HoReCa และ Interactive Table

Multi-touch Table for Restaurants

HoReCa เป็นแสลงที่ใช้กันในกลุ่มนักพัฒนา Software และ IoT สำหรับอุตสาหกรรมบริการ เพื่อใช้แทนคำว่า “Hotel, Restaurants, Cafe” ซึ่งธุรกิจบริการกลุ่มนี้จะมี Direction หรือแนวทางการให้บริการไม่ต่างกันคือ ลูกค้า Walk-in เข้ามาขอใช้บริการ ซึ่ง Post Covid New Normal เป็นต้นไป ธุรกิจบริการกลุ่มนี้จะใช้คนเจอหน้าคน ตั้งแต่ต้อนรับถึงให้บริการน้อยลงอย่างแน่นอน… และสิ่งที่จะมาแทนก็คือจอสัมผัสแบบ Kiosk ที่จะติดตั้งไว้ในสถานที่ให้บริการตามมุมที่สะดวก หรือไม่ก็ฝังใส่เฟอร์นิเจอร์มาเลย เพื่อทำ Automated HoReCa Model ยกระดับไปอีกขั้น

วันนี้ผมก็เลยจะแนะนำเฟอร์นิเจอร์ร้านอาหารแบบ Interactive Table ที่ธุรกิจบริการอาหารในที่ หรือในร้านทั่วโลก กำลังสนใจสอบถามและจ้างงาน Contents Developers ที่เชี่ยวชาญ Multi-touch Multi-users และ Interactive Contents สำหรับ Interactive Table ที่ลูกค้าไม่ต้องมายืนคิวใช้จอสั่งอาหาร เหมือนร้านอาหาร Fast Food หลายๆ ร้าน ที่กำลังทดลองใช้กันอยู่… ซึ่งการให้คนยืนคิวห่างๆ กัน เพื่อรอใช้มือไปแตะจอเดียวกันเลือกสั่งอาหาร แล้วเรียกว่า Social Distancing Restaurants ที่หลายคนยังงงอยู่ว่า มันมีอะไรใหม่ตรงไหน?

แนวทาง Post Covid Restaurant แบบเดินเข้าร้าน เลือกโต๊ะที่ว่าง สั่งอาหาร จ่ายเงิน นั่งรอหุ่นยนต์เอาหารมาส่ง… จึงได้รับความสนใจจากร้านอาหารใหญ่ๆ ทั่วโลก… ซึ่งการสอบถามแลกเปลี่ยนข้อมูลในกลุ่มนักพัฒนา Multi-touch Multi-users ทั้ง Hardware และ Software บนเวบไซต์ Reddit.com จึงคึกคักขึ้นมาก

ในทางเทคนิค… Interactive Table ก็เหมือน Ipad ยักษ์ต่อขา ที่เพิ่มความสามารถในการ “รับคำสั่งเกิน 10 จุดสัมผัสบนจอเดียว” อย่างราบรื่น เพื่อให้คนหลายคนสามารถใช้จอพร้อมกันได้หลายๆ มือ ซึ่งซอฟท์แวรที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานแบบ Single User หรือ หนึ่งคนหนึ่งเครื่องหนึ่งคำสั่ง ตามลำดับอย่างซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ มือถือหรือแท็บเล็ตทั่วไปส่วนใหญ่ ไม่รองรับ Multi-users หรือผู้ใช้หลายคนคลิก เคาะ ปัด ไถ พร้อมกัน

Interactive Table จึงพิเศษกว่าจอ Kiosk ทั่วไปที่ยังเป็นระบบ Single-user อยู่ แม้มองผิวเผินอาจจะไม่แตกต่างกันมาก แต่รายละเอียดการเตรียมระบบและ Contents หลายกรณีต้องใช้ Software Development Kit หรือ SDK เฉพาะ ในขณะที่ระบบ Kiosk แบบ Single-user ไม่ต้องการเทคนิคพิเศษเพิ่มเติมอะไร ก็สามารถทำ UX/UI หรือ User Experience/User Interface ได้โดยตรง

