รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม… คุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า… กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการมอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. เร่งกำหนดและแก้ไขมาตรฐานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับคอนกรีตและปูนซีเมนต์ โดยให้สามารถใช้ “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” เป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีตต่างๆ แทนการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์… ซึ่งการใช้ “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก หรือ Hydraulic Cement” เป็นหนึ่งในมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศในสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรม และ การใช้ผลิตภัณฑ์ หรือ Industrial Processes and Product Use หรือ IPPU… ด้วยการกำหนดให้ใช้วัสดุทดแทนปูนเม็ดในการผลิตปูนซีเมนต์ เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งจากขั้นตอนการเผาปูนเม็ด และ กลไกการแข็งตัวของผลึกซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะก๊าซเรือนกระจก
การผลิตปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ โดยมีการคิดค้นพัฒนาการผลิตปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ซึ่งในปัจจุบันมีส่วนประกอบของปูนเม็ดในอัตราส่วนที่น้อยกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประมาณ 10% ของปริมาณทั้งหมด และ ใช้วัสดุอื่นมาผสมทดแทน เช่น หินปูน กากถลุงที่เหลือจากกระบวนการถลุงโลหะ และ วัสดุปอซโซลาน หรือ Pozzolan เป็นต้น
องค์ประกอบที่มีอัตราส่วนของปูนเม็ดน้อยลง จึงทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกนั้นมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพในการนำไปใช้งานได้ดีเทียบเท่ากับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
ประมาณการเบื้องต้นในเชิงของการผลิตปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก 1 ตัน จะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 ได้ราว 0.05 ตัน เมื่อเทียบกับการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในปริมาณที่เท่ากัน… การนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมาใช้งานทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ จึงช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง
ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรม… สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. ได้กำหนดและแก้ไขมาตรฐานให้สามารถใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกในการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีตต่างๆ แล้วจำนวน 71 มาตรฐาน
ด้านคุณบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการ สมอ. ให้ข้อมูลว่า… สมอ. ได้ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มอก. 2594-2556 โดยระบุเกณฑ์กำหนดคุณลักษณะด้านต่างๆ และ มีการแบ่งชนิดครอบคลุมการใช้งานที่แตกต่างกัน ทั้งการใช้งานทั่วไป งานที่ต้องการแรงอัดต้นสูง งานที่ทนต่อการกัดกร่อนของซัลเฟต
การใช้งานจริงปรึกษาวิศวกรโยธาของท่านครับ!
ขอบคุณเนื้อข่าวอ้างอิงจาก Thansettakij.com
References…