ความเคลื่อนไหวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ต่อแผนพัฒนาที่ดินพื้นที่สถานีหัวลำโพง ซึ่งปัจจุบันยังเป็นผังเมืองสีน้ำเงิน หรือ ที่ดินประเภทหน่วยงานราชการ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ไม่สามารถนำมาพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้… แต่ก็ชัดเจนแล้วว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยกำลังยื่นขอปรับผังเมืองให้เป็นพื้นที่สีแดง หรือ ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม เพื่อให้สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ และ จูงใจให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน… โดยมีบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ในฐานะบริษัทลูกที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อบริหารทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ก็กำลังตั้งเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาชั้นต้นกันแล้ว
ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่สำหรับการพัฒนาเชิงพาณิชย์จะประกอบไปด้วย…
- Zone A พื้นที่ถนนทางเข้า ออกและลานจอดรถบริเวณถนนพระราม 4 จำนวน 16 ไร่… กำหนดไว้เบื้องต้นเพื่อจัดทำเป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์และพัฒนาทัศนียภาพโดยรอบ
- Zone B ส่วนอาคารสถานีกรุงเทพหัวลำโพง เนื้อที่ 13 ไร่… ปรับปรุงอาคารให้เป็นไปตามแนวทางอนุรักษ์
- Zone C พื้นที่โรงซ่อมรถดีเซลราง และ รถโดยสารเนื้อที่ 22 ไร่… จะพื้นที่เชิงพาณิชย์ในรูปแบบปิด และเปิด เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร พื้นที่กิจกรรม และจะทำการปรับปรุงพื้นที่บริเวณนี้ใหเป็น water front Promenade เลียบครองผดุงกรุงเกษม ผสมผสานความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นความเป็นพื้นที่สีเขียวโดยรอบโครงการ โดยดูต้นแบบจากเวนิส อิตาลี
- Zone D พื้นที่บริเวณชานชลา ทางรถไฟ และย่านสับเปลี่ยนเนื้อที่ 49 ไร่… มีแผนพัฒนาได้ในหลายรูปแบบ โดยจะพัฒนาเชิงพาณิชย์ ในรูปแบบมิกซ์ยูส Lifestyle Mixed-Use อาทิโรงแรม อาคารสำนักงาน รวมทั้งที่อยู่อาศัยแบบคอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า และพื้นที่จัดแสดงงาน อื่นๆ โดยยึดต้นแบบ โตเกียว มิดทาวน์
- Zone E พื้นที่อาคารสำนักงานรฟท ตึกคลังพัสดุเนื้อที่ 20 ไร่… มีแผนจะพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ในรูปแบบ Urban Mixed-Use มีโรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์กิจกรรม รวมถึงพื้นที่ให้ร่มรื่นผสมผสานความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเชื่อมต่อรูปแบบสิ่งปลูกสร้างเชิงอนุรักษ์โครงสร้างอาคารเดิม กำหนดจุด node สำหรับกิจกรรมพิเศษหรือสวนสาธารณะ ซึ่งจะมีระยะห่างกันไม่เกิน 500 เมตรตลอดแนวคลองและยังได้ศึกษาชุมชนต่างๆ ริมน้ำ โดยยึดต้นแบบโครงการ Suzhou Creek เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน รวมทั้งจะมีการพัฒนาเส้นทางจักรยานริมทางรถไฟ
References…