Highly Efficient Biomass Power Plants และ โรงไฟฟ้าชุมชนยั่งยืน

Siemens Biomass Steam

ในบทความเรื่องโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ที่รายงานความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชน ที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาผลักดันต่อเนื่องจนมาถึงขั้นการอนุมัติลงทุนและดำเนินการแล้ว… โดยส่วนตัวทราบดีว่ายังมีงานและรายละเอียดในทางปฏิบัติอีกมากที่ต้องสะสางกรุยทางต่อ เพราะเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับผู้คนและหน่วยงานมากมายทีเดียว

และก็อย่างที่เรียนไปว่า… ผมสนใจศึกษาและสะสมข้อมูลเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าและการผลิตไฟฟ้าไว้กับตัวมานาน และมีข้อมูลหลายมิติที่เกี่ยวข้องอยากแบ่งปัน… วันนี้ผมขอเอาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับระบบ ระบบโรงไฟฟ้าชีวมวล หรือ Biomass Power Plant System ที่น่าสนใจมาเพิ่มเติมข้อมูลให้หลายๆ ท่านที่สนใจ ทราบไว้เป็นอีกติ่งหนึ่งของข้อมูลสายนี้

ผมเลือกเอกสารอ้างอิงที่อธิบายและวิเคราะห์ระบบโดยมีชุดเครื่องกลไอน้ำแรงดันสูงของ Siemens Steam Turbine ตระกูล SST เป็นหลักครับ… ออกตัวก่อนว่าไม่ได้เขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการให้ใคร แต่ต้องเอ่ยถึงเครื่องจักรที่มีการใช้งานจริงในระบบทั้งยี่ห้อและรุ่น เพราะผมคิดว่าเป็นการบอกเล่าพูดคุยบนฐานข้อเท็จจริง

ผมมีเอกสารเก่าตั้งแต่ปี 2018 ของ Enlit-Asia หรือชื่อเดิมคือ PowerGen ที่เคลื่อนไหวเรื่องโรงไฟฟ้าทั่วอาเซียนจากฐานในกรุงจาการ์ตา อินโดนิเซีย

ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… กรณีนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชน ซึ่งมีเป้าหมายใหญ่ระดับ “ชุมชนยั่งยืน” นั้น การตั้งโรงไฟฟ้าขนาดเล็กกระจายไปตามชุมชน ถือเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องสะสางปัญหาอีกมากมายเพื่อให้โรงไฟฟ้าเกิดขึ้นได้จริง… เดินเครื่องได้จริง… และยั่งยืนจริงๆ ไม่ทิ้งร้างเป็นอนุสรณ์สถาน ประจานความบกพร่องทางนโยบายที่คิดได้แต่ทำไม่ได้เหมือนหลายๆ เรื่องที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้

เรื่องโรงไฟฟ้าชีวมวลในทางเทคนิค ซึ่งข้อเท็จจริงเรื่องราคาเชื้อเพลิงชีวมวลเรื่องแรกเรื่องเดียวก็มึนแล้ว เพราะแนวโน้มความต้องการที่เพิ่มขึ้น ราคาและต้นทุนก็ต้องเพิ่มขึ้น ซึ่งตัวเชื้อเพลิงชีวมวลเองแม้จะมีราคาถูก แต่ต้นทุนการรวบรวมและขนส่งไม่ได้ถูกตามไปด้วย และโดยลักษณะทางกายภาพของเชื้อเพลิงชีวมวลเองก็ต้องใช้ Supply มหาศาลและต่อเนื่อง… ทำให้การโฟกัสเรื่องประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้า กลายเป็นประเด็นแรกๆ ที่ต้องพูดถึงกันก่อนอื่น

ซึ่งโรงไฟฟ้าที่ประสิทธิภาพสูง ช่วยให้สามารถดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ด้วยต้นทุนต่อหน่วยที่แข่งขันได้ เมื่อเทียบกับการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานอื่นๆ เพราะถ้าแข่งขันเรื่องต้นทุนไม่ได้ ก็ป่วยการที่จะผลักดันสร้างทำ ซึ่งสุดท้ายก็จะจบที่ทิ้งร้างเพราะ “ไม่คุ้ม” เช่นเดิม… โดยส่วนตัวผมเคยมีโอกาสได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ การศึกษาและสาธิตการผลิตพลังงานไฟฟ้าความร้อนจากขยะชุมชน ตั้งแต่เมื่อครั้ง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ตั้งขึ้นใหม่ๆ พร้อมกระทรวงพลังงานช่วงปี 2545-2547… ซึ่งประเด็นต้นทุนผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใช้ศึกษาพูดคุยดำเนินการในครั้งนั้น ต้องพึ่งพาการอุดหนุนเงินทุนเพิ่มเติมจากหลากหลายที่มา… ซึ่งแปลรวมๆ ได้ว่า โรงไฟฟ้าพึ่งตัวเองไม่รอด

