ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลผ่านผู้สื่อข่าวว่า… ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้เจอกับการกระทบในหลายด้าน โดยปี 63-64 ได้เกิดวิกฤตการณ์ Covid19 ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก GDP ของไทยปี 63 หดตัวลง 6.1%… ในปี พ.ศ. 2565 ก็มีสงคราม รัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด จาก 80 ดอลลาห์สหรัฐต่อบาร์เรล ในช่วงต้นปี มาแตะที่ราคา 123 ดอลลาห์สหรัฐต่อบาร์เรล และ ผลักให้เงินเฟ้อไทยเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ ร้อยละ 7.9 ในเดือนสิงหาคม
แต่เศรษฐกิจไทยยังมีเสถียรภาพ และ กำลังฟื้นตัว โดยคาดว่าในครึ่งปีหลังของปี พ.ศ. 2566 GDP ไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 4.3 มีนักท่องเทียวเดินทางเข้ามา 16 ล้านคน และ อัตราการว่างงานลดลงอยู่ที่ 2.6 ล้านคน… แม้จะยังคงมีความกังวลในเรื่องของ “หนี้ครัวเรือน” ที่ปรับตัวลงเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 86.9 รวมทั้งเงินทุนสำรองของไทย ณ เดือน เมษายน พ.ศ. 2566 ยังอยู่ที่ 252,000 ล้านดอลลาห์สหรัฐ…
ขณะเดียวกันเศรษฐกิจไทยก็ยังเผชิญกับสถานการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้น จากการที่ธนาคารกลางทั่วโลกปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็ว แล ะแรงเป็นประวัติการณ์ ทำให้ค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 16 ปี… และในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 จนถึงปัจจุบัน ได้ปัญหาในตลาด Cryptocurrencies และวิกฤติการณ์ทางการเงินที่ทำให้ธนาคารขนาดใหญ่ในต่างประเทศหลายแห่งล้มลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการเงินไทยบ้าง แต่ยังอยู่ในวงจำกัด
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ “หนี้ครัวเรือน” ที่หลายฝ่ายห่วงใยว่า… ขณะที่ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เกิดขึ้นเกินร้อยละ 80 อยู่นั้น ยังไม่เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับฝั่งของเจ้าหนี้อย่างสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นสัญญาณชัดเจนว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนจะไม่ลุกลามไปเป็นปัญหาของระบบการเงินอย่างแน่นอน… แต่ยอมรับว่าหนี้ครัวเรือนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเติบโตได้น้อยกว่าที่ควรเป็น
ขอบคุณสำนวนข่าวต้นฉบับจากเวบข่าว Thansettakij.com ครับ!