Indoor Farming Photosynthetic… การสังเคราะห์แสงของพืชผักในอาคาร

Indoor Farming photosynthesis

อาชีพเกษตรกรรมแต่ไหนแต่ไรมา ล้วนอ้างอิงธรรมชาติและพึ่งพาธรรมชาติ โดยเฉพาะการเพาะปลูกที่ต้องพึ่งดินพึ่งน้ำพึ่งฤดูกาล เพราะพืชผักที่มนุษย์ใช้ดำรงชีวิตมาตั้งแต่ยุคขวานหินล่าสัตว์ มนุษย์คุ้นชินกับการกินพืชผักที่งอกจากดิน ซึ่งดินทำหน้าที่ช่วยกักน้ำกักปุ๋ยและประครองลำต้นเติบโตรับแสงแดด

การเตรียมแปลงเกษตรบนดินเพื่อหว่านพืชหวังผล จึงเป็นงานและภาระหนักของเกษตรกรมานาน โดยมีตัวแปรอย่างน้ำเลี้ยงรากและแดดส่องใบ เป็นตัวแปรสำคัญว่าจะได้ผลผลิตมีคุณภาพแค่ไหนอย่างไรและเท่าไหร่อีกด้วย

ประเด็นก็คือ… ค่าใช้จ่ายเตรียมดินปลูกพืชโดยทั่วไปไม่เคยราคาถูก ในขณะที่การหาน้ำให้พืชอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอก็ไม่เคยปรากฏว่าราคาถูก และการควบคุมแสงส่องใบรวมทั้งอุณหภูมิแปลงปลูก… ก็ไม่ได้ง่ายที่จะจัดการ

โจทย์เรื่อง “ทำยากให้ง่าย” ในการจัดการเมื่อต้องผลิตพืชผัก จึงเป็นความท้าทายใหญ่ที่นักวิทยาศาสตร์การเกษตร และนักเทคโนโลยีการเกษตร หาทางเข้าไปควบคุมจัดการวงจรการผลิตพืชผัก ให้ได้ผลผลิตตามต้องการ

การพยายาม “ทำยากให้ง่าย” อย่างการเตรียมดิน หรือเตรียมแปลงปลูก มนุษย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคนิคการขุดดินใส่ปุ๋ยกำจัดวัชพืชมานาน และวิวัฒนาการเรื่องเตรียมแปลงปลูกก็ก้าวไกลเลยยุคแรงงานคนหรือสัตว์ มาถึงยุคเครื่องจักรอัตโนมัติและ AI เรียบร้อย

ในขณะที่ความพยายามในการ “แก้ยากให้ง่าย” เรื่องน้ำเพาะปลูก มนุษย์ก็เรียนรู้และถ่ายทอดเทคนิคการทำชลประทาน ไปจนถึงทำฝนเทียมได้แล้ว แม้สุดท้ายจะยังเหลือโจทย์ให้แก้อีกมากเรื่องน้ำท่วมฝนแล้ง

ส่วนเรื่องแสงและอุณหภูมิ ที่พืชผลใช้เป็นพลังในการเติบโตจนออกดอกออกผล มนุษย์กลับควบคุมอะไรแทบไม่ได้เลย ทั้งๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งในสามของการเจริญเติบโตของพืชผัก

แนวคิดการปลูกพืชในอาคารจึงพัฒนาบนพื้นฐานการควบคุมแสงกับน้ำเป็นสำคัญ… ซึ่งพื้นฐาน Indoor Farming Technology ที่ขาดไม่ได้แน่ๆ จึงมุ่งไปที่กลไกการจัดการน้ำและความชื้นโดยอัตโนมัติและชาญฉลาด เหมือนๆ กับที่ต้องการกลไกอัตโนมัติเรื่องแสงและอุณหภูมิอันชาญฉลาดอย่างยิ่งด้วย

