คำว่าความสุข หรือ Happiness ถือเป็นคำที่ฟุ่มเฟือยความหมายมากที่สุดคำหนึ่ง ซึ่งการอธิบายหรือตีความส่วนใหญ่มักจะต้องดูประกอบกับบริบทของคนกำหนดความหมาย และ อาจจะต้องดูพร้อมองค์ประกอบแวดล้อมอื่นๆ อีกมากมายในช่วงขณะนั้นด้วยอีกต่างหาก
ความสุขของคนชอบดื่มชอบเที่ยว กับ ความสุขของคนชอบเข้าวัดเข้าโบสถ์สวดมนต์ จึงมีนิยามและรายละเอียดต่างกันลิบลับ… ซึ่งนักจิตวิทยาได้นิยามความสุขเอาไว้เป็นบรรทัดฐานว่า… ความสุข หรือ Happiness เป็น Subjective Well-Being หรือ อัตวิสัยที่รับรู้โดยตนอันเป็นแต่เฉพาะความรู้สึกที่ดี… หรือ เป็นความรู้สึกที่ได้จากการบอกตัวเอง หรือ Self-Reported ต่อประสบการณ์ที่สร้างความพึงพอใจด้านดีให้… องค์ประกอบใหญ่ของความสุขจึงเป็นเรื่องความพึงพอใจในชีวิต หรือ Life Satisfaction ที่เชื่อมโยงกับสมดุลทางอารมณ์ หรือ Emotional Balance ของฝั่งที่เป็นอารมณ์เชิงบวก หรือ Positive Emotional… เป็นสำคัญ
ประเด็นก็คือ… ประสบการณ์ความสุขของทุกคน “มักจะ” มาจากความพึงพอใจจากการ “ได้ประโยชน์ หรือ ได้ผลประโยชน์” เป็นส่วนใหญ่… ซึ่งบ่อยครั้งจะมีใครบางคนต้อง “สละประโยชน์ หรือ สละผลประโยชน์” ของตนให้ไปก่อนเสมอ… ถ้าเป็นการสละผลประโยชน์แลกกับประสบการณ์ความสุขไม่ต่างกับคนได้ผลประโยชน์ไป… ภาวะ “สมประโยชน์” ของทั้งสองฝ่ายก็มักจะไม่เลื่อมล้ำกันมากถึงขั้นเกิดปัญหา แต่ถ้าเกิดประสบการณ์สละผลประโยชน์พร้อมสมดุลทางอารมณ์เชิงลบขึ้นในการแลกเปลี่ยน–ให้–รับผลประโยชน์แก่กัน… ความสุข หรือ Happiness จึงไม่มีทางหาให้คนที่มีดุลยภาพทางอารมณ์เป็นลบได้ง่ายๆ
Denis E. Waitley ผู้เขียนหนังสือ The Psychology of Winning และ หนังสือแนว Self-Help อีก 13 เล่ม ซึ่งทุกเล่มใส่แรงบันดาลใจอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างประสบการณ์ความสุขเอาไว้ให้ผู้อ่าน… ได้ชี้แนะแนวทางการออกแบบ และ แสวงหาความสุขให้เข้าใจได้ง่ายๆ ผ่านประโยคที่บอกว่า… Happiness Cannot Be Traveled To, Owned, Earned, Worn Or Consumed. Happiness Is The Spiritual Experience Of Living Every Minute With Love, Grace, And Gratitude หรือ ความสุขไม่สามารถเที่ยวเสาะหา ครอบครอง งอกเงยขึ้น สวมใส่ หรือ บริโภคได้ ความสุขเป็นประสบการณ์ทางจิตวิญญาณของการใช้ชีวิตทุกนาทีด้วยรัก ด้วยความสง่าผ่าเผย และ ปฏิการะทดแทน
