If You’re Not Looking Toward The Future, You’ll Be Left Behind ~ Gwynne Shotwell

Gwynne Shotwell

Space Exploration Technologies Corp หรือที่คนทั้งโลกรู้จักกันในชื่อ SpaceX… กิจการขนส่งขึ้นสู่อวกาศที่ก่อตั้งด้วยความท้าทายครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของมนุษยชาติ โดยเศรษฐีหนุ่มที่เพิ่งทำเงินจากการขายกิจการ Payment Gateway ชื่อดังอย่าง PayPal… ซึ่งปัจจุบันแทบจะไม่มีใครที่ไม่รู้จักชายคนที่ชื่อ… Elon Musk

SpaceX ก่อตั้งในวันที่ 6 พฤษภาคม ปี 2002 ในโกดังเก็บสินค้าเก่าในเมือง El Segundo รัฐ California ด้วยวิสัยทัศน์การตั้งอาณานิคมบนดาวอังคาร และพันธกิจการลดต้นทุนการขนส่งขึ้นสู่อวกาศ… โดย Elon Musk และ Tom Mueller

หลังจากผ่านความล้มเหลวเพื่อเรียนรู้จนเข้าใกล้การล้มละลาย… ซานตาครอสประจำคริสต์มาสปี 2008 ก็มาเยือน SpaceX ในวันที่ 23 ธันวาคม ปี 2008 พร้อมสัญญาจ้างมูลค่า 1,600 ล้านดอลลาร์… โดย NASA ว่าจ้าง SpaceX ขนสัมภาระขึ้นสถานีอวกาศ 12 เที่ยวบิน ซึ่ง NASA ประหยัดงบประมาณได้ 300 ล้านดอลลาร์ หากทำภารกิจ 12 เที่ยวบินนี้เอง… และความสำเร็จหลังจากนั้นก็ส่งให้ SpaceX กลายเป็นเอกชนรายแรกที่สามารถทำภารกิจนอกโลกได้ครั้งแล้วครั้งเล่า…

ทำให้การวางแผนไปดาวอังคารกลายเป็นเรื่องจริง จนข้ามคำถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้ ไปถึงคำถามว่าใครอยากไปบ้างกันหมดแล้ว… 

SpaceX เมื่อแรกก่อตั้งในปี 2002 นอกจาก Elon Musk และ Tom Mueller ซึ่งเป็นวิศวกรด้านจรวดและกระสวยอวกาศ ผู้เป็นหัวแรงหลักกับทีมงานอีก 9 คนแล้ว… พวกเขายังได้ต้อนรับวิศวกรหญิงชื่อ Gwynne Shotwell หรือ เกว็น ช๊อทเวลล์ เข้าร่วมทีมเป็นพนักงานคนที่ 11 ด้วย… และสุภาพสตรีคนนี้เองที่กลายเป็นนายหญิงแห่ง SpaceX ในตำแหน่ง President ที่เป็นรองก็แต่ Elon Musk ในอีก 6 ปีต่อมา

Gwynne Shotwell เข้าทำงานที่ SpaceX ในฐานะรองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจในปี 2002 พร้อมที่นั่งในบอร์ดบริหาร ก่อนจะได้รับความไว้ใจให้ขึ้นเป็นประธานบอร์ดบริหาร หรือ President ของ SpaceX ควบตำแหน่ง COO หรือ Chief Operating Officer หรือตำแหน่งแม่บ้านใหญ่ของ SpaceX ตั้งแต่ปรากฏการณ์ซานตาครอสกับถุงเงิน 1,600 ล้านดอลลาร์ ปลายปี 2008 จนถึงปัจจุบัน… ดูแลทุกกลไกใน SpaceX ให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างเหลือเชื่อในหลายมิติ

มีเรื่องเล่าว่า… Elon Musk เจอ Gwynne Shotwell ในงานเลี้ยงส่งเพื่อนร่วมงานที่ลาออกเพื่อไปเข้าทีมพัฒนากระสวยอวกาศของ Tom Mueller ที่ SpaceX… ทำให้งานเลี้ยงคืนนั้นกลายเป็นการสัมภาษณ์งานที่คนคิดเรื่องกระสวยอวกาศราคาถูกสองคนมาเจอกัน… Gwynne Shotwell ทิ้งงานที่ Microcosm Inc. กับตำแหน่ง Director of The Space Systems Division เพื่อไปพิสูจน์ตัวเองที่ SpaceX อย่างไม่ลังเลเช่นเดียวกับ Elon Musk ซึ่งกำลังต้องการวิศวกรที่หมกมุ่นเรื่องอวกาศ พร้อมทักษะการบริหารงาน กับประสบการณ์และเครือข่ายแน่นแฟ้นในแวดวงเทคโนโลยีอวกาศระดับสูงพอดี

ซึ่ง Gwynne Shotwell ผู้เริ่มงานกับ The Aerospace Corporation ในศูนย์วิจัยด้านอากาศยานและอวกาศ ซึ่งเป็นกิจการภายใต้การอุ้มชูดูแลโดยกองทัพอากาศสหรัฐมาตั้งแต่ปี 1988… ก่อนจะย้ายมารับตำแหน่งบริหารใน Microcosm Inc. ซึ่งก็เป็นกิจการที่อุ้มชูโดยกองทัพอากาศสหรัฐไม่ต่างกัน… ปาฏิหาริย์วันที่ 23 ธันวาคม ปี 2008 กับสัญญาจ้างงานมูลค่า 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก NASA ที่พูดถึงตอนต้น ดูเหมือนจะมีรอยเท้าการวิ่งเต้นของนายหญิงแห่ง SpaceX เหลือร่องรอยให้เห็นเต็มไปหมด ในขณะที่เจ้าตัวยกเครดิตให้ซานตาครอสหน้าตาเฉย

เพราะความสนใจส่วนตัวของ Gwynne Shotwell พุ่งเป้าไปที่ งานด้านการศึกษา โดยเฉพาะการเรียนการสอน STEM หรือ  Science, Technology, Engineering, and Mathematics… ซึ่ง Gwynne Shotwell พูดถึงมากขึ้นและถี่ขึ้นเรื่อยๆ ในวันที่โลกกำลังต้องการ “วิศวกรฉลาดๆ” จำนวนมาก เพื่อทำภารกิจท้าทายทุกที่ในเวิ้งฟ้าสีครามที่ทุกคนแหงนมองขึ้นไปเห็น… ปี 2013 บนเวที TEDxChapmanU อันโด่งดัง… Gwynne Shotwell แซะกิจกรรม STEM ของโรงเรียนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังมีคนพูดถึงกันอยู่

ในทัศนของผม… Gwynne Shotwell คือบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและมองไปข้างหน้าไกลมากๆ ไม่ต่างจากวิสัยทัศน์ของนายจ้างผู้เชื่อมั่นและหนุนหลังเธอมาตลอดอย่าง Elon Musk… แต่ทั้งหมดเกิดขึ้นเป็นจริงได้เพราะมี Gwynne Shotwell ยืนเป็นแม่งานนำวิสัยทัศน์ไปลงแผนและดำเนินการอย่างเต็มกำลัง… ทำเรื่องเหลือเชื่อให้เป็นจริงครั้งแล้วครั้งเล่า จน Morgan Stanley วานิชธนกิจยักษ์ใหญ่ของโลก ประเมินมูลค่าของ SpaceX ในเดือนมีนาคม ปี 2020 สูงถึง 52,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางกระแสข่าวว่า SpaceX จะทำ Spin-off หรือแยกบริษัท โดยเอาโครงการ Starlink หรือโครงการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมของ SpaceX ตั้งเป็นบริษัทใหม่เข้าตลาดหุ้นเป็นบริษัทมหาชนไป… โดยไม่มีทีท่าว่า SpaceX จะอยากเข้าตลาดหุ้นแม้แต่น้อย

จรวดตระกูล Falcon ที่ SpaceX ยินดีบริการเที่ยวบินขึ้นวงโคจร

ยาน Crew Dragon 2 ที่มีห้องโดยสารสำหรับมนุษย์
Crew Dragon Demo-2 เตรียมพานักบินอวกาศ Robert Louis Behnken และ Douglas Gerald Hurley ขึ้นบินวันที่ 27 พฤษภาคม 2020 แต่ได้บินจริงวันที่ 31 พฤษภาคม 2020… ไปสถานีอวกาศนานชาติ หรือ ISS เพื่อทำภาระกิจเป็นเวลา 2-3 เดือนและกลับโลกเป็นภารกิจสุดท้าย ซึ่งจะทำให้ยาน Crew Dragon 2 ได้รับการรับรองให้เป็น Human-Rated Spacecraft สามารถขนส่งมนุษย์ขึ้นอวกาศ และกลับโลกได้ในอนาคตอันใกล้

Gwynne Shotwell เป็นคนที่ชอบใช้คำคม หรือ Quote ในการบรรยายหรือนำเสนองานเสมอ… ส่วนใหญ่เท่าที่ผมติดตามงานของเธอมาตลอด เพื่อตามดู “วิธีการเล่าเรื่องเหลือเชื่อให้คนเชื่อ จนยอมจ่ายเพื่อทำสิ่งเหลือเชื่อ ให้เป็นจริง” 

หลายเวทีผมเห็นคำคมของ Thomas Alva Edison จากสไลด์นำเสนอของเธอบ่อยๆ… และผมก็ชอบคำคมของเธออยู่บทหนึ่งที่เก็บมาใส่สไลด์นำเสนองานของตัวเองเมื่อมีโอกาสเช่นกัน… ประโยคนั้นบอกว่า “If You’re Not Looking Toward The Future, You’ll Be Left Behind. ถ้าคุณไม่มองไกลถึงอนาคตข้างหน้า คุณก็ถูกทิ้งไว้ข้างหลังแล้ว” 