ข่าวดีคือ… Multimedia Materials อย่างภาพ วิดีโอ แอนิเมชั่น เสียงและสื่อประสมทั้งหลายยังใช้ได้และจำเป็นเช่นเดิม เพียงแต่นำไปปรับเข้าระบบ Multi-users ของ Interactive Table นิดหน่อยก็ใช้ได้… SDK หลายค่ายใช้งานไม่ยาก แต่ก็ต้องใช้พื้นฐานคอมพิวเตอร์ระดับหนึ่งเหมือนกัน สำหรับสร้างสรรค์ Contents ใช้งาน… และส่วนใหญ่เมื่อสั่งซื้อโต๊ะสำเร็จรูปมาใช้ ก็มักจะมีการฝึกอบรมหรือบริการผลิต Contents ติดมาด้วย เหมือนที่ในวงการกำลัง Outsource งาน Contents กันคึกคักอยู่ตอนนี้

โดยส่วนตัวผมสนใจ Multi-touch Multi-users และ Interactive Table มานานก่อนจะมี Ipad เสียอีก จึงพอมีประสบการณ์กับ Multi-touch Multi-users ของหลายๆ ค่าย ซึ่งใช้ตั้งแต่งานวิจัยเล็กๆ น้อยๆ ของตัวเองและคนใกล้ตัว ไปจนถึงออกแบบระบบ Multi-touch Multi-users รองรับผู้ใช้งานสูงสุด 32 คนมาแล้ว… จึงพอมีข้อมูลแบ่งปันท่านที่กำลังสนใจ… Line ID: @properea ครับ!

สุดท้าย… ส่งกำลังใจถึงชาว HoReCa ทั้งที่ยืนหยัดสู้ต่อและยกธงยอมถอยแต่เนิ่นๆ ครับ… อย่างที่เรียนมาตลอด ถ้าร้านของท่านสร้างบนโมเดลอสังหาริมทรัพย์ที่แข็งแกร่ง… จะสู้ต่อไปหรือขอถอดใจก็คงไม่เลวร้ายจนเกินไป แม้ทางข้างหน้ายัง VUCA สุดๆ 

อ้างอิง

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

แผนกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนในภาคเกษตร และ วิสาหกิจชุมชนมูลค่า 2,054.054 ล้านบาท…

ครม. ได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 2,054.054 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตร ที่ประสบปัญหาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยให้การสนับสนุนโครงการของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 4 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม… มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล… มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามใน 5 โครงการย่อย

Income Hole

เสนอเงินกู้หนึ่งล้านล้านบาท และ หลุมรายได้ประเทศไทย

ด้วยขนาดของหลุมรายได้ที่จะหายไปประมาณ 2.6 ล้านล้านบาท ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2565 เม็ดเงินของภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบันคงไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเพิ่มแรงกระตุ้นทางการคลังเพื่อช่วยให้รายได้ และ ฐานะทางการเงินของประชาชน และ SMEs กลับมาฟื้นตัวได้โดยเร็วที่สุด… ลดแผลเป็นทางเศรษฐกิจที่จะกลายเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจหลังโควิด ซึ่งในเบื้องต้นเม็ดเงินจากภาครัฐที่เติมเข้าไปในระบบควรมีอย่างน้อย 1 ล้านล้านบาท หรือ คิดเป็นประมาณ 7% ของ GDP

Token Based Economy

Token Based Economy… โอกาสและความท้าทาย

ถ้าซื้อบ้านและที่ดินง่ายดายเหมือนการซื้อตั๋วเครื่องบินบนแพลตฟอร์ม ซึ่งสามารถเอาข้อมูลการเป็นเจ้าของตั๋วไปใช้ขึ้นเครื่องบินและเดินทางจริงๆ ได้… และทำแบบเดียวกันกับอสังหาริมทรัพย์ อะไรๆ จะเปลี่ยนไปแค่ไหน?… และถ้าแม้แต่บ้านและที่ดินก็สามารถ Digitized กันได้ง่ายๆ เหมือนซื้อตั๋วเครื่องบิน… สินทรัพย์และการลงทุนอื่นๆ ก็คงไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้…

Andrew Carnegie

Ninety Percent of All Millionaires Become So Through Owning Real Estate… Andrew Carnegie

Andrew Carnegie เป็นมหาเศรษฐีชาวอเมริกันที่บั้นปลายชีวิตได้บริจาคทรัพย์สินมากมายเพื่อสาธารณะประโยชน์หลากหลาย ตั้งแต่ห้องสมุด โรงเรียนและมหาวิทยาลัยจำนวนมากในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดาและอีกหลายประเทศ