Ideas Are Easy, Implementation Is Hard – Guy Kawasaki

Guy Kawasaki

ตำนาน Apple Computer ยุคเริ่มต้น… คนส่วนใหญ่จะรู้จักและได้ยินชื่อ Steve Jobs เจ้าของตำนานการสร้างธุรกิจจากโรงรถ ที่มีเรื่องเล่าขานไม่รู้จบ หรือไม่ก็รู้จัก Steve Wozniak ในฐานะวิศวกรคอมพิวเตอร์และนวัตกรผู้บัดกรี Computer Hardware ด้วยมือตัวเองจนสร้างคอมพิวเตอร์เจ๋งๆ ให้ Steve Jobs เอาไปทำธุรกิจใหญ่โตถึงขั้นท้าทาย IBM มาแล้ว

แต่ทุกธุรกิจจะยิ่งใหญ่ได้ต้องมีคนทำการตลาดและการสื่อสารการตลาด ทำหน้าที่เผยแพร่คุณค่าของสินค้าและบริการ จนสามารถแลกเปลี่ยนคุณค่าของสินค้าและบริการที่ธุรกิจมี ให้เป็นมูลค่าหรือรายได้กลับมาสร้างคุณค่าวนไปไม่รู้จบ… ซึ่ง Apple เติบโตอย่างก้าวกระโดดในยุคกลางทศวรรษ 1980 ได้อย่างโดดเด่น ก็ด้วยฝีมือนักสื่อสารการตลาดในตำนานของ Apple ที่คนในวงการเทคและสตาร์ทอัพรู้จักดีอีกคนหนึ่งนั่นก็คือ… Guy Kawasaki

ผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ชัดจากการทำตลาดเครื่อง Macintosh ในปี 1984 ทำให้ชื่อของ Guy Kawasaki เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจสายเทคโนโลยีที่ยุคนั้นยังถือเป็นวงการเล็กๆ ที่ทุกคนรู้จักกันหมดในยุคนั้น… Guy Kawasaki ถือเป็นคนสำคัญในการสร้างสาวก Apple ในนาม Apple Evangelist ที่นิยามพฤติกรรมกลุ่มคนที่บอกต่อให้สินค้า Apple จนกลายเป็นพลังทางการตลาดถึงขั้นกลายเป็นแนวคิด  Evangelism Marketing จนเราได้เห็นภาพสาวก Apple เข้าคิวรอสินค้าใหม่จาก Apple อย่างคลั่งไคล้… 

เมื่อ Apple เข้าสู่ยุคตกต่ำถึงขั้น Steve Jobs ก็ต้องจาก Apple อย่างบอบช้ำออกไปตั้งบริษัท Next Computer… ลูกจ้างและพนักงาน Apple กลุ่มแรกๆ ก็แยกย้ายออกจาก Apple ไปตามหาโอกาสใหม่ให้ตัวเอง รวมทั้ง Guy Kawasaki

แต่ Guy Kawasaki ก็ไม่ได้ทิ้ง Apple ไปไหนไกล ยังคงวนเวียนอยู่กับการพัฒนาซอฟท์แวร์หลายอย่างเพื่อให้ Apple มีซอฟท์แวร์หลากหลายสู้กับพันธมิตร Windows ที่โตวันโตคืนอย่างน่าอิจฉาในร่มเงาของ IBM และ MicroSoft ในยุคที่ Apple กับ MicroSoft เป็นคู่แข่งขันที่ต้องจัดการอีกฝ่ายทุกวิธีให้พ้นทาง

Guy Kawasaki เข้าร่วมพัฒนาซอฟท์แวร์ฐานข้อมูลความสัมพันธ์บนระบบ Macintosh ชื่อ 4th Dimension หรือ 4D เป็นคอลัมนิสต์ให้นิตยสาร Forbes and MacUser รวมทั้งพัฒนาซอฟท์แวร์อย่าง Guy’s Utilities for Macintosh หรือ GUM ที่ต่อมาถูกซื้อโดย  Symantec  ในตอนท้ายก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น The Norton Essentials for PowerBook และหายไปจากวงการเมื่อ Steve Jobs กลับมาบริหาร Apple และยกเครื่องหลายอย่างเกี่ยวกับ MacOS และซอฟท์แวร์ที่ใช้บนเครื่อง Mac ในยุคฟ้าหลังฝนของ Apple

ปัจจุบัน… Guy Takeo Kawasaki ถือเป็นนักลงทุนอาวุโสและครูการตลาดแห่ง Silicon Valley คนหนึ่งที่ไม่ว่าจะขึ้นเวทีที่ไหน ก็จะมีแฟนๆ ไปรอฟังสิ่งที่เขาพูดมากมายล้นหลามเสมอ โดยเฉพาะประเด็น Social Marketing/Online Marketing ที่คนวัยเลย 60 มาไกลยังเท่าทันและแหลมคมทางการตลาดอย่างหาตัวจับยาก… 

Guy Kawasaki เป็นอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่เกิดและเติบโตใน  Honolulu รัฐ Hawaii มีผลงานเขียนเป็นหนังสือในปัจจุบันถึง 15 เล่ม และยังเป็นหนังสือขายดีหลายเล่ม โดยเฉพาะ The Macintosh Way ปี 1990… The Art of the Start ปี 2004 และ Wise Guy ปี 2019

