Google Data Studio

Data Visualization

กระแส Data Driven ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจและองค์กรทั่วโลกหลังปี 2020 ได้กลายจากแนวโน้มไปเป็นพื้นฐานจำเป็นแน่นอนชัดเจนแล้ว ซึ่งข้อมูลมากมายที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ด้วยอัตรเร่งยิ่งยวดอย่างในปัจจุบัน การจะขับเคลื่อนกิจการหรือองค์กร โดยไม่สนใจข้อมูลมากมายที่มีทั้งเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการและองค์กร… มีทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยอ้อมกับกิจการและองค์กร รวมทั้งข้อมูลที่เหมือนจะไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับกิจการและองค์กร แต่กลับมีประโยชน์ในการ “ใช้ทำนายหรือเทียบเคียงแนวโน้มแบบต่างๆ” ที่สัมพันธ์กับกิจการและองค์กรมากมาย

แนวโน้มที่แจ่มชัดที่สุดของการเติบโตของข้อมูล คือการออกแบบและใช้งาน AI ซึ่งต้องใช้ข้อมูลมหาศาลป้อนระบบ เพื่อให้ AI ได้เรียนรู้และทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ… รวมทั้งการเติบโตของซอฟท์แวร์จัดการข้อมูลสารพัดแบบ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจต่างๆ ที่มีหลักฐานอ้างอิงเป็นข้อมูลที่ชัดเจน

ผู้เล่นในตลาดข้อมูลที่มาทีหลังแต่ดังกว่า ในสไตล์ “ของดีของฟรี” ในตลาดเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล ที่สามารถสร้างชื่อลือเลื่องได้ในเวลาอันสั้น เห็นจะเป็น Google Data Studio จากครอบครัว Google ที่เข้ามาเติมเต็มระบบนิเวศน์ให้ตระกูล Google สมบูรณ์แบบขึ้นไปอีกขั้น

หน้าแรก Google Data Studio ที่ https://datastudio.google.com

Google Data Studio เป็นเครื่องมือช่วยในการทำรายงาน หรือทำ Report ให้กับคนใช้ข้อมูลที่ต้องเกี่ยวข้องกับตัวเลขหรือข้อความซับซ้อนในตารางเก็บข้อมูล หรือฐานข้อมูล ที่สร้างความมึนงงให้คนที่เกี่ยวข้อง แม้จะมีข้อมูลเพียงไม่กี่สิบแถวอยู่ตรงหน้าก็ตาม… เมื่อมาเจอข้อมูลมากมายแถมมีผุดขึ้นเพิ่มเป็นรายวินาทีอย่างในปัจจุบัน การจะใช้ข้อมูลจึงต้องหาทางลัดไปดูข้อมูลที่จะช่วยการตัดสินใจเลยดีที่สุด… และนั่นเป็นหน้าที่ของซอฟท์แวร์กลุ่ม Data Report ซึ่งจะแปลงข้อมูลมากมาย ให้มาอยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้ทันที… ซึ่ง Google Data Studio มีเครื่องมือทำรายงานให้ใช้ตั้งแต่แสดงผลเป็นข้อมูลในตารางไปเป็นกราฟและการแปรผลทางสถิติต่างๆ รวมทั้งการรายงานข้อมูลแบบ Visual Reporting หรือแสดงผลเป็น Data Visualization ขั้นสูงได้ด้วย

ท่านที่เป็นนักสถิติ หรือท่านที่เคยทำงานกับข้อมูลตั้งแต่ระดับใช้ Microsoft Excel หรือ Google Sheet ก็จะทราบดีว่า การทำรายงานข้อมูลไม่ใช่เรื่องยากหรอก ถ้าข้อมูลในระบบซึ่งเป็นทรัพยากรที่จำเป็นในการใช้ออกรายงาน มีข้อมูลที่ต้องการป้อนให้ระบบแปรผลและแสดงข้อมูลตามต้องการได้อย่างถูกต้อง

หลักการทำงานของ Google Data Studio ก็ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อน แค่กำหนดแหล่งข้อมูลที่ต้องการให้ Google Data Studio เอาไปทำงานเท่านั้น… อาจจะ Upload CSV File หรือเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลต่างๆ ที่ระบบรู้จักและอนุญาต เช่น ข้อมูลจาก Google Ads, Google Sheets, Google Analytics, Google Bigquery, Youtube Analytics, Search Console รวมทั้งฐานข้อมูลแพลตฟอร์มมาตรฐานที่โปรแกรมเมอร์และนักวิทยาการข้อมูลใช้งานกันอยู่แล้ว… กำหนดรูปแบบและเงื่อนไขที่ต้องการดูรายงาน… และ แค่นั้นก็เสร็จสิ้นพร้อมใช้และแบ่งปันได้ทันที