คำสำคัญ 3 คำที่เกี่ยวข้องอันเป็นที่มาของความสุขอย่าง Love หรือ ความรัก และ Grace หรือ ความสง่างามในการใช้ชีวิต และกับคำว่า Gratitude หรือ ความกตัญญูรู้คุณขั้นตอบแทนผลประโยชน์คืนให้ผู้อื่นเป็นนั้น… โดยความเข้าใจต่อความหมายในภาพรวมก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนให้งวยงง… แต่ถ้าเป็นการอธิบายความหมายเชื่อมโยงกับคำว่า สมประโยชน์ และ เสียประโยชน์ ผูกกับ Keywords ทั้งสามคำไปด้วย… รายละเอียดในระดับ “ความพึงพอใจในชีวิต หรือ Life Satisfaction” ก็จะเกิดความซับซ้อนในองค์ประกอบทั้งของ Love กับ Grace และ Gratitude… ซึ่งไม่ง่ายที่จะให้เกิดสมดุลทางอารมณ์และความรู้สึกเป็นบวกเสมอไป เพราะโดยข้อเท็จจริงที่ปรากฏ… เราได้เห็นความขุ่นข้องขัดเคือง และ ความขัดแย้งมากมายที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในสังคมมนุษย์ ซึ่งได้สะท้อนภาวะสมประโยชน์ และ เสียประโยชน์ ได้เกิดขึ้นอย่างไม่สมดุลย์เป็นส่วนใหญ่
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ… ความสุข หรือ Happiness ที่ถูกสร้างจากความเชื่อในการสละผลประโยชน์ด้วยความยินดี ซึ่งลัทธิความเชื่อและคำสอนทางศาสนาส่วนใหญ่ใช้ “กล่อมเกลา” มุมมองของเรื่อง สมประโยชน์ และ เสียประโยชน์ โดยการสร้างความพึงพอใจในชีวิต หรือ Life Satisfaction โดยใส่ “ศัทธาและความเชื่อ” ทดแทนตรรกะผลประโยชน์แบบตรงไปตรงมา
ความสุข หรือ Happiness ที่เป็นและเห็นกันอยู่ทั่วไปจึงหลากหลาย และ กระทบกระทั่งกันได้เสมอระหว่างความสุขของคนต่างความพึงพอใจ และ ต่างศัทธาและความเชื่อในชีวิต… มาเจอกัน!
Professor Sonja Lyubomirsky นักจิตวิทยาจาก University of California และ ผู้เขียนหนังสือ The How of Happiness อธิบายความสุขในเชิงวิทยาศาสตร์เอาไว้ว่า… ระดับความสุขในชีวิตของคนเราถูกกำหนดมาล่วงหน้าแล้วด้วยพันธุกรรมถึง 50% และ ถูกกำหนดด้วยสภาพแวดล้อมอีก 10% โดยอีก 40% เป็นความพยายามแสวงหาผ่านความพึงพอใจในชีวิต หรือ Life Satisfaction
ความสุข หรือ Happiness จึงไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึกล้วนๆ อย่างที่คนส่วนใหญ่คิดว่ารู้จักและเข้าใจ… เพราะความพึงพอใจในชีวิต หรือ Life Satisfaction ของทุกคนสามารถเติมเต็มได้มากถึง 40% นั้น… ได้จากการแสวงหาผ่านแนวทางการปฏิบัติตน โดยต้องหาเพิ่มอย่างฉลาดและเท่าทันสมดุลทางอารมณ์ หรือ Emotional Balance เชิงบวก… โดยเฉพาะกับคนที่สภาพแวดล้อม 10% หาความพึงพอใจใส่ชีวิตไม่ได้เอาเสียเลย
ขอให้ทุกท่านมีสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความรักอย่างสมดุล จนได้ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างผึ่งผายสง่างาม และเป็นทั้งผู้ให้–ผู้รับด้วยปฏิการะขั้นสมประโยชน์กับคนใกล้ชิด!!!
References…