การตั้งโรงไฟฟ้า และ กรณีผลิตไฟฟ้าใช้เองระดับโรงงาน

wind-energy

กรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยคุณประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ให้ข้อมูลกับสื่อถึง การออกกฏกระทรวงตาม พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535… เพื่อจะให้โรงงานประกอบกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นโรงงานประเภทที่ 88… ไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือ รง.4 อีก

กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นประเภทที่ 88 ประกอบด้วย 

– การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ยกเว้นที่ติดตั้งบนหลังคา ดาดฟ้าหรือส่วนหนึ่งส่วนใดบนอาคาร ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือใช้สอยได้ โดยมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งสูงสุดรวมกัน ของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์

– การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน…

– การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ยกเว้นการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานน้ำจากเขื่อน หรือจากอ่างเก็บน้ำ ขนาดกำลังการผลิตไม่เกิน 15 เมกะวัตต์


– การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานน้ำแบบสูบกลับ


– การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานน้ำท้ายเขื่อน การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานน้ำจากฝาย และการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานน้ำจากคลองส่งน้ำ 

ซึ่งเดิมโรงงานผลิตพลังงานเหล่านี้… กำหนดให้ การตั้งโรงงานและการประกอบกิจการ จะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือ รง.4 ก่อน จึงจะดำเนินการได้ ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อน และพลังงานน้ำ ที่ได้รับใบอนุญาต รง.4 แล้ว 1,206 โรงงาน

ต่อมา… พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีอำนาจในการควบคุมกำกับดูแลกิจการพลังงาน ซึ่งรวมถึงการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วย ดังนั้น กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงหารือกับ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และมีความเห็นร่วมกันว่า ควรกำหนดให้โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าในลำดับที่ 88 ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับตาม พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 อีกต่อไป เนื่องจากเป็นกิจการพลังงานที่มี พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 กำกับดูแลอยู่แล้ว… จึงเตรียมยกเลิกโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า ออกจากบัญชีท้ายกฎกระทรวง

เมื่อยกเลิกเสร็จแล้ว จะส่งผลให้โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้น ไม่เป็นโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 อีกต่อไป… อย่างไรก็ตาม ยังต้องเสนอเข้า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาด้วย… อาจจะใช้เวลาข้ามไปปี 2564 เพราะหากตัดประเภทกิจการใดกิจการหนึ่ง อาจกระทบกับอีกกิจการหนึ่งที่เกี่ยวข้อง การถอดโรงไฟฟ้าออกจากกฎหมายโรงงานจึงต้องใช้เวลาพอสมควร

แนวโน้มการเกิด Off-Grid Factory หรือโรงงานพึ่งพลังงานของตัวเองใกล้เป็นจริงเข้าไปอีกขั้น… สำหรับประเทศไทย

อ้างอิง

https://www.prachachat.net

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Warren Buffett

Be Fearful When Others Are Greedy. Be Greedy When Others Are Fearful – Warren Buffett

คำพูดที่บอกว่า… ให้เงินทำงาน ซึ่งล่อแหลมต่อการเข้าใจเอาว่า แค่มีเงินแล้วทุ่มลงทุนไปกับบางกิจกรรมที่มีคนร่ำรวยจากสิ่งนั้นมามาก… ก็ไม่ต้องทำอะไรมากกว่านั้นอีกก็ได้ ทั้งๆ ที่การเป็นนักลงทุนต้องเปิดรับความรู้ความเข้าใจของตัวเอง มากกว่าการทำมาหากินอาชีพอื่นๆ ทั้งหมดก็ว่าได้… และยังต้องรู้จัก “ปิดประตู หรือ Close the doors” ทุกบานที่จะเปิดหาความเสี่ยง… ซึ่งความรู้ความเข้าใจจะชี้ให้เห็น “ความเสี่ยง” ในสถานการณ์ต่างๆ เอง

Deng Xiaoping

เคารพความรู้ เคารพความสามารถของบุคคล ~ เติ้ง เสี่ยว ผิง

คนจีนเชื่อกันสุดใจว่า จีนมีวันนี้เพราะชายร่างเล็กที่เป็น “ผู้นำที่ประเสริฐยิ่ง” และเป็นอัจฉริยะในทัศนชาวจีน ทั้งในฐานะ นักทฤษฎีลัทธิมาร์กซิสม์… นักปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพที่ยิ่งใหญ่… นักปกครอง… นักการทหาร… นักการต่างประเทศ และ สถาปนิกใหญ่ ผู้ออกแบบความทันสมัยให้ชาติและปฏิรูประบบสังคมนิยมจีน…และมหารัฐบุรุษของชาวจีนท่านนี้คือ… เติ้งเสี่ยวผิง

Crypto Whale

Wyckoff Accumulation and Selling Climax… ระยะสะสมของวิคคอฟฟ์

สิ่งที่นักลงทุนในตลาดหุ้น และ ตลาด Forex รวมทั้งตลาดคริปโตจะต้องเจอเหมือนกันก็คือ วงจรราคาขาขึ้น และ ขาลงอย่างรุนแรง อันมาจากแรงขายมากมายที่เทขายสินทรัพย์ออกทุกราคา จนเส้นกราฟปักหัวดำดิ่งลงอย่างรุนแรง… เห็นเป็นแท่งกราฟใน Time Frame รายชั่วโมง หรือ แม้แต่รายวัน กลายเป็นแท่งยาวจากบนลงล่าง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีหลายแท่งลดหลั่นลงต่ำต่อเนื่อง ซึ่งเป็นช่วง MarkDown ในวงจรราคาให้เห็นอย่างชัดเจน และเกิด Bearish Trend ในวงจรราคาอย่างชัดเจนด้วย

Nielsen Total Ad Ratings… เครื่องมือโฆษณาข้ามแพลตฟอร์มสำหรับนักการตลาดยุคใหม่

Nielsen เป็นบริษัทที่ปรึกษาทางการตลาดรายใหญ่ของโลกที่วงการโฆษณา และ ธุรกิจสื่อทั้งโลกต้องพึ่งพาข้อมูลอ้างอิงที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ Arthur Nielsen หรือ Arthur Charles Nielsen Sr.  ตามแนวคิด “ส่วนแบ่งทางการตลาด” ซึ่งมีเครื่องมือวัดการเห็นโฆษณา หรือ การได้ชมโฆษณาของกลุ่มเป้าหมายที่เรียกว่า Target Audience เชื่อมโยงกับยอดขาย และหรือ อัตราการเติบโตของธุรกิจ… โดย Nielsen เติบโตมาพร้อมกับธุรกิจสื่อโทรทัศน์อย่างโดดเด่นจนแทบจะไร้คู่แข่ง และ เมื่อมาถึงยุค Streaming Contents ซึ่ง Target Audience ส่วนหนึ่งเปลี่ยนไปติดตาม Contents หลักๆ อย่างรายการโทรทัศน์ย้อนหลัง… การถ่ายทอดสดออนไลน์จากที่ไหนสักแห่ง และ Contents ที่ผลิตขึ้นเพื่อเผยแพร่ผ่านแลพตฟอร์มวิดีโออย่าง YouTube ด้วย… Nielsen จึงได้พัฒนาเครื่องมือวัดการเห็นโฆษณา หรือ การได้ชมโฆษณาของกลุ่มเป้าหมายข้ามแพลตฟอร์มขึ้น