ความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูงช่วงนครราชสีมา – หนองคาย

high speed train-nakhon ratchasima – nongkhai

ข่าวความเคลื่อนไหวส่งท้ายปีจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า… แผนพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร–หนองคาย… ได้ดำเนินการเปิดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 22–25 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เรียบร้อยแล้ว

โดยแผนดำเนินงานจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้กำหนดไว้ภายหลังศึกษาโครงการนี้แล้วเสร็จ จะเริ่มดำเนินการขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรี และออกร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในปี พ.ศ. 2564 หลังจากนั้นจะดำเนินการประกวดราคา สำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ และเริ่มดำเนินการก่อสร้างงานโยธาในปี พ.ศ. 2565 ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 48 เดือน จากนั้น จะเริ่มงานติดตั้งระบบในปี พ.ศ. 2566 ใช้ระยะเวลาการดำเนินการ 66 เดือน คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ประมาณปี พ.ศ. 2572

สำหรับโครงการไฮสปีดเทรนช่วงนครราชสีมา – หนองคาย มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 2.5 แสนล้านบาท… ขณะนี้ได้ข้อสรุปส่วนของแนวก่อสร้างที่กำหนดเป็นทางรถไฟระดับพื้น ระยะทาง 185 กิโลเมตร และเป็นทางรถไฟยกระดับระยะทาง 171 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 356 กิโลเมตร อีกทั้งจะมีการก่อสร้างสถานีรถไฟ 5 สถานี ประกอบด้วย… สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย และมีสถานีขนถ่ายสินค้า 1 แห่งบริเวณสถานีรถไฟนาทา จังหวัดหนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุงที่เชียงรากน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และที่นาทา จังหวัดหนองคาย

นอกจากนั้น ยังมีหน่วยซ่อมบำรุงทาง 4 แห่ง ที่สถานีบ้านมะค่า จังหวัดนครราชสีมา… สถานีหนองเม็ก จังหวัดขอนแก่น… สถานีโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี และสถานีนาทา จังหวัดหนองคาย มีจุดกองเก็บตู้สินค้า หรือ Container Yard และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า หรือ Transshipment Yard 1 แห่ง ที่สถานีรถไฟนาทา จังหวัดหนองคาย โดยไฮสปีดเทรนสายนี้จะใช้ความเร็วสูงสุดในการเดินรถ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

จากการศึกษาในเบื้องต้น ผลการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมการพัฒนาเฉพาะช่วงนครราชสีมา – หนองคายพบว่า… มีความเหมาะสมคุ้มค่าโดยคิดเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ หรือ EIRR ที่ 11.24% ส่วนผลวิเคราะห์ความเหมาะสมการพัฒนาทั้ง 2 ระยะคือ กรุงเทพฯ – นครราชสีมา – หนองคาย… คิดเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ หรือ EIRR ที่ 12.10%… โดยประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ นอกจากจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเดินทางในพื้นที่อย่างสะดวกแล้ว ยังลดระยะเวลาการเดินทางจากกรุงเทพมหานครถึงหนองคายใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 15 นาที ผลักดันภาคการขนส่งและการส่งออกอีกด้วย

ส่วนแนวทางในการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ… ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กำหนด 5 รูปแบบ ประกอบไปด้วย 

  1. สะพานรถไฟ จำนวน 120 แห่ง 
  2. สะพานรถยนต์ จำนวน 25 แห่ง ใช้ในกรณีที่จุดตัดถนนสายหลักมีปริมาณการจราจรค่อนข้างมาก 
  3. สะพานกลับรถรูปตัวยู จำนวน 23 แห่ง 
  4. ทางลอดรถไฟ จำนวน 84 แห่ง
  5. ทางบริการ จำนวน 3 แห่ง

โดยขอบเขตการดำเนินงานโครงการในเบื้องต้น ได้กำหนดไว้ 6 ช่วง ได้แก่ เริ่มงานออกแบบรายละเอียดงานโยธา… งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล… งานจัดการประกวดราคา… งานสำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์… หลังการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

ไม้ยูคาลิปตัส… หลักประกันทางธุรกิจใหม่

คุณพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยข้อมูลจากการหารือร่วมกับ ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อพิจารณาแนวทางการส่งเสริมการนำไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันทางธุรกิจ… ปัญหาอุปสรรคในการให้สินเชื่อของแต่ละสถาบันการเงิน รวมถึงความเป็นไปได้ในการนำไม้ยืนต้นมาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ ซึ่งที่ประชุมได้มีความเห็นให้ “ไม้ยูคาลิปตัส” สามารถใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจได้

Fund That Flip…

ดูเหมือนว่าประเด็น Crowdfunding ที่ผมเพิ่งเกริ่นไปเมื่อสองสามวันก่อนจะร้อนแรงไม่ใช่น้อย… ไม่ว่าจะยังไง… Feedback ที่ได้ทั้งผ่านข้อความและโทรตรงมาที่ผม… มีค่ากับทิศทางและเป้าหมายของ Properea มากมาย และขอบคุณทุกท่านอีกครั้งที่แบ่งปันข้อมูลและความเห็นทุกประเด็น

ทำความรู้จัก North-South Economic Corridor & East-West Economic Corridor ที่เมืองสองแควพิษณุโลก

เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว ข่าวการสัมมนาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข) เพื่อนำเสนอผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ว่าด้วย การศึกษาความเหมาะสม โครงการ Logistics Hub ของเมืองพิษณุโลก ซึ่งข้อมูลที่นำเสนอในวันนั้นได้ฉายภาพการลอกคราบเมืองสองแควพิษณุโลกสู่ทศวรรษแห่งความรุ่งโรจน์ไปอีกนาน

Stablecoin

Stablecoin…

Sean Stein Smith ให้ความเห็นในประเด็น Stablecoin ที่ผูกอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ไว้กับดอลลาร์สหรัฐว่า… Stablecoin กำลังแสดงบทบาทอย่างสำคัญที่จะมาทดแทนการรับชำระราคาด้วย Bitcoin ที่เขามองว่า… เป็นเพียงทางผ่านของการพัฒนากลไกการชำระราคา หรือ Payment Systems ที่สินทรัพย์มากมายในโลกกำลังจะถูก Digitized ให้มีสภาพคล่องสูงกว่าที่เคยมีมาได้ทุกอย่าง ซึ่งการซื้อขายถ่ายโอนบนอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอนบนดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ ย่อมได้รับความเชื่อมั่นจากทุกฝ่ายอย่างรวดเร็ว…