พัฒนาการของเทคโนโลยีการก่อสร้างในแนวทาง Off-Site Construction หรือ การก่อสร้างนอกที่ตั้ง ซึ่งในทางเทคนิคจะหมายถึงการก่อสร้างอาคารสถานที่ด้วยแนวคิด Prefabrications และ Modular Construction ซึ่งจะผลิตชิ้นส่วนระดับโครงสร้างเกือบสมบูรณ์แบบ ก่อนจะนำไปติดตั้งในพื้นที่ก่อสร้างแทนการนำวัสดุก่อสร้างไปแปรรูปในพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งมีปัญหาในการจัดการทางเทคนิคและวิศวกรรมมากมาย จนงานก่อสร้างส่วนใหญ่ที่ทำกัน On-Site ล่าช้าและวุ่นวายมาก
ปัจจุบัน Off-Site Construction มีการแตกสาขาออกเป็น Off-Site Manufacturing หรือ OSM… Off-Site Production หรือ OSP และ Off-Site Fabrication หรือ OSF ซึ่งกำลังพลิกโฉมหน้าวงการก่อสร้างครั้งสำคัญเหมือนการสร้างตึกอพาร์ตเมนต์ Mini Sky City ขนาด 800 ยูนิต สูง 57 ชั้นในมณฑลหูหนาน หรือ Hunan เสร็จใน 19 วันซึ่งมีบริษัทก่อสร้างอีกหลายแห่งทั่วโลกประกาศจะสร้างสถิติใหม่ให้เหนือกว่าอาคาร Mini Sky City อีกมากในปัจจุบัน
เทคโนโลยีการก่อสร้างแบบ Prefabrications และ Modular Construction ซึ่งโฟกัสประสิทธิภาพทุกด้าน จึงเป็นอนาคตของวงการก่อสร้าง ซึ่งมองผ่านเฉพาะงานวิจัยใหม่ๆ ที่ตีพิมพ์ช่วง 5-10 ปีมานี้ก็ชัดเจนว่า… การวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรงานก่อสร้างยุคใหม่ ส่วนใหญ่ออกแบบเพื่องานติดตั้งมากกว่า ส่วนการแปรรูปวัสดุก่อสร้างถูกวิจัยและพัฒนาเป็น “ชิ้นส่วนอาคาร หรือ สิ่งก่อสร้าง” ซึ่งเป็น Off-Site Production หรือ OSP จากผลผลิตของ Off-Site Manufacturing ซึ่งมักจะอยู่ในรูปของ Off-Site Fabrication หรือ OSF และ เพียงติดตั้ง หรือ Installation แทนที่จะเป็น Construction หรือ ก่อสร้างในที่ หรือ On-Site แบบเดิม
ที่สำคัญกว่านั้นคือ… ปัจจุบันมีงานวิจัยที่พูดถึง Interlocking Modular ในชิ้นส่วนอาคารและสิ่งก่อสร้างจากวัสดุก่อสร้างหลายแบบทั้งพลาสติก โลหะ และ คอนกรีต… ซึ่งทั้งหมดออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อให้การก่อสร้างอาคารสามารถทำ Off-Site Construction ได้ง่ายขึ้น แข็งแรงขึ้น และ ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีชั้นสูงในการก่อสร้างและการติดตั้งชิ้นส่วนอาคารและสิ่งก่อสร้าง ทั้งหุ่นยนต์… AI หรือแม้แต่ Machine Learning อันหมายรวมถึง… การข้ามขีดจำกัดดั้งเดิมที่ต้องพึ่งพาทักษะของมนุษย์ในงานก่อสร้างและติดตั้ง
งานวิจัยในหัวข้อ New interlocking inter-module connection for modular steel buildings: Experimental and numerical studies โดย Andrew Lacey จาก Curtin University ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2019 และมี Citations ที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะข้อมูลการศึกษา Shear Force หรือ แรงเฉือนระหว่างชิ้นงานที่ใช้ Interlocking ที่ Andrew Lacey และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมกันออกแบบ
นอกจากนั้น… งานออกแบบชิ้นส่วนทางสถาปัตยกรรมมากมาย ก็กำลังถูกออกแบบในแนวทาง Interlock Modular อย่างน่าสนใจ…ท่านที่สนใจลอง Google ดูเพิ่มเติมด้วยตัวท่านเองเลยครับ เพราะคงจะมี “มาใหม่” เพิ่มเรื่อยๆ ให้เป็นไอเดียได้อีกมาก
ประเด็นก็คือ… Interlock Modular Construction เป็นงานออกแบบทางวิศวกรรม และ สถาปัตยกรรม ซึ่งผมคิดว่าวิศวกรไทย และ สถาปนิกไทยเก่งไม่แพ้ใครในโลก… หรือจะรอซื้อ Know-How กันเหมือนที่ผ่านๆ มาก็ไม่ว่ากัน…
References…