Grey Water… ถึงคราวต้องจริงจังกับน้ำทิ้ง

Grey Walter

กระแสรีไซเคิลน้ำใช้แล้ว หรือ Grey Water เริ่มดังขึ้นอย่างยิ่งในห้วงที่… โลกแปรปรวนอย่างหนักและเอาแน่เอานอนกับดินฟ้าอากาศและฤดูกาลไม่ได้ พร้อมๆ กับการรวมตัวกันแบบเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอย่าง EEC และกำลังจะตามมาอีกหลายพื้นที่ ทำให้ความต้องการใช้น้ำกระจุกตัวอยู่กับพื้นๆ ที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ ที่แผนการบริหารจัดการน้ำ… สำคัญเท่าๆ กับไฟฟ้า ถนน ท่าเรือหรือชุมทางลอจิสติกส์เช่นกัน

ภัยแล้งนับเป็นภัยธรรมชาติสำคัญเทียบเท่ากับน้ำท่วม แผ่นดินไหวไม่ต่างกัน เพียงแต่ภัยแล้งสร้างความเสียหายอย่างช้าๆ เมื่อเทียบกับภัยธรรมชาติแบบอื่น แต่เป็นภัยสำคัญที่กดดันถึงระดับโครงสร้างประชากรและการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่มาตั้งแต่โบราณทีเดียว

แนวคิดการรีไซเคิลน้ำใช้จึงเกิดขึ้นพร้อมกับคำว่า Grey Water หรือ Gray Water ขึ้นอยู่กับว่าจะเขียนแบบอังกฤษหรืออเมริกัน… ซึ่ง Grey Water ก็คือน้ำใช้ทั่วไปในบ้านเรือน สำนักงาน โรงงาน… ที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าน้ำใช้แล้ว ตั้งแต่ล้างมือล้างเท้าซักผ้าอาบน้ำ 

ในอดีต… น้ำใช้แล้วถือเป็นน้ำเสียที่ทั่วโลกมีกฏหมายควบคุมการระบายอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะมหานครใหญ่ๆ ที่กฏหมายศักดิ์สิทธิ์และถูกบังคับใช้อย่างจริงจัง… การนำ Grey Water กลับมาวนใช้ซ้ำก็ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่

ประเด็น Grey Water เริ่มมีการพูดกันในที่ประชุมนานาชาติมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง… อย่างเวที International Waste Water Conference ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 แล้วในปี 2020 ซึ่งปีนี้จัดขึ้นที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 22-24 กรกฎาคม 2020 นี้… และประเด็น น้ำเสียและน้ำใช้แล้ว หรือ Waste Water and Grey Water ย่อมเป็นประเด็นหลักของงานแน่นอนเช่นเดิม

กลับมาที่ประเทศไทย… เรื่องร้อนเรื่องหนึ่งใน EEC คือเรื่องน้ำที่หลายนิคมอุตสาหกรรม เริ่มเคลื่อนไหวเรื่อง Grey Water กันคึกคักทีเดียวในปีนี้… 

รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต รัตนธรรมสกุล หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมการบำบัดของเสียและการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย… ในฐานะหัวหน้าโครงการ การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมและเมืองโดยการใช้น้ำเสียที่บำบัดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ในพื้นที่ EEC ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย ด้านสังคม แผนงานการบริหารจัดการน้ำ ให้ข้อมูลว่า… 

รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต รัตนธรรมสกุล

ปัญหาน้ำขาดแคลนในพื้นที่ EEC ส่วนใหญ่มาจากสาเหตุ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และการขยายตัวของเมือง อุตสาหกรรม เกษตรกรรม อย่างมากและรวดเร็ว ปัญหาน้ำขาดแคลน มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำสำหรับชุมชน จากภาวะแล้ง ผลกระทบของโลกร้อนต่อแหล่งน้ำ คุณภาพน้ำมีการปนเปื้อน ไม่ถูกสุขอนามัย และมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการบริโภคและอุปโภค เกิดสงครามแย่งน้ำจากภาคชุมชน เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การประปาและชลประทาน ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาสำคัญ

สำหรับพื้นที่ EEC ครอบคลุมจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา มีทั้งภาคชุมชน เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม และคาดการณ์ว่าในอนาคตเมื่อการพัฒนาพื้นที่ EEC สมบูรณ์แบบตามแผนงานของรัฐบาล จะขาดแคลนน้ำไม่น้อยกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี การศึกษานี้จึงหาแนวทางที่จะเพิ่มปริมาณน้ำให้เพียงพอต่อการความต้องการใช้ทั้งภาคชุมชน เกษตร และอุตสาหกรรม

จากการรวบรวมข้อมูล การหาแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับพื้นที่ EEC ชัดเจนว่า การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทำได้ยากขึ้นเพราะมีผลกระทบกับชุมชนและชุมชนมักไม่เห็นด้วย อีกทั้ง… แม้มีอ่างเก็บน้ำแต่ในภาวะแล้งที่ยาวนานก็ทำให้เก็บน้ำได้ไม่เพียงพอกับความต้องการอยู่ดี จึงต้องหาทางเลือกแหล่งน้ำต้นทุนอื่น ๆ ด้วย อาทิ การนำน้ำทะเลมาทำน้ำจืด ซึ่งทำได้แต่มีต้นทุนสูงและราคาแพง

ดังนั้นเมื่อพิจารณาแหล่งน้ำต้นทุนอื่น ๆ ที่เป็นไปได้คือ “น้ำเสียที่บำบัดแล้ว” ซึ่งมีความเป็นไปได้และราคาถูกลงมาก โดยในพื้นที่ EEC มีน้ำเสียปริมาณมาก ที่มาจากน้ำเสียชุมชน คือ น้ำเสียจากระบบบำบัดของชุมชน ทั้งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล… อีกส่วนจากน้ำเสียจากสถานประกอบการ สถานบริการ และอุตสาหกรรม

จากการคาดการณ์ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นภายใน 20 ปีข้างหน้าในพื้นที่ EEC 3 จังหวัด รวมทั้งข้อมูลศักยภาพของการบำบัดน้ำเสียโดยระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนที่ออกแบบไว้สูงสุด พบว่า… ถ้ายังไม่มีการเติบโตแบบ EEC จะมีน้ำเสียชุมชนโดยประมาณ 300 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี แต่เมื่อมี EEC สมบูรณ์แบบซึ่งมีการเติบโตของเมืองอย่างเต็มรูปแบบ คาดการณ์ว่าจะมีน้ำเสียชุมชนเพิ่มขึ้นมากกว่า 600 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เมื่อรวมกับน้ำทิ้งจากภาคอุตสาหกรรม จะทำให้มีปริมาณน้ำเสียรวมมากกว่า 900 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

น้ำเสียปริมาณมาก เป็นต้นทุนน้ำเสียจึงมีศักยภาพจะเอามาใช้ประโยชน์ชดเชยความต้องการใช้น้ำของพื้นที่ได้ ในปัจจุบันระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนที่มีปริมาณน้ำเสียเข้าสู่ระบบมากกว่า 75% ของความสามารถในการรองรับน้ำเสียในพื้นที่ EEC ได้แก่ระบบบำบัดน้ำเสียเมืองพัทยา ซอยวัดหนองใหญ่ และระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองแสนสุข เขตแสนสุขใต้ จังหวัดชลบุรี

สำหรับโครงการศึกษา ซึ่งการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมและเมือง EEC โดยใช้น้ำเสียกลับมาใช้ใหม่โดยภาพรวมมุ่งศึกษาในเชิงนโยบายโดยหาตัวเลขน้ำเสียต้นทุนที่ชัดเจนและแหล่งต้นทุนของน้ำเสียที่มีศักยภาพ 