วันนี้เลยขอตัดเอาหลักคิดและความรู้พื้นฐานเรื่องการจัดการแสงใน Indoor Farming มาสรุปเอาไว้พอเป็นแนวทางให้ Properea Fan ที่มีสอบถามเข้ามาสองสามท่าน!… ซึ่งเรื่องผิดพลาดที่สุดของการทำ Indoor Farming จากการพูดคุยสอบถามได้คือเรื่องแสง 

ซึ่งแสงสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสงหรือ Photosynthetic Action Spectrum… ง่ายๆ คือ แสงไม่พอพืชไม่โต แสงเกินพอต้นไม้ตาย และต้นไม้ต่างชนิดกันต้องการแสงไม่เหมือนกัน… ธรรมชาติของพืชผักและต้นไม้จึงปรับตัวอยู่รอดกับสภาพแสงจนกลายเป็นความหลากหลายทางชีวภาพ และเมื่อเราต้องการจะเลี้ยงพืชเหล่านั้นมาเป็นอาหาร เราจึงต้องเลียนแบบธรรมชาติเพื่อเลี้ยงพืชให้เป็นผลผลิต

ประเด็นก็คือ ธรรมชาติของต้นไม้พืชผักแต่ละชนิด ต้องการแสงไม่เหมือนกัน ทั้งๆ ที่โดยธรรมชาติของพืชผักเหล่านี้ พัฒนามาจากแหล่งกำเนิดแสงเดียวกันคือแสงอาทิตย์… พืชบางชนิดโตสวยเขียวกลางแดด แต่บางชนิดเจอแดดตรงๆ ใบไหม้ทันทีก็มี

ท่านที่เคยเรียนวิทยาศาสตร์จะรู้ว่า ในแสงสีขาวจะมีหลายช่วงคลื่นปนกันอยู่ เพียงแต่ตาธรรมชาติของมนุษย์มองไม่เห็นความต่างของช่วงคลื่นแสงละเอียดขนาดนั้น ส่วนพืชผักก็ไม่ได้ปลื้มแสงทุกช่วงคลื่นที่เอาปริซึมคลี่ดูจะเห็นคลื่นแสงหักเหไม่เท่ากัน สาดสีเป็นแถบสายรุ้งให้ตามนุษย์ได้เห็นความมหัศจรรย์ของแสง และธรรมชาติของพืชผักส่วนใหญ่ “ต้องการแสงเพียงบางช่วงคลื่นในบางเวลาเท่านั้น”

การทำ Indoor Farming แบบจัดแสงสีขาว หรือ Daylight เลียนแบบแสงอาทิตย์ หรือจัดแสงนวลตา หรือ Cool White เลียนแบบแสงธรรมชาติ หรือจัดแสงแบบแนวอบอุ่น หรือ Warm White เลียนแบบแสงเทียน… จึงเป็นการไม่เหมาะสมทั้งเรื่องสิ้นเปลืองกระแสไฟฟ้าเกินจำเป็น และเพิ่มอุณหภูมิห้องโดยไม่จำเป็นเช่นกัน

เพราะหลอดไฟแบบ Daylight, Cool White, และ Warm White ที่ใช้กันทั่วไปทุกกำลังส่องสว่าง ให้กำเนิดแสงทุกช่วงคลื่นออกมาเหมือนแสงอาทิตย์ ซึ่งพืชแต่ละชนิดแต่ละเวลาใช้ช่วงคลื่นเพียงย่านเดียวในการสังเคราะห์แสง… ซึ่งแปลได้ว่า เมื่อเราเปิดไฟส่องสว่างให้พืชผักในร่มของเราได้สังเคราะห์แสง พืชผักใช้แค่ความถี่ย่านเดียวและที่เหลือคือสูญเปล่า… แค่เราแบ่งช่วงคลื่นหยาบๆ ตามสเปกตรัมสีรุ้งพื้นฐาน 7 ย่าน พืชผักของเราจะใช้แค่ 1 และทิ้งไป 6 เลยทีเดียว

การจัดแสงใน Indoor Farming จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ Indoor Farmer จะต้องเข้าใจพื้นฐานนี้ก่อนเป็นเบื้องต้น

