IOTA เป็นโครงการพัฒนาบล็อกเชนเพื่อใช้งานสำหรับ Machine-To-Machine เป็นหลัก โดยเฉพาะการใช้งานบล็อกเชนร่วมกับอุปกรณ์ IoT หรือ Internet-Of-Thing ซึ่งนับวันจะยิ่งมีความเกี่ยวพันลึกซึ้งกับชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น
ข้อมูลบนเวบไซต์หลักของ IOTA หรือ iota.org ระบุชัดเจนว่า… IOTA มีเป้าหมายที่จะเป็นส่วนสำคัญในยานยนต์และการคมนาคมขนส่ง รวมทั้งเครือข่ายโลจิสติกส์ทั้งระบบ… นอกจากนั้นยังออกแบบไว้ให้เหมาะสมกับภาคการผลิตและโรงงานอุตสาหกรรม… ครอบคลุมโครงข่ายการค้าระหว่างประเทศ… อุตสาหกรรมการแพทย์และข้อมูลสุขภาพ… Smart Cities และ Digital Identity ได้ทั้งข้อมูลบุคคล สัตว์และสิ่งของ
David Sønstebø และสมาชิกทีมก่อตั้งอีก3 คนคือ Dominik Schiener กับ Sergey Ivancheglo และ Serguei Popov ได้ช่วยกันเปิดตัวโครงการบล็อกเชน IOTA ขึ้นในปี 2015 และระดมทุนได้ 1300 BTC ซึ่งมีมูลค่าในขณะนั้นราว 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ เปิดใช้งานแพลตฟอร์มในปี 2016
เทคโนโลยีของ IOTA ใช้หลักการจัดการธุรกรรมแบบรวมศูนย์ ซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับ Blockchain Node หรือ เครือข่ายการตรวจสอบธุรกรรมแบบกระจายศูนย์ เพื่อให้ความสำคัญกับความโปร่งใสเหมือน Blockchain สายขุด… โดย IOTA ต้องการโฟกัสความเร็วในการยืนยันธุรกรรม เพื่อให้ธุรกรรมระดับ Machine-To-Machine เกิดขึ้นได้รวดเร็วแม่นยำที่สุดมากกว่า… IOTA จึงเลือกใช้อัลกอลิทึมแบบ Directed Acyclic Graph หรือ DAG โดยตั้งชื่อเรียกเฉพาะว่า Tangle ให้เป็นกลไกการยืนยันธุรกรรมแทนแบบ Proof-Of-Work ของบิตคอยน์และของบล็อกเชนส่วนใหญ่ในเวลานั้น ซึ่งมีปัญหาเรื่องคอขวดธุรกรรมรอยืนยันเพราะต้องสร้างบล็อกทีละบล็อกบนโซ่ข้อมูลเส้นเดียวต่อกันไปเรื่อยๆ ในขณะที่ Tangle ของ IOTA จะใช้การยืนยันบล็อกข้อมูลบนโซ่ข้อมูลหลายชุดได้ไม่จำกัด เพียงแต่มีการอ้างอิงบล็อกข้อมูลยืนยันย้อนกลับและไขว่กันตาม DAG Algorithm ก็พอ
IOTA จัดตั้ง IOTA Foundation ขึ้นมาดูแล โดยมีเหรียญดิจิทัล MIOTA เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลในระบบ และใช้ IOTA Token สำหรับแลกเปลี่ยนมูลค่าในโครงข่าย… โดย 1 MIOTA จะมี 1,000,000 IOTA Token… แต่ธุรกรรมบน IOTA Blockchain ไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ มาตั้งแต่ต้น ซึ่งถือว่าโดดเด่นอย่างมากมานาน กระทั่งเกิดคู่แข่งบล็อกเชนเพื่อ M2M และ IoT ฟรีค่าธรรมเนียมอีกมากในระยะหลังอย่าง Nano Blockchain หรือ Coti.io
IOTA Foundation มีสำนักงานอยู่ในกรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมนี โดยมีพันธมิตรรายใหญ่อย่าง Microsoft… Fujitsu และ Volkswagen Group เป็นแกนนำ โดยราคา IOTA Token บน CoinMarketCap.com ช่วงค่ำวันที่ 27 สิงหาคม ปี 2021 อยู่ที่ 0.9997 USD/IOTA ด้วย MarketCapital ที่ 2,779.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ… เป็นเหรียญดิจิทัลลำดับที่ 46
IOTA Blockchain เป็นอีกหนึ่งเครือข่ายที่มีความพยายามในการme Phishing หรือ การตกเหยื่อ และ Scamming หรือ การตบตา รวมทั้ง Hacking หรือ การโจรกรรมทางไซเบอร์ มาตั้งแต่ต้น และ เกิดความเสียหายขึ้นในเดือนมกราคมปี 2018 เมื่อ IOTA Token มูลค่ากว่า 10,000,000 ดอลลาร์สหรัฐถูกโจรกรรมด้วยเทคนิค Seed Creator ซึ่งเป็นการสร้าง Seed Keyword สำหรับกู้คืน IOTA Wallet โดยแฮกเกอร์ และ เข้าครอบครองโทเคนบน Wallet แทนเจ้าของตัวจริงได้ทั้งหมด ซึ่งมีผู้เสียหายถึง 85 รายในคราวนั้น… ต่อมาในเดือนมกราคมปี 2019 ก็ได้มีการจับกุมชายวัย 36 ปีได้ที่เมือง Oxford ประเทศอังกฤษในข้อหาโจรกรรม IOTA Token ในคดีนี้
อย่างไรก็ตาม… IOTA Blockchain ในทางเทคนิคยังถือว่าเป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่โดดเด่นสำหรับพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับ IoT และ Machine-To-Machine อย่างมากอยู่เช่นเดิม… โดยเฉพาะการ Upgrade ให้สามารถใช้งานร่วมกับ Smart Contracts และมี Layer 2 Protocol ให้ใช้งานได้อย่างยืดยุ่นในปัจจุบัน…
คำเตือนครับ… บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลทั่วไปโดยสุจริตของเหรียญ IOTA โดยไม่ได้ชี้ชวนหรือให้ข้อมูลสนันสนุนการลงทุนที่มีความเสี่ยงใดๆ การอ้างบทความนี้เพื่อการลงทุนจึงเป็นการตัดสินใจและความรับผิดชอบของนักลงทุนทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว
ส่วนท่านที่สนใจเทคโนโลยี IOTA Blockchain เพื่อพัฒนา IoT Project หรือ Machine-To-Machine Project… ขอทักทางไลน์ส่วนตัวที่ ID: dr.thum ครับ
References…