ความจริง Google Data Studio มีการแนะนำและชวนใช้มาตั้งแต่ราวปี 2016 เพียงแต่เวอร์ชั่นแรกๆ ยังไม่มีขีดความสามารถเทียบเท่าการ Custom Report หรือ การสร้างรายงานโดยโปรแกรมเมอร์ ที่เขียนโปรแกรมทำรายงานคู่กับการพัฒนาระบบที่มีข้อมูลเป็นฐานกันอยู่

แต่เหตุผลที่ชื่อเสียงของ Google Data Studio ถูกพูดถึงในช่วงไม่กี่เดือนมานี้อย่างกว้างขวางมาจากความสามารถในการ “สร้างรายงานแบบเรียลไทม์ หรือ สร้าง Realtime Dashboard” เจ๋งๆ ได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรม หรือต้องเป็นนักวิทยาการข้อมูลที่ต้องเรียนและรู้ลึกซึ้งก็ได้

ท่านทีกำลังมองหาเครื่องมือทำ Dashboard… ลองเอาไปใช้ดูครับ

ขอไม่แนะนำแล้วน๊ะครับว่า GDS หรือ Google Data Studio ใช้งานยังไง… ท่านที่สนใจหาคลิปติวบน YouTube ได้เกือบทุกอย่างที่ต้องการรู้ครับ!

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Crypto Fear & Greed Index

Fear & Greed Index ที่ใช้อ้างอิงกันในปัจจุบันเป็นบริการข้อมูลฟรีของ Alternative.me ซึ่งจะ Update สถานะวันต่อวันโดยรวบรวมพฤติกรรมความเคลื่อนไหวของราคา โดยเฉพาะความผันผวนของราคามาวิเคราะห์หาอารมณ์ตลาด ซึ่งพฤติกรรมไล่ราคาแบบ FOMO หรือ Fear Of Missing Out หรือ กลัวตกรถไฟจนเห็นสัญญาณ Panic BUY จะถูกเรียกว่า Greed หรือ โลภ หรือ ตะกละตะกลามซื้อ… ส่วนพฤติกรรมราคาแบบทุบตลาดขายทิ้งทุกราคาจนเห็นสัญญาณ Panic SELL จะถูกเรียกว่า Fear หรือ กลัวลนลาน…

AgTech IoT… ยุคของการเพาะปลูกในร่มมาถึงแล้ว

กลางสัปดาห์ที่แล้วผมเจอคำถามที่น่าสนใจ จากบทความที่เผยแพร่บน Foundersguide.com ใช้คำถามเปิดหัวข้อว่า “Could The Future of Farming Be Indoors?”… ซึ่งหลายท่านจะทราบว่าผมสนใจ AgTech มานานและกระแสหลายอย่างชี้ชัดว่า… ปี 2020 จะเป็นปีทองของ AgTech StartUp ที่การทำเกษตรจะเปลี่ยนนิยามไปเป็นการผลิตอาหารอย่างยืดยุ่นและยั่งยืนกว่าที่เคยเป็นมา

Tujia.com

ในแต่ละปี นักท่องเที่ยวจีนเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกมากมาย ตัวเลขของ Cotri Analytics ที่ติดตามตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนช่วงต้นปี 2019 รายงานตัวเลขไว้ที่ 40 ล้านราย เดินทางเข้ามาเก๊าและฮ่องกง 56% หรือ 22.5 ล้านคน ในขณะที่เดินทางออกจากจีนและมีจุดหมายปลายทางทั่วทุกมุมโลกอีก 44% หรือ 17.5 ล้านคน

แลนด์บริดจ์สงขลา-ปีนัง

นับตั้งแต่ประเทศไทยคุยกันเรื่องขุดคอครอดกระ ตั้งแต่สมัยท่านปรีดี พนมยงค์ดำริขึ้น… เลยมาจนถึงการทำแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล… ความเคลื่อนไหวอย่างมีนัยยะสำคัญของเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียในระดับนโยบาย ก็มีมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่บนโต๊ะเจรจางานเมืองระหว่างชาติ ไปจนถึงการเคลื่อนไหวนอกแบบที่ฝ่ายความมั่นคง ตั้งข้อสังเกตุกับกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ ที่สร้างตัวแปรกดดันการพัฒนาพื้นที่สามสี่จังหวัดชายแดนใต้…