Labelling Elliott Wave Patterns… การติดป้ายเพื่อนับคลื่น

Elliott Wave

การวิเคราะห์ราคาหลักทรัพย์ด้วย Elliott Wave ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจ “จังหวะขึ้นลง” ของราคา โดยอ้างอิงคาบเวลา หรือ  Timeframe ที่ซ้อนทับกันอยู่ของ Timeframe หรือ TF สั้นกับ TF ยาว… เช่น TF 5M หรือ TF ราย 5 นาที ก็จะมี TF 1M หรือ TF ราย 1 นาที ถูกครอบทับไว้ 5 คาบ… ซึ่งการเคลื่อนไหวของกราฟราคาใน TF เล็ก จะเป็นส่วนหนึ่งในความเคลื่อนไหวของกราฟราคาใน TF ที่ใหญ่กว่า  และ กราฟราคาในแต่ละ TF เองก็จะมี “จังหวะขึ้นลง หรือ รอบราคา” ของตัวเองเช่นเดียวกัน… แต่ที่ต้องเข้าใจก่อนก็คือ Elliott Wave Timeframe ไม่ได้ล็อคเวลาเปะๆ เหมือน Candlestick Timeframe ซึ่งใช้วิเคราะห์ผ่านมุมมอง และ บริบทที่ต่างกัน

ท่านกำลังอ่านบทความชุด Elliott Wave Principle… ตามทฤษฎีของ Ralph Nelson Elliott  ซึ่งเขียนขึ้นเป็นหลายตอน เพื่อเจาะลึกเอารายละเอียดในระดับที่ชัดเจนพอจนกลายเป็นแนวทางตั้งต้น ในการเรียนรู้ฝึกฝนด้วยตัวเองสำหรับทุกท่านที่สนใจแนวทางนี้… ตอนนี้เป็นตอนที่ 2 ต่อจาก Elliott Wave Principle… ปฐมบท ครับ

หัวใจสำคัญของการวิเคราะห์กราฟราคาหลักทรัพย์ด้วย Elliott Wave… จำเป็นต้องพิจารณาอ้างอิงคาบเวลาแบบ Elliott Wave ให้เห็นการซ้อนทับของคลื่นราคาก่อนอื่น… โดยรูปแบบ หรือ Pattern ของกราฟราคาใน TF ที่กว้างกว่า ก็จะเห็นวงจรราคาบนกราฟเป็น “โครงสร้างคลื่นขนาดใหญ่ หรือ Larger Wave Structures” โดยมี “โครงสร้างคลื่นขนาดเล็ก หรือ Smaller Wave Structures” ซ้อนอยู่… และไม่ว่าจะเป็นคลื่นขนาดไหน ก็จำเป็นต้องถูกนับวงจรเพื่อใช้ตรวจสอบระหว่างกัน จนเห็นภาพที่สอดคล้องกันของการเคลื่อนไหวจนครบจำนวนคลื่นตามแนวโน้ม หรือ Motive Wave ให้ครบ 5 คลื่น แล้วตามด้วยคลื่นพักตัว หรือ คลื่นทวนแนวโน้ม หรือ Corrective Wave อีก 3 คลื่น… เสมอ

โครงสร้างกราฟราคาแบบแยกคลื่นขนาดใหญ่ กับ คลื่นขนาดเล็กออกจากกัน

ประเด็นก็คือ… เมื่อจำเป็นต้องพิจารณาโครงสร้างของคลื่นราคาที่ซับซ้อนอยู่ในกราฟ เพื่อวิเคราะห์แบบ Elliott Wave ซึ่งมีคลื่นขนาดใหญ่ครอบคลื่นขนาดเล็กไล่กันไปเป็นชั้นๆ โดยไม่ให้งงต้องทำยังไง… Ralph Nelson Elliott ใช้เทคนิคการ Labeling Wave Degrees หรือ การติดป้ายให้ยอดคลื่นแต่ละชั้น… เพื่อป้องกันความสับสน โดยกำหนดเป็นรูปแบบตามทฤษฎีเอาไว้ 9 รูปแบบ ได้แก่… 

  1. Grand supercycle… ใช้เลขโรมันและตัวอักษรพิมพ์เล็กในวงเล็บสองชั้นหรือในวงกลมสองชั้น ได้แก่ ((I)), ((II)), ((III)), ((IV)), ((V)), ((a)), ((b)), ((c))
  2. Supercycle… ใช้เลขโรมันและตัวอักษรพิมพ์เล็กในวงเล็บหรือในวงกลม ได้แก่ (I), (II), (III), (IV), (V), (a), (b), (c)
  3. Cycle… ใช้เลขโรมันและตัวอักษรพิมพ์เล็ก ได้แก่ I, II, III, IV, V, a, b, c
  4. Primary… ใช้เลขอาราบิกและตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ในวงเล็บสองชั้นหรือในวงกลมสองชั้น ได้แก่ ((1)), ((2)), ((3)), ((4)), ((5)), ((A)), ((B)), ((C))
  5. Intermediate… ใช้เลขอาราบิกและตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ในวงเล็บหรือในวงกลม ได้แก่ (1), (2), (3), (4), (5), (A), (B), (C)
  6. Minor… ใช้เลขอาราบิกและตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ ได้แก่ 1, 2, 3, 4, 5, A, B, C
  7. Minute… ใช้เลขโรมันเล็กและตัวอักษรพิมพ์เล็กในวงเล็บสองชั้นหรือในวงกลมสองชั้น ได้แก่ ((i)), ((ii)), ((iii)), ((iv)), ((v)), ((a)), ((b)), ((c))
  8. Minuette… ใช้เลขโรมันเล็กและตัวอักษรพิมพ์เล็กในวงเล็บหรือในวงกลม ได้แก่ (i), (ii), (iii), (iv), (v), (a), (b), (c)
  9. Subminuette… ใช้เลขโรมันเล็กและตัวอักษรพิมพ์เล็ก ได้แก่ i, ii, iii, iv, v, a, b, c
การทำ Waves Labelling แบบผสม Minor กับ Minute

