ในยุคที่ธุรกิจแพลตฟอร์มเฟื่องฟู เพราะจำเป็นต่อการทำธุรกิจน้อยใหญ่ซึ่งเส้นทางธุรกิจ หรือ Business Journey และ เส้นทางของลูกค้าธุรกิจ หรือ Customer Journey ต่างก็จำเป็นต้องใช้แพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตทำหลายอย่างทั้งเพื่อแก้ปัญหาและสร้างโอกาส
แต่การจะสร้างหรือพัฒนาแพลตฟอร์มธุรกิจ ซึ่งต้องใช้โปรแกรมเมอร์และวิศวกรซอฟท์แวร์ในยุคที่โปรแกรมเมอร์ทักษะสูงๆ ต่างก็แยกตัวไปสร้างแพลตฟอร์มของตัวเอง โดยมีเงินทุนจาก Angel Investors แห่แหนตามไปขอเป็นหุ้นส่วนจนต้องคัดทิ้งก็มี
แต่ทุกแพลตฟอร์มต่างก็ต้องการฝีมือแรงงานโปรแกรมเมอร์ทักษะดีมีประสบการณ์มาร่วมงาน หรือ มาช่วยงานกันทั้งสิ้น แต่คนในวงการต่างก็รู้ว่าค่าตัว หรือ ค่าหัวโปรแกรมเมอร์ที่ Portfolio และ ประวัติผลงานน่าคบค้าหาไว้ใช้นั้นไม่ถูก… แต่ที่แย่กว่าการจะต้องตั้งงบค่าจ้างแพงๆ ไว้ล่วงหน้ายังไม่เท่ากับไม่รู้จะไปจ้างใครที่ไหนมาช่วยงาน เพราะแม้แต่แพลตฟอร์มรวยๆ ใน Silicon Valley ส่วนใหญ่ก็ประกาศจ่ายค่าจ้างสูงสุดในตลาดเสมอ เพื่อรักษาโปรแกรมเมอร์ทักษะเลิศที่แพลตฟอร์มขาดไม่ได้เอาไว้ โดยไม่ถูกใครมาเสนอจ้างแพงกว่า
ปัญหาโปรแกรมเมอร์ขาดแคลนเป็นปัญหาระดับโลก จนมีคนสร้างแพลตฟอร์มหาโปรแกรมเมอร์มาช่วยงาน ซึ่งสามารถทำ Cross Border Hiring หรือ จ้างงานโปรแกรมเมอร์ข้ามชาติได้อย่างเชื่อมั่น พร้อมบริการช่วยสัมภาษณ์ หรือ Interviewing ก่อนการจ้างงานอย่างมั่นใจว่าได้คนตรงงาน เพื่อให้ได้ผลงานตรงตามที่ต้องการด้วย… ซึ่งต่างจากแพลตฟอร์มการจ้างงานฟรีแลนซ์ที่รู้ได้ยากว่าใครเป็นๆ ใคร เพราะเห็นมีแต่โปรไฟล์กับ Customers Review ทั้งชมทั้งด่าจนไม่กล้าจ้าง
Jeffrey Spector และ Mohit Bhende สองผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์ม Karat ซึ่งเรียกตัวเองว่าเป็น Interviewing Cloud Platform เฉพาะทาง เพื่อให้บริการหาโปรแกรมเมอร์ทักษะดีตามที่ต้องการของผู้สนใจจ้างงานโปรแกรมเมอร์ ซึ่งแพลตฟอร์มให้บริการ Interviewing-as-a-Service เหมือนเป็นฝ่ายบุคคลและ CTO ของผู้ว่าจ้างในที่บริการเดียว
Karat Interviewing Cloud Platform เปิดตัวในปี 2014 ในยุคที่โปรแกรมเมอร์ใน Silicon Valley ขาดแคลนและค่าตัวสูงจนธุรกิจแพลตฟอร์มโมเดลดีๆ ทำท่าจะตายน้ำตื้นกันมากมาย ถึงแม้จะนำเข้ามนุษย์โค้ดดิ้งจากอินเดียไม่จำกัด แต่ก็เจอปัญหาการโกง CV และ Portfolio จนสร้างปัญหาจ้างแพงทำงานไม่คุ้มและต้องจ้างออกแพงอย่างน่าเสียดายปล่าวๆ
Karat ให้บริการตั้งแต่เปิดตัวมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีลูกค้าเป็น Platform Business… Software House และ ธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่ผิดพลาดไม่ได้เพราะขาด Programming Technician ฝีมือดีไว้ช่วยงาน จนเห็นมีชื่อ Ford Motor… Bank of America… Schlumberger… American Express… Coinbase และอีกมาก มีชื่อเป็นลูกค้าด้วย… โดยมีเงินลงทุนจาก Tiger Global Management ของ Scott Shleifer นำการลงทุนโดย Angel Investors อีก 12 บริษัท ใส่เงินให้ Karat ใน Series C ทำให้เงินลงทุนที่ระดมได้ตั้งแต่ Pre-seed จนถึง Series C มีมูลค่า 169.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อเติบโตเป็น Unicorn Startup ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้แน่นอน
รายละเอียดทางเทคนิคและโมเดลแพลตฟอร์มขอข้ามที่จะลงรายละเอียดครับ!
References…