จากนั้นจึงพัฒนาระบบการรีไซเคิลน้ำเสียจากระบบบำบัดให้มีคุณภาพได้มาตรฐานเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์แทนการทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ และทดแทนความต้องการใช้น้ำของพื้นที่ EEC ในอนาคต การศึกษานี้จะจัดทำร่างระดับคุณภาพมาตรฐานของน้ำรีไซเคิลที่จะนำกลับไปใช้ในกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ว่าจะต้องมีลักษณะอย่างไร สำหรับเป็นแนวทางให้พื้นที่เมืองและอุตสาหกรรมใน EEC เช่น การนำไปใช้ในพื้นที่เกษตรกรรม (พื้นที่สีเขียว) การใช้ชำระชะล้างต่าง ๆ ล้างถนน ลดฝุ่น หรือนำมาเป็นน้ำใช้อื่นๆ เช่น น้ำหล่อเย็นในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังขาดแนวทางที่เป็นมาตรฐานที่ชัดเจนในส่วนนี้

รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต รัตนธรรมสกุล กล่าวว่า น้ำเสียที่เกิดขึ้นในทุกวันนั้น หากมีปริมาณที่มากพอก็สามารถบำบัดและปรับสภาพน้ำเพื่อนำมารีไซเคิลกลับมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ดังตัวอย่างในหลายประเทศ ประเทศที่ถือเป็นต้นแบบ อาทิ ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ แต่ทั้งนี้ต้องสร้างมาตรฐานให้เกิดการยอมรับ อย่างไรก็ตามการจะดึงน้ำเสียที่บำบัดแล้วกลับมาใช้ยังต้องพิจารณาถึงข้อกำหนด กฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เป็นกฎหมายเฉพาะ เช่นภาคอุตสาหกรรม สถานประกอบการ สถานบริการ เป็นต้น จึงต้องพิจารณาถึงการลดข้อจำกัด ความซ้ำซ้อนและมาตรการเศรษฐศาสตร์ที่ช่วยสร้างแรงจูงใจในการดำเนินการ

ตัวอย่างการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ของต่างประเทศ เช่นที่เมืองฟุกุโอกะของญี่ปุ่น เดิมมีการนำน้ำทะเลมาทำเป็นน้ำจืดแต่ต้นทุนสูง สุดท้ายก็เอาน้ำเสียของเมืองมาบำบัดและกรองมาเป็นน้ำประปาเกรด 2 ที่มีคุณภาพดีและขายราคาถูกกว่าน้ำประปา กรณีตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ มีทั้งการนำน้ำทะเลมาทำน้ำจืดและการซื้อน้ำจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งล้วนเป็นต้นทุนสูง ปัจจุบันสิงคโปร์เตรียมพร้อมและสนใจเรื่องรีไซเคิลน้ำมาก โดยนำน้ำเสียมารีไซเคิลซึ่งทำให้ต้นทุนถูกลงกว่าการใช้น้ำจืดที่ผลิตจากน้ำทะเล และใช้เทคโนโลยีในการกรองทำให้ได้น้ำคุณภาพดีที่สะอาดมาก ๆ กลับมาใช้ มีการให้ความรู้กับประชาชน ได้รับการยอมรับจากประชาชนเป็นอย่างดี น้ำรีไซเคิลที่ได้มีคุณภาพน้ำดีกว่าน้ำประปา มีการเดินระบบท่อจ่ายน้ำประปาผลิตจากน้ำรีไซเคิลนำมาใช้กับภาคอุตสาหกรรมและชุมชน และยังส่งกลับไปขายให้กับมาเลเซียอีกด้วย

ข้อมูลตัดมาคร่าวๆ มาจาก WaterWaste-20.com พอให้เห็นภาพครับว่า… ระดับนโยบายได้เคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากในเรื่อง Grey Water… ซึ่งผมคิดว่าเป็นแนวทางสายกรีนอีกเส้นหนึ่งที่ฝั่งนิคมอุตสาหกรรมเอาจริงเอาจังกันทุกที่แล้ว… เหลือก็แต่โครงการจัดสรรทั้งแนวราบและแนวสูงที่ยังมีส่วนน้อยมากที่จะหยิบเอา Grey Water มาทำกันอย่างจริงจัง ซึ่งข้อมูลในมือผมชี้ชัดว่า… เห็นผลเชิงบวกจริงในหลายมิติ… และผมพอมีข้อมูลทางเทคนิคพอสมควรครับสำหรับท่านที่สนใจ… คุยกันทาง Line @properea ครับผม!