SpaceX เป็นเอกชนรายแรกที่ประสบความสำเร็จในการเดินทางและขนส่งขึ้นสู่อวกาศ และกำลังจะกลายเป็นผู้กำหนดมาตรฐานกิจการอวกาศ เคียงไหล่กับหน่วยงานกำกับดูแลด้านอวกาศของขั้วอำนาจโลกทั้งหมด… ซึ่งความสำเร็จอันโดดเด่นนี้นอกจาก Elon Musk จะได้รับการยกย่องไปเต็มๆ แล้ว… คนในวงการเทคโนโลยีล้วนยกย่อง Gwynne Shotwell กับผลงานใน SpaceX ที่แม้แต่ผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง Tom Mueller และอดีต CTO หรือ Chief Technology Officer ที่ถอยมาเป็นเพียงที่ปรึกษาอาวุโสในปัจจุบัน ก็ยอมรับและยกย่องนายหญิงแห่ง SpaceX ไม่ต่างกัน…

พูดถึง Looking Toward The Future และ STEM ที่ Gwynne Shotwell เคลื่อนไหวผลักดันอย่างมากในสหรัฐอเมริกา… ซึ่ง STEM ที่ผมได้เห็นนักวิชาการด้านการศึกษาครูอาจารย์บางส่วนจากบางประเทศ ยังแยกวิชาอาชีพการงานกับ STEM หรือแม้แต่วิทยาการคอมพิวเตอร์ออกจากกันยังไม่ขาด

เพราะงั้น… การศึกษาในประเทศที่ว่า จึงล้าหลังหาที่มาที่ไปไม่เจอ!!!

Gwynne Shotwell เกิดวันที่ 23 พฤษจิกายน ปี 1963 ที่เมือง Evanston รัฐ Illinois… ได้รับการยกย่องในปี 2012 ให้เป็น Women in Technology International Hall of Fame… ปี 2017 ได้รับการยกย่องให้เป็น Satellite Executive of the Year 2017… ปี 2018 ได้รับการจัดอันดับใน Forbes’ America’s Top 50 Women In Tech… ปี 2019 Gwynne Shotwell ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานบอร์ดบริหารของ Polaris Industries Inc. อีกหนึ่งตำแหน่ง… ซึ่งนักวิจารณ์ที่ติดตามเทคโนโลยีอวกาศเชื่อว่า Polaris Industries ในฐานะผู้ผลิตยานพาหนะสำหรับทุกสภาพภูมิประเทศ ถูกเลือกให้ผลิตยานพาหนะเพื่อใช้ในอาณานิคมนอกโลกอย่างแน่นอน… จริงไม่จริงเดี๋ยวไม่นานมีคำตอบ

อ้างอิง

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Intelligent Traffic Management System for Smart Cities

นับถอยหลังสู่เทศกาลสงกรานต์ที่… สถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงที่สุดในรอบปี ผมจะไม่พูดถึงผลกระทบและสถิติทั้งระหว่างเกิดอุบัติเหตุและหลังจากเกิดอุบัติเหตุหรอกน๊ะครับ เพราะทั้งหมดในปรากฏการณ์อุบัติเหตุทางถนน…

แนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนจากธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดทำ “แนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน” เพื่อสะท้อนข้อมูลเชิงลึกของหนี้ครัวเรือนไทย และ สื่อสารหลักการในการแก้ปัญหาหนี้ให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ รวมทั้งคำนึงถึงภาพระยะยาวมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมา… มาตรการส่วนใหญ่เน้นให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าเป็นหลัก โดยภายหลังที่เศรษฐกิจเริ่มทยอยฟื้นตัว และ ได้ปรับมาตรการให้เน้นการแก้หนี้ระยะยาวที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา และ ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้แล้ว แต่ยังไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานาน ดังนั้น หากไม่ทำอะไรเพิ่มเติม คาดว่าหนี้ครัวเรือนจะสูงกว่าร้อยละ 80 ของ GDP ที่เป็นระดับควรเฝ้าระวัง และ อาจฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ สร้างความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน และอาจลุกลามไปเป็นปัญหาสังคม ซึ่งจะยิ่งแก้ไขได้ยากขึ้น

McDonalds

McDonald’s… ไม่ใช่แค่ร้านอาหาร

ปี 1954 Ray Kroc เซลล์ขายเครื่องปั่นมิลค์เชคแบบหลายหัวยี่ห้อ Prince Castle ได้พบกับสองพี่น้อง McDonald คือ Dick และ Mac หรือ Richard McDonald และ Maurice McDonald เจ้าของร้านแฮมเบอร์เกอร์ ที่สั่งซื้อเครื่องปั่นมิลค์เชคแบบหลายหัวถึง 8 เครื่อง… และ Ray

adventure backlit dawn dusk

Workation Thailand… แคมเปญเป้าหมายเที่ยวไทย 100 ล้านคน 100 ล้านครั้ง

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้จัดทำโครงการกระตุ้นการเดินทางภายในประเทศ ภายใต้แคมเปญ “Workation Thailand ทำงานเที่ยวได้ รวมใจช่วยชาติ” ภายใต้แนวคิดแบบ Force Move Tourism ผลักดันให้บริษัท องค์กร ห้างร้าน ออกเดินทางเพื่อจัดการประชุมสัมมนา ทำงานนอกสถานที่ พร้อมทั้งมอบการท่องเที่ยวเป็นรางวัลในสภาวะวิกฤติ