JLL หนึ่งในผู้ให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก

ท่านเคยสงสัยมั๊ยครับว่า… เศรษฐีติดอันดับโลกเขาบริหารและดูแลทรัพย์สินให้งอกเงยอย่างไร โดยเฉพาะการลงทุนและการจัดการอสังหาริมทรัพย์ ที่ทุกท่านน่าจะมองออกว่า คนเหล่านี้มีภาระกิจและธุรกิจมากมาย ที่ไม่มีเวลามาดูที่ ตรวจบัญชีหรือนั่งอ่านข้อเสนอแนะการลงทุนที่ข้อมูลมีมากมายจนตายแล้วเกิดใหม่สิบรอบก็อาจจะอ่านและศึกษาไม่หมด

Jones Lang LaSalle

ผมกำลังจะบอกว่า… พวกเขามอบความไว้วางใจให้ “ผู้เชี่ยวชาญ” แต่ละเรื่องไปดูแลครับ! จะเป็นเรื่องหุ้น เรื่องกองทุน เรื่องอสังหา เรื่องทองคำ เรื่องน้ำมัน เรื่องตลาดซื้อขายล่วงหน้า เรื่องอัตราแลกเปลี่ยน… และอะไรอีกมากมายที่จะทำให้เงินและทรัพย์สินของพวกเขางอกเงยและสร้างผลตอบแทนต่อเนื่องเหมือนสายน้ำที่ไหลเข้าตลอดเวลา

ในวงการอสังหาริมทรัพย์… “ผู้เชี่ยวชาญระดับโลก” ที่รับงานตั้งแต่เป็นที่ปรึกษาจนถึงกลไกการจัดการอย่างซื้อขายเช่าอสังหาริมทรัพย์ ที่นักลงทุนทั่วโลก “วางใจและใช้บริการ” จะมีชื่อ Jones Lang LaSalle Incorporated หรือ JLL ติดอันดับอยู่ด้วยอย่างแน่นอน

JLL เป็นตัวแทนลูกค้าในการซื้อ ขาย เช่า ให้เช่า สร้าง และลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หลายประเภท ทั้งอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า ที่พักอาศัย โรงงาน/โกดังสินค้า และโรงแรม ลูกค้าของ JLL มีอยู่ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจข้ามชาติ ตั้งแต่บริษัทเทคโนโลยีเปิดใหม่ ไปจนถึงบริษัทใหญ่ระดับโลกในหลากหลายภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

เวบไซต์ของ JLL ประเทศไทยให้ข้อมูลว่า… ปัจจุบัน JLL ดูแลบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์และสถานประกอบการคิดเป็นพื้นที่รวมทั้งสิ้น 4,600 ล้านตารางฟุต…. และเป็นตัวแทนจัดการเจรจาตกลงสัญญาเช่า 33,700 รายการ คิดเป็นพื้นที่เช่ารวมทั้งสิ้น 784 ล้านตารางฟุต… กับพนักงานเกือบ 85,000 คน

JLL มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Chicago ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1783 โดย Frederick Jones ทายาทผู้สืบทอดธุรกิจประมูลทรัพย์สินจาก London ที่สืบย้อนกลับไปถึงช่วงปี 1840 ทีเดียว… กระทั่งปี 1872 Frederick Jones เกษียณอายุลงและหุ้นส่วน C.A. Lang เข้าบริหารต่อและเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก Frederick Jones and Co. เป็น Jones Lang and Co. แต่นั้นมา

ปี 1939 ได้มีการควบรวมกิจการกับ Wootton & Son และเปลี่ยนชื่อบริษัทอีกครั้งเป็น… Jones Lang Wooton & Sons. และเปิดสำนักงานอย่างเป็นทางการใน New York ในปี 1975 เป็นแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา… 

อีกด้านหนึ่ง… นักลงทุนอสังหาในเมือง EL Paso, Texus ได้รวมตัวกันในนาม IDC Real Estate… โดยปี 1977 ก็ย้ายบริษัทหรือสำนักงานใหญ่จาก El Paso มา Chicago แล้วเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น LaSalle Partners ก่อนจะได้ IPO หรือ Initial Public Offering หรือเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะและกลายเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นนิวยอร์คในปี 1997… และควบรวมกิจการกับ Jones Lang Wooton ในเดือนมีนาคมปี 1999 และกลายเป็น JLL หรือ Jones Lang LaSalle Incorporated. ตั้งแต่นั้นมา