อ้างอิง

https://en.m.wikipedia.org/wiki/Greywater

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

ZOOX… รถสาธารณะไร้คนขับจาก Amazon

ZOOX โดย Zoox, Inc. เป็นบริษัทในเครือ Amazon ที่เข้ามาเติมเต็มระบบนิเวศเทคคอมพานียักษ์ใหญ่อย่าง Amazon เพื่อให้บริการ Mobility-as-a-Service หรือ บริการขนส่ง ด้วยเทคโนโลยี AVs หรือ Autonomous Vehicles ที่ประกาศความก้าวหน้าในการทดสอบ และ ขอรับใบอนุญาตในการนำ AVs ต้นแบบของพวกเขาลงถนนในเมืองใหญ่ของสหรัฐอเมริกาไม่ต่างจาก AVs ค่าย Waymo จากฝั่ง Google หรือ Robo Taxi จาก Uber รวมทั้ง GM Cruise จาก GM Motor และ Lyft จากพันธมิตร Toyota–Google … ซึ่งนักวิเคราะห์เชื่อว่าการแข่งขันทางธุรกิจในระบบนิเวศ Mobility-as-a-Service จะเริ่มดุเดือดในครึ้งหลัง ปี 2023 นี้อย่างแน่นอน… โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา

Restaurant Revitalization Fund

ยุทธศาสตร์เยียวยาธุรกิจร้านอาหารทางตรง… กรณีศึกษาจากสหรัฐอเมริกา

ในสหรัฐอเมริกา… โครงการเยียวยาร้านอาหารและภัตตาคาร เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม ซึ่งทำเนียบขาวให้ข้อมูลว่า มีผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร บาร์ และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมากกว่า 186,200 แห่ง จากทั้ง 50 รัฐทั่วประเทศสนใจสมัครร่วมโครงการ ซึ่งประธานาธิบดี Joe Biden ยืนยันว่าโครงการเยียวยาร้านอาหารนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพราะร้านอาหารเป็นมากกว่าแรงขับเคลื่อนสำคัญในเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา พวกเขารวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างชุมชน… สำหรับครอบครัวส่วนใหญ่ ร้านอาหารจะเป็นประตูสู่โอกาสและเป็นส่วนสำคัญในเรื่องเล่าของชาวอเมริกัน

Learn and Earn

Learn and Earn Cryptocurrencies… ดูคลิป-รับ-คริปโต

การให้ความรู้ หรือ Educated แก่ลูกค้าและผู้รับบริการทั้ง FinTech และ WealthTech จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่เติบโตมาพร้อมๆ กับ Blockchain และ Cryptocurrencies… ซึ่งแพลตฟอร์มที่เกี่ยวกับ Blockchain และ Cryptocurrencies อันเป็นระบบ และ สินทรัพย์ที่ใช้สร้าง FinTech Model และ WealthTech Model เกิดใหม่ทั้งหลาย มักจะมีโมเดล Learn and Earn ให้บริการข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับโมเดลเกิดใหม่ ที่จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ด้วยเทคนิคการประชาสัมพันธ์แบบจ้างมาเรียนจนเข้าใจ แล้วก็รับรางวัลเป็น Cryptocurrency

Robotics

TARA… สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย

BOI ได้กำหนดสิทธิประโยชน์ “ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี” ในสัดส่วน 50% ของเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน… รวมถึงการ “ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร” และ หากโรงงานอุตสาหกรรมเลือกใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ที่มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตระบบอัตโนมัติในประเทศ หรือ Local Content ไม่น้อยกว่า 30% ของมูลค่าระบบอัตโนมัติที่มีการปรับเปลี่ยน… ก็จะได้รับ “ยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี” ในสัดส่วน 100% ของเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียนด้วย