การลงทุนกับเทคโนโลยี… หลักคิดและแนวทาง

Cloud

ช่วงปลายปี 2020 นี้ ข้อความที่ทักผมเข้ามาจากหลายๆ ท่านทั้งที่รู้จักมักคุ้น และมิตรสหายหลายท่านที่กรุณาติดตามงานเขียนของผม จนมีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันมาก่อนบ้าง… ซึ่งบางท่านปรึกษาความเห็นเรื่องการลงทุนกับเทคโนโลยี ทั้ง Hardware และ Software แบบต่างๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับทีมหรือองค์กร ซึ่งทุกท่านก็ศึกษาและสอบถามเรียนรู้มามากกว่าผมเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเทคโนโลยีเฉพาะทาง ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของท่านโดยตรง… และหลายท่านตัดสินใจไปแล้วว่าจะลงทุนกับเทคโนโลยี เหลือก็แต่รอรอบบัญชีสิ้นสุดตัดจบ ก็พร้อมจะลุยกันแล้ว

ส่วนใหญ่ผมก็จะสนับสนุนให้เดินหน้า… สอบถามเรื่องเตรียมคนและ Culture หรือวัฒนธรรมองค์กรให้พร้อม… ก็ลุยได้เลย!

อีกมุมหนึ่งที่ผมเสนอให้พิจารณาคือ จะถามว่า… ท่านจะลงทุนกับเทคโนโลยี เพื่อนำมาใช้ทดแทนระบบเดิม? หรือ ท่านจะลงทุนใหม่หมดอย่างสดชื่น? โดยเฉพาะของและคน… ถ้าใหม่หมดอย่างสดชื่นก็มีคำแนะนำเดียวแหละครับว่า… ท่านจะรออะไร? 

แต่ถ้าจะรื้อระบบเดิมหรือทิ้งเทคโนโลยีเดิมที่ใช้อยู่ ตั้งแต่โรงงานจนถึงสำนักงาน จะทั้งหมดหรือส่วนไหนก็แล้วแต่… ผมจะขอให้เตรียมคนก่อนเตรียมของให้ดีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้

ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… มีกรณีศึกษามากมายที่ระบุว่า การลงทุนกับเทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายในองค์กร มักจะกลายเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า ซึ่งพบมากเข้าขั้นเป็นปัญหา ถึงขนาดต้องมีการค้นคว้าวิจัยกันเป็นเรื่องเป็นราวจนพบทฤษฎีสำคัญ ที่สามารถถอดเป็นโมเดลเพื่อใช้วางแผนการลงทุนและนำใช้งานเทคโนโลยีใหม่ให้ราบรื่นกว่า

ผมกำลังพูดถึง TAM Theory หรือ The Technology Acceptance Model หรือ ทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยีอยู่ครับ

ความจริงทฤษฎีนี้ไม่ใช่ของใหม่ แต่มีเรียนรู้และใช้งานกันมานานควบคู่กับการพัฒนาระบบ MIS หรือ Management Information System นั่นเลย แม้แต่ IBMers ยุคสามสิบปีก่อนก็ต้องเรียนกันเข้มข้นเพื่อเอาไปทำระบบให้ราบรื่นกันหมด… ซึ่งคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ ตั้งแต่ผู้บริหารที่ต้องตัดสินใจ  จนถึงเจ้าหน้าที่ดูแลระบบขององค์กร ล้วนต้องรู้และเข้าใจ “พื้นฐานของการยอบรับและการปฎิเสธเทคโนโลยีของคนในองค์กร” ก่อนจะวางแผนเปลี่ยนแปลงหรือ Upgrade เทคโนโลยีใหม่ๆ มาให้คนเก่าๆ ใช้ทำงานเดิมๆ

ถึงตรงนี้ผมจะขอไม่ให้รายละเอียดของ TAM Theory ซึ่งมีระบบนิเวศน์แตกไปเป็นโมเดลย่อยอีกเยอะ เพราะจะยิ่งทำให้งงมากกว่าจะทำให้เข้าใจ

เอาเป็นว่า… ถ้าจะซื้อของไฮเทคมา Upgrade ระบบเดิมหรือพัฒนาองค์กรแบบเดิมให้ล้ำสมัยขึ้นก็ตาม ลองมองหาคนที่รู้จักและใช้ TAM Model เป็น มาร่วมวางแผนก่อนลงทุนกับของชิ้นใหญ่ ที่ยังไม่มีใครในองค์กรใช้เป็นหรือยอมรับ… เว้นแต่จะลงทุนเพื่อเชคใน KPI ว่ามีเทคโนโลยีที่จะซื้อมาโชว์ ไม่ได้ซื้อมาใช้

อันนั้นเป็นอีกเรื่อง!!!

