Hydroceramic… กระเบื้องน้ำ 

Hydroceramic Bricks

Hydroceramic หรือกระเบื้องน้ำ หรืออิฐน้ำ… เป็นพัฒนาการของวัสดุก่อสร้างอีกชิ้นหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในห้วงที่… การออกแบบอาคารและที่อยู่อาศัยที่อยากเติมหน้าหรือต่อท้ายชื่อโครงการด้วยคำว่า Smart นั่นนี่… อย่างในปัจจุบัน… ซึ่ง Hydroceramic หรือกระเบื้องน้ำ ถูกออกแบบให้เป็นวัสดุปิดผิวอาคารเพื่อใช้ลดความร้อนได้ถึง 5°C

Hydroceramic มีลักษณะเป็นหลุมยึด Sodium Polyacrylate หรือ Super Absorbent Polymer ที่มีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำไว้ในโมเลกุลได้ดี และจะค่อยๆ ปล่อยความชื้นให้ระเหยออกมา ทำให้วัสดุประกอบนี้มีความสามารถในการลดความร้อนภายในอาคาร ด้วยเทคนิคทาง Thermodynamics หรือ อุณหพลศาสตร์แบบ Passive Evapotranspiration ซึ่งคล้ายกับการคายน้ำของพืช

ตัว Sodium Polyacrylate หรือ Super Absorbent Polymer จะสะสมน้ำจากความชื้นในอากาศ รวมทั้งน้ำค้างหรือน้ำฝน และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ตัวโพลิเมอร์จะค่อยๆ คายน้ำแบบ Evaporative Cooling หรือดึงความร้อนรอบๆ มาระเหยน้ำออกจากตัว

Hydroceramics เป็นงานค้นคว้าของนักศึกษาปริญญาโท 3 คน ระหว่างเรียนอยู่ที่ สถาบันสถาปัตยกรรมขั้นสูงแห่งคาตาลันญ่า หรือ Institut d’Arquitectura Avançada de Catalunya หรือสถาบัน IAAC ในนครบาเซโลน่า ประเทศสเปน ชิ้นงานต้นแบบถูกพัฒนาขึ้นใน The Digital Matter ของสถาบัน IAAC ระหว่างปี 2013-2014… โดยหนึ่งในสามเป็นสถาปนิกสาวไทยชื่อคุณปองธิดา สันตยานนท์ และเพื่อนอีกสองท่านคือ Akanksha Rathee และ Elena Mitrofanova

ผลงานกระเบื้องน้ำของคุณปองธิดาเคยได้รางวัลรองชนะเลิศ ผลงานประเภทประหยัดพลังงาน (Energy Saving) ของ Thailand Green Design Awards 2018 ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และประชาชนทั่วไป… ก็ไม่ทราบว่าถ้าส่งประกวดปี 2020 ที่ Hydroceramics กลายเป็นวัสดุก่อสร้างที่ได้รับการยกย่องเทียบเท่าคอนกรีตสำหรับสร้างบ้านบนดาวอังคารหรือ Martian Concrete ไปแล้ว… กรรมการทุกท่านที่ส่วนใหญ่อยู่ในมหาวิทยาลัยแถวบางเขนจะเปลี่ยนใจให้งานต้นแบบนี้ชนะเลิศได้มั๊ย?… และผลงานวิจัยครั้งนี้ มีเผยแพร่บนเวบไซต์ researchgate.net ทีเดียวสำหรับงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโท… จำชื่อสาวเก่งท่านนี้ไว้ครับ ประเทศไทยไม่ค่อยเจอคนแบบนี้บ่อยๆ… ปองธิดา สันตยานนท์ 

อ้างอิง

https://www.researchgate.net/publication/265486792_hydroceramic
https://iaac.net/project/hydroceramic/
https://www.linkedin.com/in/pongtida-santayanon-aab86836
https://www.mixerdirect.com/blogs/mixer-direct-blog/10-innovative-construction-materials

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

ผังเมืองเขตเศรษฐกิจแม่สอดและโครงสร้างพื้นฐานที่ล่าช้า… ลดความร้อนแรงอสังหาริมทรัพย์ริมฝั่งเมยไปอีกพักใหญ่?

ไหนๆ ผมก็คลี่ East-West Economic Corridor ออกมาอวดเกือบหมดแล้ว ถ้าไม่พูดถึงเขตเศรษฐกิจแม่สอดไปเลย ข้อมูลก็จะไม่ครบซิครับ… เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา มีสื่อบางสำนักเข้าไปสัมภาษณ์คุณชวพันธ์ ชวเจริญพันธ์ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก เพื่อพูดคุยถึงภาพรวมการค้าการลงทุนในพื้นที่ โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจแม่สอด ที่สองสามปีก่อนหน้านี้มีความเคลื่อนไหวในฐานะเขตเศรษฐกิจพิเศษ

Cobot for Construction

Robotics for Construction…

แน่นอนว่าภาวะที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่าหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติต่างๆ ถูกนำมาใช้ในวงการก่อสร้างมากขึ้นจนความต้องการแรงงานเหมือนในอดีต… ถูกเปลี่ยนไปเป็นหุ่นยนต์และเทคโนโลยีก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า

Blockchain Oracle

Blockchain Oracle…

Blockchain Oracle ไม่ได้เป็นแค่แหล่งข้อมูลสำหรับบล็อกเชน และ สัญญาอัจฉริยะเท่านั้น แต่ยังเป็น Layer ในการตรวจสอบความถูกต้องของแหล่งข้อมูลภายนอก… ตรวจสอบลักษณะข้อมูลที่สามารถประมวลผล และ ป้อนให้กับ สัญญาอัจฉริยะ หรือ Smart Contract ซึ่งรวมถึงข้อมูลจากเซนเซอร์ หรือ Sensor จาก Hardware อื่นๆ รวมทั้งข้อมูลที่ผลิตขึ้นภายนอกโดยมนุษย์และนำเข้าระบบ เช่น ผลการเลือกตั้ง หรือ ผลการแข่งขันกีฬา หรือ ชื่อผู้ชนะประกวดร้องเพลง…

Organic Photovoltaic Devices

Utilight and Pattern Transfer 3D Printing… เครื่องพิมพ์แผ่นโซล่าเซลล์

Utilight เป็น Innovative Startup ที่ตั้งเป้าเรื่องพลังงานสะอาด… แต่การพัฒนาโมเดลธุรกิจตั้งแต่ระยะ Pre-Seed เป็นต้นมา พาทีม Utilight ให้ต้องพัฒนานวัตกรรมการผลิตแผลงโซล่าเซลล์จากเครื่องพิมพ์สามมิติ จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นบนโมเดลการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ไปแล้ว