คนในธุรกิจสายเทคโนโลยี ส่วนใหญ่รู้จัก Guy Kawasaki จากคำแนะนำที่คมชัดตลอดการที่ว่าด้วย “ไอเดีย” ที่คนคิดได้และขายฝันเก่ง มักจะพรั่งพรูไอเดียใส่คนนั้นคนนี้ได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งหลายคนต้องหยุดคิดเพื่อทบทวนเสมอเมื่อเจอคำคมของ Guy Kawasaki ที่บอกว่า… Ideas Are Easy, Implementation Is Hard… ไอเดียนั้นง่าย แต่เอาไปใช้ให้ได้นั้นยาก

ซึ่งหลายกรณีพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนว่า… ไอเดียดีๆ เมื่อถึงตอนเอาไปทำจริงและได้เจอโลกความจริงเมื่อไหร่ หลายครั้งถึงขั้นไปต่อไม่เป็นก็มีให้เห็นเสมอ… คนที่ชอบคิดนั่นคิดนี่โดยไม่ใส่ใจความเป็นจริงที่เป็นไปได้ส่วนใหญ่ จึงมักจะเจอบทเรียนราคาแพงถึงแพงมากได้เสมอถ้ายัง “หลงรักไอเดียเพ้อฝัน” อยู่

ประเด็นก็คือ… จะดีกว่ามากถ้าสิ่งที่คิดได้ สามารถทำให้เป็นไปได้ตามที่คิดด้วย

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Walt Disney

The Way To Get Started Is To Quit Talking and Begin Doing ~ Walt Disney

วิธีทำธุรกิจของ Walt Disney จะทำงานหนัก และหลักแหลมกับกลยุทธ์และชั้นเชิงธุรกิจ ซึ่งนอกจากจะมองเห็นคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญา ที่สร้างมูลค่าเพิ่มจาก Characters ตัวการ์ตูนไปไกลถึงธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อย่าง Disneyland แห่งแรก

Specific Visas For Digital Nomads… วีซ่าสำหรับดิจิทัลโนแมด

ดิจิทัลโนแมด หรือ Digital Nomad เป็นศัพท์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1997 และ แพร่หลายขึ้นอย่างรวดเร็วนับจากนั้น เพื่อเรียกผู้ย้ายถิ่นที่มีวิถีชีวิตเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีดิจิทัล และ ไม่ยึดติดกับสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง หรือ Location-Independent โดยการทำงานของกลุ่มบุคคลดังกล่าวต้องอาศัยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เทคโนโลยีการประชุมทางไกล และ ใช้ฮาร์ดแวร์ กับ ซอฟต์แวร์เพื่อส่งมอบบริการผ่านเครือข่ายการประมวลผลแบบคลาวด์ หรือ Cloud Computing ในระบบออนไลน์ไปยังผู้ว่าจ้าง โดยทั่วไปดิจิทัลโนแมดจะแตกต่างจากแรงงานข้ามชาติ หรือ Migrant Workers เนื่องจากไม่ได้ทำงานหารายได้ในสถานที่ที่ตนอาศัยอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ แต่มีรายได้จากนายจ้างในต่างประเทศ โดยมีรูปแบบการทำงานทางไกล หรือ Remote Work เช่น การ Work From Home หรือ การทำงานในต่างประเทศในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นต้น โดยอาจเป็นพนักงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือ เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือ Freelance ซึ่งรับงานจากผู้ว่าจ้างหลายรายก็ได้… นอกจากนี้ ดิจิทัลโนแมดยังอาจเป็นผู้ประกอบการในลักษณะธุรกิจสตาร์ทอัพก็ได้ โดยดิจิทัลโนแมดมักเป็นคนหนุ่มสาวที่นิยมเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ ควบคู่ไปกับการทำงานทางไกล

Midnight… Zero-Knowledge-Proof Blockchain จาก Cardano

Midnight เป็นบล็อกเชนแบบ Zero-Knowledge-Proof โดยเปิดตัวบน Side Chains ของเครือข่าย Cardano ซึ่ง Charles Hoskinson ในฐานะผู้ก่อตั้ง Cardano Blockchain และ CEO ของ IOG ได้ยืนยันการผลักดันโครงการพัฒนาบล็อกเชน Zero-Knowledge-Proof Smart Contracts ระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมมอบทุนสนับสนุนศูนย์วิจัยแก่มหาวิทยาลัยเอดินเบอระ หรือ Edinburgh University เป็นมูลค่า 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา… รวมทั้งการเผยแพร่ข้อความผ่าน Twitter ของ Charles Hoskinson ในเวลาต่อมาด้วย

Net City

Net City… By Tencent

เมืองจะถูกพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยบูรณาการพลังงานแสงอาทิตย์ ใส่ไว้ในการออกแบบตั้งแต่ต้น รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี IoT และเซ็นเซอร์ในการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมและปริมาณน้ำ… โดยออกแบบเมืองตามแนวคิด Sponge City หรือ เมืองซับน้ำ เพื่อสำรองน้ำฝนในเขตเมืองเก็บไว้ใช้ให้ได้มากที่สุด พร้อมกับติดตามปัญหาน้ำท่วมด้วยเทคโนโลยี ไปจนถึงการออกแบบชายทะเลหลายส่วนให้เป็นพื้นที่สีเขียว โดยกำหนดพื้นที่ปลูกป่าโกงกางเอาไว้ด้วย