Aon Center, Chicago
สำนักงานใหญ่ JLL ปัจจุบัน

ปัจจุบัน JLL มีทรัพย์สินกว่า 16.318 พันล้านดอลลาร์ ให้บริการ Leasing Property Management, Facility management, Real estate development, Capital markets, Advisory และ Consulting

ถ้าท่านคิดใหญ่ในวงการอสังหา… อยากลองใช้บริการ Consultancy ของ JLL ก็ลองพูดคุยดูได้ครับ… โดยส่วนตัวผมก็ใช้ข้อมูลงานวิจัยทั่วไปที่ JLL เผยแพร่อ้างอิงในหลายๆ วาระบ่อยๆ… แต่ก็ไม่เคยติดต่อขอใช้บริการใดๆ กับ JLL มาก่อน ส่วนข้อมูลฝั่ง Startup ที่ผมคลุกคลีอยู่ก็มีข้อมูลชี้ว่า… Startup ชื่อดังอย่าง WeWork ก็ใช้บริการ JLL ในการขยายเครือข่ายในเกือบทุกประเทศที่ WeWork ขยายตัวไป… รวมทั้งได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่ที่เป็น Developers รายใหญ่ๆ หลายท่านแนะนำเรื่อง “หาตัวช่วยที่เก่งกว่าเรา” โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศและการลงทุนระดับโลกบ่อยๆ

…และชื่อ JLL มีอยู่ในรายชื่อของที่ปรึกษาการลงทุนเก่งๆ จากหลายท่านที่ผมได้ยินมา

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Space as a Services…

ผมติดตามข่าวคราว Startup นาม WeWork มาไม่นานนัก ซึ่งจะว่าไปแล้วผมไม่ได้สนใจ WeWork เท่าไหร่ในตอนแรก กระทั่ง WeWork ปักหมุดที่กรุงเทพฯ ผมจึงรู้ว่า Space as a Sevices Model ที่ WeWork ขับเคลื่อน… มีมิติให้สัมผัสได้มากกว่าการลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์อย่างที่เคยมีมา

Industrial Startup

One Province One Startup… หนึ่งจังหวัด หนึ่งวิสาหกิจเริ่มใหม่

โครงการ 1 จังหวัด 1 วิสาหกิจเริ่มใหม่ หรือ One Province One Startup โดยผลการดำเนินงานนี้ จะเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน หรือ KPI ของอุตสาหกรรมจังหวัด… เมื่อสำเร็จในระดับต้นแล้ว ให้ร่วมกันสนับสนุนและพัฒนา Startup ไปสู่ระดับยูนิคอร์น Unicorn ซึ่งหมายถึงธุรกิจสตาร์ตอัพนั้นจะต้องมีมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 30,000 ล้านบาท

Z-wave, Zigbee, Bluetooth, Wifi และ Smart home

เรามาถึงยุคของการเชื่อมต่อไร้สายสมบูรณ์แบบ แม้ว่าทุกครั้งที่มองเสาไฟฟ้าหน้าบ้าน จะเห็นความรุงรังของสายสัญญาณอินเตอร์เน็ตสารพัดความเร็วที่คำโฆษณาพาเราเคลิ้มไปถึงไหนๆ

Covid-19, Economic Recession

ถ้า GDP ไทยต่ำกว่า -5%

หลายๆ ท่านในภาคธุรกิจคงมี Scenario บนสมมุติฐานที่ธุรกิจติดขัดฝืดเคืองจากปัจจัยที่ท่านเองน่าจะมองขาดว่ามีอะไรที่กระทบบ้างกันอยู่แล้ว… ที่จะขอก็เพียงแค่ อย่าได้ “หวังว่า” ปัจจัยด้านลบและด้านที่กระทบ จะดีกว่าที่คาดเท่านั้นเอง แล้วหันมาดูจุดแข็งและทรัพยากรที่เหลืออยู่โดยไม่ได้รับผลกระทบ และโฟกัสปัจจัยเหล่านั้นเป็นโอกาสดูก่อน… หรือเลวร้ายสุดถึงขั้นต้องสละเรือแบบทิ้งทุกอย่างไว้กลางมหาสมุทรตรงนั้น เพื่อขึ้นแพเข้าฝั่งไปตั้งหลักใหม่ก็รีบทำ