กระแสปฏิรูปการศึกษาที่ผมเกาะติด และ พบความเคลื่อนไหวตลอดปีเศษๆ ที่ผ่านมานี้ โดยส่วนตัวผมตื่นเต้นกับสีสันที่เห็นความเคลื่อนไหวตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิรูป จากนักวิชาการและนักการศึกษาทั่วโลก ซึ่งเห็นเป็นปรากฏการณ์ประชุมสัมนาออนไลน์ ทั้งระดับท้องถิ่น และ ระดับนานาชาติจนเกาะติดรายละเอียดกันไม่หวาดไหว พร้อมด้วย Contents เกี่ยวกับการศึกษาหลังยุคโควิดสารพัดรูปแบบ และ มีอยู่บนทุกแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดีย
ผมคิดถึงนักปฏิรูปการศึกษาอย่าง John Dewey ที่ถือว่าเป็นบิดาของการให้กำเนิดโรงเรียนสาธิตในมหาวิทยาลัย และ เจ้าของปรัชญาการศึกษาประสบการณ์นิยม หรือ Experimentalism หรือ Instrumentalism… ซึ่งพัฒนามาจากความเชื่อเรื่องความอยู่รอดของสรรพสัตว์… โดยเฉพาะมนุษย์จะขึ้นอยู่กับการปรับตัวตามทฤษฏีวิวัฒนาการของ Charles Darwin ซึ่งค้นพบและพิสูจน์จนเป็นที่ประจักษ์ว่า… ผู้ที่อยู่รอดและวิวัฒนาการต่อจะปรับตัวเสมอ ส่วนผู้ที่ไม่เหลือรอด และ ล้มหายสูญสิ้นไปล้วนไม่สามารถ “ปรับตัว” จนไม่อาจวิวัฒน์ต่อได้
การปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมจึงเป็นแก่นของวิวัฒนาการ โดยมีความรู้และภูมิปัญญาแห่งการศึกษาสืบทอดส่งต่อในระดับเผ่าพันธ์ ช่วยให้การปรับตัวและวิวัฒนาการท้าทายการเปลี่ยนแปลง ที่ยังคงเกิดขึ้นให้เราท่านได้ช่วยกันหาหนทางแก้ไขและข้ามผ่าน
โดยส่วนตัวผมอ้างแนวคิดของจอห์น ดิวอี้ หรือ John Dewey ในหลายวาระ โดยเฉพาะการห้อยปรัชญาประสบการณ์นิยม หรือ Experimentalism ไปกับ Andragogy ซึ่งให้ความสำคัญกับประสบการณ์อย่างมากเช่นกัน นอกจากนั้น John Dewey ยังเชื่อว่า… การศึกษาที่ถูกต้องเหมาะสมไม่ได้ขึ้นอยู่กับการศึกษาแบบเก่า หรือ แบบจารีต หรือ Traditional และ แบบอนุรักษ์ หรือ Conservative… หรือแม้แต่แนวคิดและระบอบการศึกษาแบบใหม่ หรือ แบบก้าวหน้า หรือ Progressive เพียงระบบใดระบบหนึ่ง… แต่ยกย่องและให้คุณค่ากับ “ประสบการณ์ทั้งปวง” ที่สอดคล้องต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
Professor Dr.John Dewey เกิดวันที่ 20 ตุลาคม ปี 1859… เป็นเป็นนักปรัชญา นักจิตวิทยา และ นักปฏิรูปการศึกษาผู้บุกเบิกแนวคิด และ วิธีการสอนแบบใหม่ๆ ซึ่งหลายแนวคิดถูกสาธิตผ่านโรงเรียนสาธิตในมหาวิทยาลัยชิคาโก หรือ University of Chicago Laboratory Schools ซึ่งสถาบันแห่งนี้ยังคงเป็นเสาหลักอีกแห่งหนึ่งของการสาธิต หรือ ทดลองใช้ Learning Methodologies ท้าทายการเปลี่ยนแปลงในโลกการศึกษาระดับปฐมมัธยม เหมือนเมื่อครั้งที่ Professor Dr.John Dewey ยังดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิชาปรัชญา จิตวิทยาและการสอนที่ The University of Chicago และ ยังเป็นผู้อำนวยการ Laboratory Schools อยู่… โดยเฉพาะการเดินตามค่านิยมที่ John Dewey ทิ้งไว้เป็นมรดกทางการศึกษาอย่างชัดเจนว่า… If We Teach Today As We Taught Yesterday, We Rob Our Children Of Tomorrow หรือ ถ้าวันนี้เราสอนเหมือนที่เราเคยสอนในวันวาน เราจะปล้นอนาคตลูกหลานของเราเอง
Professor Dr.John Dewey จากไปในวัย 92 ปี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ปี 1952… ทิ้งมรดกทางการศึกษาผ่านลูกศิษย์–หลานศิษย์ทั่วสหรัฐอเมริกา ที่เคยเรียนใน University of Michigan… University of Chicago… Columbia University… รวมทั้ง University of Chicago Laboratory Schools ซึ่ง John Dewey ได้เผยแพร่แนวคิดและปรัชญาทางการศึกษาผ่านหลากมุมมอง หลายความเชื่อและสารพัดทฤษฎี จนได้ชื่อว่าเป็น History of Education หรือ ประวัติศาสตร์การศึกษา… จนวาระสุดท้ายพร้อมๆ กับการตั้งคำถามเชิงปรัชญาสุดท้าทายว่าด้วย “ความย้อนแย้งในทฤษฎีตรรกะร่วมสมัย หรือ Paradox In Contemporary Logical Theory” ซึ่งคงมีโอกาสได้เปิดประเด็นถกแถลงแบ่งปันกับทุกท่านในโอกาสหน้า…
References…