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Bio Food

Food Biotechnology และ ความรู้เบื้องต้นเรื่องต้นเรื่องเชื้อจุลินทรีย์กับสินค้าอาหารหมักดอง

องค์ความรู้เรื่องการแปรรูปอาหารแบบดั้งเดิมหายากมากแล้ว เพราะตลาดอาหารหมักดองกลายเป็นอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ถึงใหญ่มากกันเกือบหมด ซึ่งส่วนหนึ่งก็เหลือเป็นอาหารหมักดองปนเปื้อนสารกันบูดสารพัดสูตรสุดน่ากังวล จนตลาดเล็กลงมากมาย… ส่วนหลายท่านที่คิดจะแปรรูปพืชผักผลไม้และของสดด้วยขบวนการหมักดอง ที่ลองผิดลองถูกจาก YouTube กันมาบ้าง หลายท่านคงทราบแล้วว่าไม่ง่าย… ซึ่งปัญหาหลักๆ ตั้งแต่เรื่องการจัดหาต้นเชื้อหมักดอง และ การควบคุมสภาพแวดล้อมระหว่างการหมัก และการแปรรูปเพื่อเก็บรักษาหรือแปรรูปเป็นสินค้า จนผลผลิตถูกบริโภคนั้น… ไม่ง่ายที่จะจัดการ โดยเฉพาะกรณีที่ต้องทำในปริมาณมากเพื่อการค้า

Greenhouse

เกษตรอินทรีย์ในระบบโรงเรือนพลาสติกคัดกรองแสง

คลีนิคเทคโนโลยี ของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เผยแพร่ข้อมูลการทำงานเชิงรุกของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ที่ได้นำองค์ความรู้การปลูกผักอินทรีย์ในระบบโรงเรือนพลาสติกคัดเลือกแสง ไปถ่ายทอดให้กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และนำข้อมูลโครงการมาเผยแพร่สู่สาธารณไว้อย่างน่าสนใจ

Keep Learning

เรียนหลักสูตรเกษตรอินทรีย์เพื่อการส่งออก กับ New Economy Academy

สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือ New Economy Academy หรือ NEA จึงมีการให้ความรู้ในรูปแบบการเรียนด้วย eLearning เรียกว่า E-Academy เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้การประกอบธุรกิจในวงกว้าง และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนได้เป็นจำนวนมากในแบบ Asynchronous eLearning โดยไม่ยึดติดกับเวลาและสถานที่

RavenCoin  

นับตั้งแต่ Smart Contract Blockchain อย่าง Ethereum ถูกแนะนำ และ ได้แสดงศักยภาพของการเป็นบล็อกเชนยุคที่ 2 ต่อจากบิตคอยน์ และ เหรียญ AltCoins หรือ Alternative Coins ที่ Fork มาจากบิตคอยน์ ซึ่งเป็นบล็อกเชนที่ประสบความสำเร็จสูงสุด พร้อมตำนานอันลึกลับของผู้สร้างอย่าง Satoshi Nakamoto… แต่การ Fork เครือข่ายบิตคอยน์มาสร้างบล็อกเชน และ AltCoins แบบ Proof-of-Work ตามอย่างบิตคอยน์หลังปี 2016 ดูเหมือนจะไม่มีโครงการไหนสามารถโตต่อจนมีมูลค่าได้ เพราะบิตคอยน์สร้างประเด็นถกเถียงที่น่ากังวลขึ้นมากมาย… กระทั่ง 31 ตุลาคม 2017 จึงมีการ Fork เครือข่ายบิตคอยน์ โดย Bruce Fenton ซึ่งทำงานอยู่ใน Bitcoin Foundation มาตั้งแต่ปี 2015… ซึ่งได้ให้กำเนิด RavenCoin ด้วยแนวคิดการปรับปรุงบิตคอยน์ให้แตกต่างออกไปจากทุกแนวคิดที่มีการถกเถียงขัดแย้งกันอยู่ในช่วงเวลานั้น