ในทางวิศวกรรมจึงต้องหาทางเพิ่มประสิทธิภาพให้โรงไฟฟ้าสูงสุด จากทุกกลไกทางเทคนิค ซึ่งวิธีหนึ่งที่ทำกันอย่างแพร่หลาย ที่วิศวกรด้านอุณหพลศาสตร์นำใช้ในระบบความร้อนก็คือ… Reheat หรือ การให้ความร้อนซ้ำในระบบ เพื่อรีดเแาประสิทธิภาพสูงสุดออกมาที่กำลังผลิตไฟฟ้า

Siemens SST-300

กรณีชุดกังหันไอน้ำ SST-300 จากผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Siemens AG ที่ให้กำลังขับสูงถึง 250 MW และสามารถเพิ่มอุณหภูมิไอดง หรือ ไอร้อนยิ่งยวด หรือ Superheat Steam ได้สูงถึง 565 °C ที่ความดันกว่า 165 Bar ทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจากกำลังขับที่สูงขึ้น จากกลไกการให้ความร้อนซ้ำภายในระบบ โดยไม่ต้องเพิ่มเชื้อเพลิงและกระตุ้นการเผาไหม้เพิ่มเติม

กรณีนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการเชิงประสิทธิภาพ เพื่อให้โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเดินไปถึงจุดที่เรียกว่า “ยั่งยืนจากการสร้างสมดุลย์ให้ชุมชน” ในหลายๆ มิติได้อย่างแท้จริง ซึ่งความเห็นส่วนตัวผมมองว่า… ความล้มเหลว ความสำเร็จและความสำเร็จยั่งยืน ยังคงท้าทายเราอยู่อีกมากบนเส้นทางโรงไฟฟ้าชุมชน

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Plant Factory

Plant Factory… แนวทางการส่งเสริมการลงทุนโรงงานผลิตพืช และ วีที แหนมเนือง

ประเด็นการส่งเสริมการลงทุน Plant Factory มีความเคลื่อนไหวชัดเจนมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2020 ภายใต้นโยบายส่งเสริมการลงทุน Smart Farming ของ BOI มาตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2020 ที่ผ่านมา… ซึ่งบอร์ดบีโอไอได้มีมติให้เพิ่มประเภทกิจการโรงงานผลิตพืช อีกหนึ่งประเภท เพื่อยกระดับและสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคเกษตรไทยให้ก้าวสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในกระบวนการผลิต ให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและความปลอดภัย

Bullet Train

รถไฟไทยจีน… เดินหน้าเต็ม

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2563 เห็นชอบปรับกรอบวงเงินและร่างข้อตกลง การจ้างและสัญญาจ้างสัญญางาน ระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร หรือ สัญญา 2.3 ฉบับสมบูรณ์… โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค กรุงเทพมหานคร–หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพมหานคร–นครราชสีมา

Henry Ford

Anyone Who Stops Learning Is Old ~ Henry Ford

ปี 1891 Henry Ford ได้งานเป็นวิศวกรของ บริษัท Edison Illuminating of Detroit และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าวิศวกรในปี 1893… Henry Ford จึงมีเวลาและเงินทุนในการประดิษฐ์เครื่องยนต์เบนซินสันดาปภายใน… ปี 1896 Henry Ford ก็พารถยนต์คันแรกที่สร้างด้วยตัวเองทั้งหมดออกวิ่งบนถนนและตั้งชื่อว่า Ford Quadricycle

Bard AI and ​​Bayesian Networks… ปัญญาประดิษฐ์นักสนทนาจาก Google

ความร้อนแรงของ ChatGPT ซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์นักสนทนา หรือ ChatBot AI จาก OpenAI ภายใต้การสนับสนุนของ MicroSoft ซึ่งกำลังเร่งรีบที่จะใช้โอกาสนี้นำ ChatGPT ไปสู่นวัตกรรมการสืบค้นที่เคยมีแต่ Google เพียงรายเดียวที่มีเทคโนโลยีการสืบค้นที่ผู้คนทั่วโลกยอมรับ และ ใช้ชีวิตยุคดิจิทัลกับ Google Search มาอย่างต่อเนื่องราวสองทศวรรษเข้านี่แล้ว… แต่ความนิยม และ ศักยภาพของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อย่าง ChatGPT ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสืบค้นแบบ “คำตอบเดียว” และ เติบโตด้วยจำนวนคนใช้อย่างต่อเนื่องในเวลาอันสั้นก็ได้สั่นคลอนบัลลังก์ Search Engine แบบหาคำตอบที่เกี่ยวข้องมาให้ Users เลือกเอาเองเป็นร้อยๆ รายการอย่าง Google Search อย่างไม่ต้องสงสัย… แต่ Google ที่พลาดพลั้งเรื่องความล่าช้าในการเปิดตัวปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาบนแนวคิดเดียวกัน ก็ได้เร่งรีบนำเทคโนโลยีของตนออกมาชนคู่แข่งที่ออกตัวไปก่อนได้แล้ว… โดยความเคลื่อนไหวจาก Google และ บริษัทแม่ Alphabet ตั้งแต่ CEO อย่าง Sundar Pichai ลงมาถึงคนใน Google ทุกส่วนจึงโหมพูดถึง Bard AI ของตนในทุกช่องทางที่จะสื่อสารออกไปได้