เมื่อกลับมาพิจารณา Photosynthetic Action Spectrum ของพืชผัก นักวิทยาศาสตร์จึงกำหนดวิธีการวัดและประเมินค่าของแสงในกลไกการสังเคราะห์แสงของพืชออกมาเป็น 4 ตัวชี้วัดเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากตัวชี้วัดทางสถาปัตยกรรมที่ใช้ออกแบบแสงสำหรับมนุษย์ที่วัดค่ากันเป็นแรงเทียน Lumen, Lux หรือ Watt ซึ่งตัวชี้วัดหรือมาตรวัดค่าแสงสำหรับพืชทั้ง 4 ตัวประกอบด้วย

1. PAR หรือ Photosynthetically Active Radiation… คือค่าของแสงในช่วงความถี่ 400-700 นาโนเมตร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่า แสงในช่วงความถี่ 400-700 nm คือช่วงแสงที่มีประโยชน์ต่อการสังเคราะห์แสงของพืช… ค่า PAR เป็นค่าคุณสมบัติของแหล่งกำเนิดแสง PAR หรือหลอดไฟหลอดนั้นให้แสง PAR เท่าไหร่

2. PPF หรือ Photosynthetic Photon Flux… คือการวัดอัตราแสง PAR ที่แหล่งกำเนิดแสง PAR ในช่วงความถี่ 400-700 nm ปล่อย Photons ออกมาต่อหนึ่งหน่วยเวลา ซึ่งค่าปกติคือ PAR ต่อวินาที มีหน่วยวัดเป็นไมโครโมลต่อวินาที หรือ μmol/second… ค่า PPF ก็ยังเป็นคุณสมบัติของแหล่งกำเนิดแสงหรือหลอดไฟเช่นกัน

3. PPFD หรือ Photosynthetic Photon Flux Density… คือค่าความหนาแน่นของ Photons จากแหล่งกำเนิดแสงที่พืชดูดซับไปใช้ในการสังเคราะห์แสง ซึ่งในทางเทคนิคก็คือการวัดค่า PPF ที่มาถึงใบพืชที่ทำหน้าที่ดูดซับแสงไปใช้ ซึ่งค่า PPFD ที่ได้จะบอกถึงประสิทธิภาพของการสังเคราะห์แสงโดยตรงของพืชผักได้ด้วย ค่า PPFD จึงมีหน่วยวัดเป็นไมโครโมลต่อตารางเมตรต่อวินาที หรือ μmol /m2/s อ้างอิงตัวแปรพื้นที่เพิ่มเข้ามา

4. DLI หรือ Daily Light Integral… คือค่าของแสงที่พืชผักได้รับต่อวัน ซึ่งพืชแต่ละชนิดต้องการแสงต่อวันแตกต่างกันไปที่ Indoor Farmers ต้องเรียนรู้ธรรมชาติของพืชผักที่จะปลูก เพราะนอกจากจะต้องให้แสงในระดับที่ PPFD เหมาะสมแล้ว ยังต้องรู้ว่าแต่ละวันต้องให้ไปนานกี่ชั่วโมงนาที… น้อยไปก็ลดประสิทธิภาพ มากไปก็เปลืองค่าไฟเปล่า… ค่า DLI มีหน่วยเป็นไมโครโมลต่อตารางเมตรต่อวัน หรือ μmol/m2/d

ประเด็นทางเทคนิคเรื่องแสงใน Indoor Farming เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากครับ ซึ่งความเห็นส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องหลักเรื่องแรกของการออกแบบโรงเรือนทำ Indoor Farming… ข้อมูลแสงอย่าง PPFD และ DLI ของพืชที่จะปลูกกับหลอดไฟที่จะลงทุน รวมทั้งโครงสร้างเพื่อติดตั้งหลอดไฟแหล่งกำเนิดแสง… ต้องรู้ก่อน คิดก่อนและออกแบบอย่างดีก่อนจะได้ไม่วุ่นวายทีหลัง