ส่วนที่ยากที่สุดของการใช้ Elliott Wave มีอยู่เพียงเรื่องเดียวคือ… จะติดป้ายนับคลื่นที่ยอดกราฟ และ จุดกลับตัวยอดไหนอย่างไรไม่ให้ผิด… เพราะถ้าติดป้ายผิดหนึ่งยอด โอกาสที่จะทำให้การวิเคราะห์ส่วนที่เหลือผิดพลาดหมดก็มีมาก เหมือนกลัดกระดุมเม็ดแรกผิด… ย่อมเกิดโศกนาฏกรรมขึ้นกับแผนการลงทุน และ กลยุทธ์การเข้าออกออเดอร์ได้… Ralph Nelson Elliott จึงศึกษา “ธรรมชาติของคลื่นราคา” ซึ่งพบรูปแบบการเกิดซ้ำๆ จนสามารถตั้งเป็นกฏการระบุ “ยอดกราฟ และ จุดกลับตัว” ที่สามารถใช้เป็นกฏการตัดสินว่า ปลายจุดกลับตัวแบบไหนให้นับ หรือ ติดป้ายได้… และ จุดกลับตัวแบบไหนที่ต้องรอและข้ามผ่านเพราะไม่เข้าเกณฑ์ตามกฏที่จะปักป้ายนับให้ป่วนการตัดสินใจ

ตอนหน้ามาคลี่ดูกฏในการระบุตำแหน่งคลื่นที่ใช้นับและวิเคราะห์ด้วยกันครับ!

บทความในชุด Elliott Wave Principle…

  1. Elliott Wave Principle… ปฐมบท
  2. Labeling Elliott Wave Patterns… การติดป้ายและนับคลื่นราคา
  3. Elliott Motive Waves And Corrective Waves…
  4. Motive Impulse Wave And Motive Diagonal Wave
  5. Corrective Sharp Correction และ Corrective Sideways Correction

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Waiting in Line

Health First Concerned และบริการแบบไร้รอ…

Health First Concerned ที่ยกมาวันนี้ หมายถึง พฤติกรรมที่กระทบความเชื่อมั่นเรื่องสุขอนามัย ที่ธุรกิจต้องสื่อสารการตลาดเรื่องนี้จนเด่นชัด…

Render Token และ Render Network®

Render Token หรือ RNDR เป็นเครือข่าย GPU แบบกระจายศูนย์ที่สร้างขึ้นบน Ethereum Blockchain โดยมีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงศิลปินดิจิทัล และ สตูดิโอที่ต้องการศิลปะ และ คอนเทนต์ดิจิทัลที่ต้องใช้พลังประมวลผลของ GPU เยอะๆ ซึ่ง Render Network® และ พันธมิตรมีทุกอย่างบริการบนเครือข่าย Render Network® ในระดับเดียวกับ Digital Art Marketplace โดยมีเครือข่าย OTOY Cloud Rendering ซึ่งให้บริการ 3D Redering มาตั้งแต่ปี 2009 และ เปิดเชื่อมบริการกับเครือข่ายบล็อกเชน Render Network® ที่เปิดตัวในปี 2017 ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือต่อการจ้างทำ ซื้อ ขาย เช่าศิลปะดิจิทัล และ งาน 3D ที่ Smart Contracts จะเข้ามาจัดการความโปร่งใส คุณค่า และ ความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นโดยปริยาย

Siemens Mobility ในงาน Asia Pacific Rail 2022…

งาน Asia Pacific Rail 2022 ที่ Halls EH 103 – 104 ภายในศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ซึ่งเป็นงานใหญ่ระดับภูมิภาคในแวดวงวิศวกรรมทางรางที่กลับมายิ่งใหญ่พร้อมกับเทคโนโลยี IoT – AI – Big Data และงานวิศวกรรมชั้นสูงที่ผลักดันให้การขนส่งทางรางเชื่อถือได้ยิ่งกว่ายุครถไฟรุ่งเรื่องของสตวรรษก่อนๆ

SETI AI… ปัญญาประดิษฐ์เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาจากต่างดาว

โครงการวิจัยทางดาราศาสตร์หัวข้อ A Deep-Learning Search For Technosignatures From 820 Nearby Stars โดยทีมนักศึกษาจาก University of Toronto ภายใต้การนำของ Peter Xiangyuan Ma ได้ตีพิมพ์ผลงานในวารสาร Nature Astronomy เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2023 ที่ผ่านมา… ซึ่งได้ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ช่วยค้นหาสัญญาณสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาต่างดาว… ซึ่งมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นกว่าการวิเคราะห์สัญญาณแบบอื่นๆ ทั้งหมดเท่าที่เคยมีการพัฒนาใช้มาในหมู่นักดาราศาสตร์ที่ SETI Institute