นร่างแล้ว?

BCG Model เป็นยุทธศาสตร์ใหญ่ ถึงขั้นรวบรวมห่วงโซ่มูลค่า หรือ Value Chain ของ 5 อุตสาหกรรม S-curves หลัก ได้แก่… อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ… การแปรรูปอาหาร เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ… การแพทย์ครบวงจรและการท่องเที่ยว บูรณาการเข้าด้วยกัน เป็นฐานการสร้างมูลค่าเพิ่มขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งปัจจุบันมี “สัดส่วนใน GDP ถึง 21%” และเกี่ยวข้องกับอาชีพและการจ้างงานของคนในประเทศมากกว่า 16.5 ล้านคน

Chiang Mai Initiative Multilateralisation… กลไกการเงินการคลังของอาเซียน +3

มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ หรือ Chiang Mai Initiative หรือ CMI เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 2540-2541 โดยประเทศต่างๆ ได้ประสบปัญหาดุลการชำระเงินโดยการขาดสภาพคล่องในระยะสั้น และต่อมาได้เข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนี้ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภูมิภาคในหลายด้าน ทั้งในแง่ของการขยายตัวและเสถียรภาพของเศรษฐกิจ และเสถียรภาพด้านต่างประเทศของประเทศในภูมิภาค

HONGQI H9 #สุดสัปดาห์พาดูรถ

การประชุมสุดยอดผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 หรือ APEC 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ตั้งแต่วันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2022 ซึ่งมีผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC จาก 21 ประเทศ และ แขกพิเศษเข้าร่วมการประชุมอย่างอบอุ่น… โดยเฉพาะการมาของผู้นำจีนอย่างประธานาธิบดีสี จิ้นผิง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งถือเป็นการเยือนประเทศไทยครั้งแรกนับตั้งแต่ท่านดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจีน… แต่บารมีและความยิ่งใหญ่ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงสำหรับคนไทยในชั่วโมงนี้ กลับเป็นรอง “รถยนต์ประจำตำแหน่ง” ที่ทีมอารักขาของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงขนมาเองจากเมืองจีน… ซึ่งเป็นรถ HONGQI หรือ หงฉี รุ่น H9 3.0T Flagship แบบ 4 ที่นั่ง… 

Real estate Video Marketing

Real Estate Video Marketing… ทักษะสำคัญคนอสังหายุคหลัง COVID-19

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบพึ่งนายหน้าแบบเดิมจะค่อยๆ หายไป โดยเฉพาะนายหน้าอิสระและรายเล็กที่ไม่มีเครือข่ายนักลงทุนของตัวเอง เพราะแม้แต่โฆษณาขายเช่าบ้านมือสองและที่ดินเปล่าก็ปรากฏว่า เจ้าของทรัพย์ล้วนเป็นคนลงประกาศและโฆษณาขายทรัพย์ของตัวเองกันเป็นส่วนใหญ่… ส่วนการทำสัญญานายหน้าแบบปิด ก็ยินยอมในบางกรณีและมีระยะเวลาคุ้มครองตามสัญญานายหน้าเพียงสั้นๆ