ผมยังอยู่ที่พิษณุโลกและโฟกัสเอาเรื่องที่เป็นข่าวมาตลอด 5-6 ปี ตั้งแต่สมัยรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ว่าด้วยรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่เงียบหายไปบ้างหลังการรัฐประหารและนายกรัฐมนตรีเปลี่ยนมาเป็นพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
เมื่อช่วงต้นปี 2561 ที่ผ่านมา ผลการศึกษาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายนี้ก็มีข่าวออกมา… แน่นอนว่า ข่าวลือหลังการรัฐประหารคราวนั้นเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงไทยญี่ปุ่น ส่วนใหญ่ที่ได้ยินคือถูกยกเลิกเพราะมันไม่คุ้ม…
วันนี้ผมจะเอาข้อมูลเรื่องนี้มาเรียงเอาไว้เพื่อเป็นข้อมูลน๊ะครับ…
29 มกราคม 2561…
กระทรวงคมนาคมออกข่าวชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงโครงการนี้ผ่านเวบไซด์ thaigov.go.th ว่า…
กระทรวงคมนาคมและกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (MOC) เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยได้เริ่มทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 แล้วเสร็จเดือน พฤศจิกายน 2560
ปัจจุบัน กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการหารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินโครงการร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่น เพื่อพิจารณาหารูปแบบการดำเนินโครงการที่มีความเหมาะสมและเกิดความคุ้มค่าสูงสุดในการลงทุน ทั้งนี้ การประชุมหารือดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561
ผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) มีรายละเอียดสรุป ดังนี้
- รายละเอียดข้อมูลโครงการ :
1.1 แนวเส้นทางจากสถานีบางซื่อ-พิษณุโลก ระยะทางรวม 380 กิโลเมตร
1.2 เทคโนโลยี : ชินคันเซ็น/ความเร็วสูงสุดในการเดินรถ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง/ขนาดราง 1.435 เมตร/สถานี 7 สถานี ประกอบด้วย บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก/เวลาในการเดินทางจากบางซื่อ-พิษณุโลก 1 ชั่วโมง 58 นาที- ผลการวิเคราะห์การคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร :
2.1 กรณีไม่มีการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทาง ปี 2568 (ปีเปิดบริการ) มีปริมาณผู้โดยสารจำนวน 29,000 คน-เที่ยว/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2598
2.2กรณีมีการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางปี 2568 (ปีเปิดบริการ) มีปริมาณผู้โดยสารจำนวน 29,000 คน-เที่ยว/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 73,200 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2598- มูลค่าโครงการเบื้องต้น : ตามผลการศึกษาของฝ่ายญี่ปุ่นพบว่ามีมูลค่าการลงทุน ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 276,226 ล้านบาท
- การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ :
4.1 รวมผลประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางเท่ากับ 14.7%
4.2 ไม่รวมผลประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางเท่ากับ 7.2% ทั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ฝ่ายไทยต้องจัดทำแผนระดับชาติและแผนพัฒนาภูมิภาคตามแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง เพื่อประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจและการลงทุน รวมทั้งจำเป็นต้องจัดทำแผนคมนาคมขนส่งที่ครอบคลุมเพื่อให้การเชื่อมต่อการเดินทางมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ฝ่ายไทยไม่ควรพิจารณาเพียงการสร้างรถไฟความเร็วสูง แต่ควรพิจารณาว่าจะใช้รถไฟความเร็วสูงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองในภูมิภาคได้อย่างไร
มีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจสองสามแง่มุมครับสำหรับเรื่องนี้…
- เรื่องแรกคือ โครงการรถไฟความเร็วสูง ไม่ว่าจะสายไหน… ผลการศึกษาความคุ้มทุนจากค่าโดยสารและค่าขนส่งจะไม่มีทางคุ้มทุน
- เมื่อค่าขนส่งไม่คุ้มค่าก่อสร้าง ทุกโครงการจึงต้องมีโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เข้ามาชดเชยค่าตอบแทนการลงทุน
- ฝ่ายญี่ปุ่นศึกษาและเอาจริงเอาจังกับ โครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก
สุดท้ายคือ… โครงการรถไฟความเร็วสูง เฟส 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 418 กม. วงเงินลงทุน 2.76 แสนล้านบาท ขณะนี้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ได้จัดทำแผนการออกแบบและรายละเอียดเสร็จและได้หารือร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เรียบร้อยแล้ว
… เรื่องรอคิวเข้า ครม. แล้ว(มั๊งครับ!!!)