ขาดเหลือหลังไมล์มาครับ… Line @properea ยินดีพูดคุย

อ้างอิง

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

แบบบ้านฟรี… บ้านดีดีรักษ์ดิน, รักษ์น้ำ, รักษ์ฟ้า และรักษ์กัน

ผมไปพบแบบบ้านอนุรักษ์พลังงาน ที่กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดย ผศ.รุ่งโรจน์ วงศ์มหาศิริ ที่ร่วมกันออกแบบและเผยแพร่ไว้ตั้งแต่ปี 2017… และผมพบข้อมูลเผยแพร่จาก YOTHATHAI.COM ซักปีกว่าๆ ที่ผ่านมา… เดือนนี้หลายเหตุการณ์ทำผมหาข้อมูลทำ OnFocus ประจำเดือนที่เป็นข้อมูลสดใหม่ ไอเดียดีไม่ได้เลยครับ… เลยต้องขอเอาของแห้ง ของฟรีแถมดีด้วยอย่างแบบบ้านดีดี ฟรีฟรี มาใส่ OnFocus ไว้ก่อนก็แล้วกัน

Information Overload และ Data Flood

ทรัพยากรดิจิทัลอย่างข้อมูล… สิ่งที่เราเจอกันเป็นส่วนใหญ่หลังจากพยายามเก็บข้อมูลมาระยะหนึ่งก็จะเจอปัญหาว่า… ข้อมูลเยอะมากทั้งที่อยากเก็บมาไว้ใช้ และข้อมูลที่เก็บไว้ใช้ก็มีมากและเริ่มเห็นต้นทุนการดูแลข้อมูลเหล่านี้ ตั้งแต่ค่าเช่าพื้นที่ Cloud Storage ที่ต้องจ่ายรายเดือนกันสูงขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงต้องจ้างคนมาจัดการข้อมูลเยอะแยะที่น่าสนใจเต็มไปหมดเหล่านี้… ที่สำคัญคือ ค่าจ้างหรือเงินเดือนผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลก็แพงและหาตัวยาก ถึงขั้นที่องค์กรใหญ่ๆ ทุนหนาๆ ตั้งทีม Head Hunter ไล่ล่าดึงตัวกันแบบไม่เกรงใจใครก็มี

Dhanin Chearavanont

ความสำเร็จดีใจได้วันเดียว ~ ธนินท์ เจียรวนนท์

บนเวทีเปิดตัวหนัสือ ความสำเร็จดีใจได้วันเดียว…เจ้าสัวธนินท์ได้เล่าให้คนมาร่วมงานเปิดตัวเกือบพันคนฟังว่า หนังสือเล่มนี้ ใช้เวลาในการสร้างสรรค์และผลิตนานกว่า 8 ปี เพราะต้องการให้เห็นว่า… ในช่วงเวลานั้นมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง แล้วตนผ่านเรื่องเหล่านั้นมาได้อย่าง เพื่อถอดบทเรียน และให้แนวคิดจากประสบการณ์​ที่ได้สั่งสมมายาวนาน ผ่านเรื่องราวที่มีทั้งความล้มเหลวและความสำเร็จ เส้นทางชีวิต วิธีคิด และการสร้างธุรกิจ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ​ให้กับคนรุ่นหลัง โดยเฉพาะ​นักธุรกิจ​รุ่นใหม่

Arbitrum Network

Arbitrum Network

เทคโนโลยีของ Arbitrum ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้การนำของ Professor Edward W. Felten หรือ Ed Felten ศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จาก Princeton University ผู้บรรยายหัวข้อ Bitcoin and Cryptocurrency Technologies ที่มีคนติดตามมากที่สุดคนหนึ่งของโลก และ ยังเคยทำงานในทำเนียบขาวในตำแหน่ง Deputy United States Chief Technology Officer หรือ ตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีแห่งสหรัฐอเมริกามาแล้ว…